สภาพธรรมที่แข็งเกินไป

 
papon
วันที่  30 มิ.ย. 2557
หมายเลข  25044
อ่าน  990

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

สภาพธรรมที่เป็นอนิฏฐารมณ์ที่ประสบเช่น สภาพธรรมที่ร้อนเกินไป เย็นเกินไป กระผมพอเข้าใจ แต่สภาพธรรมที่แข็งเกินไป เป็นอย่างไรครับ ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยกรุณาอธิบายความละเอียดด้วยครับ ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 มิ.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าพอใจ หมายถึง อารมณ์ที่ไม่ดี เป็นสภาพที่หยาบทราม ไม่ประณีต เช่น สีที่ซากศพ เสียงด่า กลิ่นเหม็น รสเผ็ดจัด โผฏฐัพพะแข็งไป อ่อนไป ร้อนไป เย็นไป อนิฏฐารมณ์เป็นอารมณ์ของกุศลจิต อกุศลจิต วิบากจิต หรือ กิริยาจิตก็ได้ แข็งเกินไป ก็เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี เช่น เวลากระทบหิน หรือ เก้าอี้ที่แข็งมาก ก็เป็นอารมณ์ที่ไม่ดี ทำให้เกิด กายวิญญาณอกุศลวิบาก ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 30 มิ.ย. 2557

เรียน​อาจารย์​ทั้งสอง​ท่าน

อนิฏฐารมณ์ที่เป็นอารมณ์ของกุศลจิตขณะนั้นเป็นสติปัฏฐานใช่​หรือไม่ อย่างไร​ครับ ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 30 มิ.ย. 2557

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

อารมณ์ที่ไม่ดี เป็นอารมณ์ของกุศลจิตได้ ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเป็นสติปัฏฐาน แม้แต่กุศล ขั้น สมถภาวนา เช่น พิจารณาซากศพ ความปฏิกูล เป็นต้น หรือการเห็นสภาพธรรมที่ไม่ดี ก็เกิด กุศลจิตขั้นอื่นๆ ได้ แต่เกิดได้น้อย ครับ ส่วนขณะที่มีสภาพธรรมที่ไม่ดี เป็นอนิฏฐารมณ์ ก็เป็นอารมณ์ของ สติปัฏฐาน ได้ด้วยเช่นกัน ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 30 มิ.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

(ภาพ : ดอกบัวบานหน้าอาคาร มศพ. บันทึก ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๗)

ต้องมีความเข้าใจตั้งแต่ต้นว่า เพราะมีกายปสาทะ จึงเป็นเหตุให้มีการกระทบกับอารมณ์ที่ปรากฏทางกาย ทำให้มีจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ ตามกิจหน้าที่ของตน กายวิญญาณ เป็นวิบากจิตที่เกิดขึ้น เป็นผลของกรรม ถ้าเป็นผลของกรรมดี ก็ทำให้ได้รับกระทบกับอารมณ์ที่ดีน่าปรารถนาน่าใคร่น่าพอใจ ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นผลของกรรมที่ไม่ดี ที่เป็นอกุศลกรรม ก็ทำให้ได้รับกระทบกับอารมณ์ที่ไม่ดีไม่น่าปรารถนาไม่น่าใคร่ไม่น่าพอใจ ความรู้สึกที่เกิดร่วมด้วยก็ต่างกัน ถ้าเป็นกุศลวิบาก ความรู้สึกที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณ ก็เป็นสุขเวทนา แต่ถ้าเป็นอกุศลวิบาก ความรู้สึกที่เกิดร่วมกับกายวิญญาณ ก็เป็นทุกขเวทนา เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยทั้งหมด สำหรับผู้ที่สะสมความเข้าใจในเรื่องของสภาพธรรมฟังในสิ่งที่มีจริงๆ บ่อยๆ เนืองๆ ก็เป็นเหตุให้สติปัฏฐานเกิดขึ้นระลึกรู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงได้ ไม่ว่าจะประสบกับอารมณ์ประเภทใดๆ ก็ตาม จึงสำคัญที่ความเข้าใจถูกเห็นถูก ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 30 มิ.ย. 2557

ลักษณะของแข็งเป็นธาตุเป็นธรรมะอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่เย็น ไม่ใช่ร้อน เพียงแข็งกระทบ รู้ว่ามีจริงๆ เป็นธรรมะ แล้วก็หายไป หมดไป ไม่ใช่สัตว์ บุคคล หรือชื่อต่าง ๆ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ประสาน
วันที่ 1 ก.ค. 2557

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pamali
วันที่ 1 ก.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ