การยอมรับผิดและไม่ยอมรับผิด

 
natural
วันที่  28 มิ.ย. 2557
หมายเลข  25034
อ่าน  1,422

ขอเรียนถามว่า เพราะเหตุใดการที่พระภิกษุทำผิดพระวินัยแล้วไม่ปลงอาบัติ จึงเป็นเครื่องกั้นคุณธรรมเบื้องสูง มีความแตกต่างจากฆราวาสที่ทำผิดแล้วไม่ยอมรับผิด หรือทำผิดแล้วยอมรับผิด พร้อมตั้งใจจะไม่ทำต่อไปโดยไม่ได้กล่าวคำขอโทษหรือไม่ อย่างไรคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 28 มิ.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อาบัติที่แกล้งต้องและไม่ปลงอาบัติของพระภิกษุ ย่อมเป็นเครื่องกั้นของสวรรค์และการบรรลุ ด้วยเหตุว่า พระภิกษุเป็นเพศที่ขัดเกลาอย่างยิ่ง สละหมดทุกสิ่ง มีพระวินัยบัญญัติเป็นเครื่องประพฤติอย่างจริงใจ และ การไม่ปลงอาบัติ อาบัตินั้นเป็นเครื่องกั้น เพราะเป็นเพศที่ขัดเกลาอย่างยิ่งนั่นเอง ครับ ต่างจากเพศคฤหัสถ์ที่ไม่ใช่เพศที่ขัดเกลาอย่างยิ่ง ครับ เพราะฉะนั้น อาบัติจึงเป็นเครื่องกั้นต่อการเกิดในสุคติ และการบรรลุธรรม ครับ

[เล่มที่ 4] พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์ ทุติยภาค เล่ม ๒ - หน้าที่ 722

อาบัติที่แกล้งต้อง ชื่อว่าอันตรายิกธรรมคือ อาณาวีติกกมะ. อาบัติแม้เหล่านั้น ก็เป็นอันตรายตลอดเวลาที่ภิกษุผู้ต้องยังปฏิญญาความเป็นภิกษุหรือยังไม่ออก หรือยังไม่แสดงเท่านั้น ต่อจากทำคืนตามกรณีนั้นๆ แล้วหาเป็นอันตรายไม่.

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
natural
วันที่ 28 มิ.ย. 2557

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 28 มิ.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การผิดพระวินัยของพระภิกษุ เป็นการต้องอาบัติ คือ ล่วงละเมิดสิกขาบทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ มีโทษตามระดับขั้นของสิกขาบทนั้นๆ สิกขาบทแต่ละสิกขาบท พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงบัญญัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่การขัดเกลากิเลสตามควรแก่เพศบรรพชิต ถ้าหากเป็นผู้ไม่ละอาย ไม่มีความเกรงกลัว เที่ยวย่ำยีพระธรรมวินัย ก็ไม่ได้เป็นประโยชน์เลย มีแต่โทษโดยส่วนเดียว ถ้าต้องอาบัติแล้ว ไม่กระทำคืนให้ถูกต้องตามพระวินัย ไม่เห็นโทษโดยความเป็นโทษ ย่อมเป็นผู้มีอาบัติเป็นเครื่องกั้น ไม่สามารถทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมบรรลุมรรคผลนิพพานได้เลย เพราะเหตุว่าสำหรับเพศบรรพชิตแล้ว ศีลเป็นเบื้องต้นของการประพฤติที่ประเสริฐ ถ้าหากล่วงละเมิดสิกขาบท ประพฤติไม่เหมาะสมประการต่างๆ ย่อมมีอาบัติเป็นเครื่องกั้น และที่สำคัญ เมื่อยังปฏิญาณตนว่าเป็นบรรพชิต แต่มีอาบัติที่ยังไม่ได้ปลง ถ้าหากมรณภาพลง ก็ย่อมเป็นผู้มีอบายภูมิเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเท่านั้น ชาติต่อไป คือ เกิดในอบายภูมิ เท่านั้น ซึ่งเป็นสิ่งที่น่ากลัวมาก ดังนั้น เพศบรรพชิต จึงเป็นเพศที่สูงยิ่ง ถ้ารักษาไม่ดี ก็มีแต่จะคร่าตนเองไปสู่ที่ต่ำ คือ อบายภูมิ เท่านั้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 28 มิ.ย. 2557

พระที่ต้องอาบัติ ไม่ปลงอาบัติก็เป้นเครื่องกั้น บรรลุ นิพพาน ภิกษุในสมัยพระพุทธเจ้ากัสสปะพรากของเขียว ไม่ปลงอาบัติ ก่อนตายมีจิตเศร้าหมอง ไปอบาย ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peem
วันที่ 30 มิ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
j.jim
วันที่ 30 มิ.ย. 2557

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pamali
วันที่ 3 ก.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ