ชวนจิตที่เป็นกุศล

 
วิริยะ
วันที่  23 มิ.ย. 2557
หมายเลข  25018
อ่าน  2,537

เรียนถาม

ในขณะที่รับอารมณ์ที่ไม่ดี เป็นอกุศลวิบาก ชวนจิตมักเป็นอกุศลคือเกิดโทสะ และในขณะที่ได้รับอารมณ์ที่ดีเป็นกุศลวิบาก ชวนจิตก็ยังเป็นอกุศลคือเกิดโลภะ อยากทราบว่าแล้วชวนจิตที่เป็นกุศลจะมีลักษณะเช่นไร ต้องไม่โกรธไม่โลภ หรืออย่างไรคะ

ขอบพระคุณอย่างสูง


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 23 มิ.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

@ อยากทราบว่าแล้วชวนจิตที่เป็นกุศลจะมีลักษณะเช่นไร ต้องไม่โกรธไม่โลภ หรืออย่างไรคะ

ชวนจิตเป็นจิตของจิตอย่างหนึ่ง ในกิจของจิต ๑๔ กิจ ชวนจิตทำกิจแล่นไปในอารมณ์หรือ เสพอารมณ์ สำหรับปุถุชนทั้งหลาย ชวนจิตเป็นจิตประเภทกุศลจิต หรือ อกุศลจิตวิบากจิตทั้งหลาย มีปฏิสนธิจิต ภวังคจิต เป็นต้น เกิดขึ้นเพราะมีกุศลจิตและอกุศลจิต เป็นปัจจัย ซึ่ง ชวนจิตที่เป็นกุศล คือ เป็น กุศลจิตที่เกิดติดต่อกันไป 7 ขณะไหนขณะนั้น ซึ่ง ชวนจิต 7 ขณะ ที่เป็น กุศลจิต 7 ขณะ ไม่มี โลภะ ไม่มีโทสะ ไม่มีโมหะ และอกุศลเจตสิกอื่นๆ เกิดร่วมด้วยเลย กับจิตที่เป็นกุศล ที่เป็น ชวนจิต 7 ขณะ แต่ชวนจิตที่เป็นกุศลจิต 7 ขณะ มี โสภณเจตสิก เจตสิกที่ดี มี ศรัทธา สติ เป็นต้น เกิดร่วมด้วยกับ กุศลจิตนั้น ที่เกิด 7 ขณะ นี่คือ ลักษณะของ ชวนจิต 7 ขณะ ที่เป็นกุศลจิต ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 23 มิ.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การประสบกับอารมณ์ที่ดี หรือ อารมณ์ที่ไม่ดี เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย การไดัรับสิ่งที่น่าปรารถนา เป็นผลของกุศลกรรม แต่ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรมแล้จะทำให้ได้รับในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ ไม่มีใครทำให้เลย ต้องมาจากเหตุ คือกรรมที่แต่ละคนได้กระทำแล้ว อารมณ์ที่น่าปรารถนา กับ ไม่น่าปรารถนา เป็นธรรมที่มีจริง โดยที่ไม่มีใครไปเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ได้ ถ้าเกิดความยินดี พอใจติดข้องในสิ่งใดหรือ เกิดความไม่พอใจ ในสิ่งใด ขณะนั้นเป็นผู้ถูกกิเลสทั้งหลายครอบงำ แล้ว ที่ติดข้อง ยินดีพอใจ หรือ แม้กระทั่ง ไม่พอใจ นั้น เพราะการได้สั่งสมกิเลสประเภทนั้นๆ มาแล้ว เมื่อได้เหตุได้ปัจจัย กิเลสก็เกิดขึ้น เป็นธรรม ไม่ใช่เรา

ซึ่งจะเห็นได้ว่าเพราะมีตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จึงมีการรู้อารมณ์ต่างๆ มี รูป เสียง กลิ่น รส เป็นต้น และโดยปกติของผู้ที่เป็นปุถุชนจะห้ามไม่ให้ติดข้อง จะห้ามไม่ให้ยินดีในสิ่งที่กำลังปรากฏ ก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ จะห้ามไม่ให้โทสะเกิดก็เป็นไปไม่ได้ เพราะสะสมมากิเลสประเภทนั้นๆ มาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ฎ์ อีกทั้งยังไม่เห็นโทษของกุศล ยังไม่เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง จึงถูกกิเลสกุศลครอบงำอยู่เป็นประจำ เมื่อได้เหตุได้ปัจจัยกิเลสก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ จึงแสดงให้เห็นเลยว่าวันหนึ่งๆ มากไปด้วยอกุศลเพียงใด แต่เมื่อได้สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกในความเป็นจริงของสภาพธรรมยิ่งขึ้น แทนที่จะเป็นอกุศล กุศลจิตก็สามารถเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าจะได้รับอารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา หรือ น่าปรารถนาก็ตาม คือ มีความเข้าใจถูกเห็นถูกว่า เป็นธรรมไม่ใช่เรา ไม่หวั่นไหวไปด้วยอำนาจของอกุศล อกุศลเกิดขึ้นไม่ได้ในขณะที่กุศลจิตเกิดขึ้น

แต่ถ้าเป็นผู้ที่ดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างเด็ดขาดแล้ว กิเลสย่อมไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะประสบกับอารมณ์ประเภทใดๆ ก็ตาม ดังนั้น ผู้ที่หมดกิเลสแล้ว กับ สัตว์โลกผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่นั้น จึงแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วิริยะ
วันที่ 23 มิ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 24 มิ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pamali
วันที่ 3 ก.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 3 ก.ค. 2557

ขณะที่ชวนะกุศลเกิด ขณะนั้นไม่มีอกุศล เพราะกุศลคนละขณะกับอกุศลค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ