ข้อควรปฏิบัติที่ถูกต้อง
ขอรบกวนเรียนถามว่า
1. การถามคำถามทางธรรมะโดยมีเจตนาเพื่อความรู้ความเข้าใจในพระธรรม แต่ไม่ทราบถึงความเหมาะควร มีหลักพิจารณาในการถามหรือไม่ อย่างไรคะ
2. ข้อควรปฏิบัติของแม่ชีในทางพระพุทธศาสนามีกล่าวไว้หรือไม่ อย่างไรคะ เพื่อการปฏิบัติต่อแม่ชีอย่างถูกต้องค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
1. การถามคำถามทางธรรมะโดยมีเจตนาเพื่อความรู้ความเข้าใจในพระธรรม แต่ไม่ทราบถึงความเหมาะควร มีหลักพิจารณาในการถามหรือไม่ อย่างไรคะ
@ การถามปัญหาธรรม ก็ตามแต่การสะสมของแต่ละคน ที่เป็นแต่ละคน แต่ละหนึ่ง ที่สะสมมาไม่เหมือนกัน หากแต่ว่า การถามปัญหาธรรมที่ดี คือ ควรเริ่มจากเบื้องต้น เพราะบางครั้ง ก็ล่วงเลยในสิ่งที่ไม่สามารถจะรู้ได้ เช่น นิพพาน ปฏิจจสมุปบาท เพราะเป็นเรื่องที่ยาก แสนไกล เพียงอธิบายตอบไป ก็ไม่สามารถที่จะรู้ ตรึกได้ ด้วยการคิดนึก การถาม จึงควรเป็นสิ่งที่ควรรู้ ไม่เหลือวิสัย คือ ในเรื่องของสภาพธรรมที่มีจริง เป็นต้น แต่อย่างไรก็ดี ก็ตามแต่การสะสมของแต่ละคน ในการถามเป็นสำคัญ ซึ่งไม่สามารถเจาะจงให้ใครถามเรื่องนั้น เรื่องนี้ ตามแต่เหตุปัจจัยให้คิดนึกตรึกตามเรื่องที่จะถาม ครับ
2. ข้อควรปฏิบัติของแม่ชีในทางพระพุทธศาสนามีกล่าวไว้หรือไม่ อย่างไรคะ เพื่อการปฏิบัติต่อแม่ชีอย่างถูกต้องค่ะ
ในความเป็นจริง แม่ชี ก็คือ อุบาสิกา ที่ถือศีลมากกว่า ศีล 5 ซึ่งในพระพุทธศาสนาไม่มีแม่ชี แต่เป็นการแต่งตั้งกันมาเองในรุ่นหลัง เพราะฉะนั้น การประพฤติที่สมควรที่มีต่อคฤหัสถ์อย่างไร ก็ควรมีอย่างนั้น ที่เหมือนเป็น คฤหัสถ์ด้วยกัน ที่ไม่ใช่ปฏิบัติดั่งเช่นนักบวช ครับ การช่วยเหลือ เมตตา อนุเคราะห์ด้วยอาหาร ที่สมควรทำกับผู้อื่นกับคฤหัสถ์อย่างใดที่เป็นความดี ก็ควรทำกับบุคคลที่สมมติเรียกว่าแม่ชีฉันนั้น ไม่ใช่พิเศษดั่งเช่น บรรพชิต ครับ
เรียนถามเพิ่มเติมว่า ศีล กับ วินัย ต่างกันหรือไม่ อย่างไร และหากแม่ชีทำผิดศีล ผิดวินัย จะต้องปลงอาบัติเหมือนพระหรือไม่คะ
ธรรมเปนเรื่องละเอียดลึกซึ้ง แมแตคําวา ศีล และ วินัย ก็มีความละเอียดลึกซึ้ง เพราะลวนแลวแตเปนสภาพธรรมที่มีความลึกซึ้งในตัวของมันเอง
คําวา วินัย โดยความหมายทางโลก หมายถึง ระเบียบขอประพฤติปฏิบัติ เปนวินัย แตในความเปนจริงในพระพุทธศาสนา วินัย หมายถึง เครื่องกําจัด กําจัดอยางวิเศษ ขัดเกลาอยางวิเศษ กําจัด ขัดเกลาอะไร ก็ตองเปนการกําจัด สภาพธรรมที่ไมดี ที่เปนอกุศลธรรมและกิเลส สภาพธรรมอะไรก็ตามที่กําจัดเสียซึ่งความไมดี ชื่อวา วินัย
วินัย มี 2 อยาง คือ สังวรวินัย และ ปหานวินัย
สังวรวินัย คือ เครื่องกําจัดกิเลส ดวยการสังวร หรือ สํารวม ซึ่งแบงเปนสังวร 5 อยาง คือ สีลสังวร สติสังวร ขันติสังวร ญาณสังวร วิริยะสังวร
สังวรทั้ง 5 อยางนี้ เป็นสวนหนึ่ง ของ วินัย ที่เปน สังวรวินัย ซึ่ง สีลสังวร ก็คือ การสํารวมดวยศีล ถาเปนคฤหัสถก็ศีล 5 ถาเปนบรรพชิต ก็สิกขาบท เพราะ สีลสังวร เปนวินัย เพราะ กําจัดกิเลสที่หยาบทางกาย วาจา สติสังวร คือ การสํารวมดวยสติ คือ ขณะที่สติปฏฐานเกิด รูลักษณะสภาพธรรมทางตา หู..ใจ ญาณสังวร การสํารวมดวยปญญา ขันติสังวร การสํารวมดวยขันติ และ วิริยสังวร การสํารวมไมใหกิเลสเกิดดวย วิริยะ
จะเห็นนะครับวา ที่กลาวมา ลวนแลวแตเปนสภาพธรรมที่เปนเครื่องกําจัดกิเลส ที่เปนอรรถ ความหมายของวินัย
ศีล
สวน ศีลนั้นก็มีหลากหลายนัย ศีล หมายถึง ความประพฤติที่งดเวนทางกาย วาจา ก็ได (วารีตศีล) ศีล ยังหมายถึง การประพฤติสิ่งที่สมควรทางกาย วาจา (จารีตศีล) มีการเลี้ยงดู มารดา บิดา เปนตน และศีล ยังหมายถึง ความเปนปกติ ที่เปนทั้งกุศลศีล อกุศลศีล แตเมื่อกลาวโดย ศีลที่เปนขอประพฤติปฏิบัติเพื่อละกิเลส ยอมมุงหมายถึง กุศลศีล ดังนั้น ศีลที่งดเวนทางกาย วาจา ก็เชน ศีล 5 ศีลของพระภิกษุ จึงชื่อวา สีลสังวร
ในพระธรรมที่พระพุทธเจาทรงแสดงในพระไตรปฎก ทรงแสดง วา ศีล มี 4 อยาง คือ
1.เจตนา เปน ศีล
2.เจตสิก เปน ศีล
3.ความสํารวม สังวร เปนศีล
4.การไมกาวลวงเปนศีล
เจตนา เปน ศีล หมายถึง เจตนาที่งดเวนจาก การฆาสัตว ลักทรัพย ประพฤติผิดในกาม เปนตน เชน ยุงกัด ก็ไมตบ ขณะที่งดเวน ไมตบในขณะนั้น ก็เปน ศีล ที่เปนเจตนาศีล เจตนางดเวนจากการฆาสัตว
เจตสิก เปน ศีล คือ การงดเวนจากความโลภ (อนภิชฌา) งดเวนจากการพยาบาท (อพยาบาท) และ มีความเห็นถูก (สัมมาทิฏฐิ) ชื่อวา เจตสิกศีล
การไมกาวลวงเปนศีล คือ เจตนาสมาทานศีล หรือที่ถือเอาดวยดี ดวยตั้งใจที่จะขอรักษาศีล เชน ไปตอหนาพระ และขอสมาทานจะรักษาศีล ขณะนั้นมีเจตนาที่จะประพฤติ รักษากาย วาจาที่เปนไปดวยดี ชื่อวา เปนศีล เพราะ มีความไมกาวลวงดวยการสมาทานศีล ครับ จึงเปนศีล
ความสํารวม หรือ สังวร เปน ศีล ความสํารวม สังวรในที่นี้ ไมไดหมายถึงการสํารวมภายนอกที่ทําสํารวม กิริยาสํารวม แต สํารวม สังวร หมายถึง การสํารวมดวยจิตที่เปนกุศล มุงที่ จิต เปนสําคัญ ซึ่งการสํารวม หรือ สังวร นั้นมี 5 ประการ คือ
-ปาฏิโมกขสังวร คือ การประพฤติงดเวนและปฏิบัติตามพระวินัยบัญญัติของพระภิกษุ ชื่อวาเปน ศีล
-สติสังวร คือ การมีสติระลึกลักษณะของสภาพธรรม ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ชื่อวา สติสังวร เปนศีล
-ญาณสังวร ปญญาเกิด ละกิเลส ชื่อวา สังวรดวยปญญาและการพิจารณาสิ่งที่ไดมาที่เปนปจจัย มี อาหาร เปนตนของพระภิกษุ พิจารณาดวยปญญาแลวจึงบริโภค ก็ชื่อวาญาณสังวร เปนศีลในขณะนั้นดวยครับ คือ ปจจยสันนิสิตตศีล
-ขันติสังวร ความเปนผูอดทนตอหนาวและรอน เปนตน ชื่อวา สํารวมดวยขันติ
-วิริยสังวร คือ ปรารภความเพียรไมใหอกุศลที่เกิดขึ้นแลว เจริญขึ้น เปนตน ชื่อวาสํารวมดวยวิริยะ
จากที่กลาวมา จะเห็นนะครับวา ศีล นั้น เปนสวนหนึ่งของวินัย คือ สังวร 5 ที่เปนศีลก็เปน วินัย และ สีลสังวร ก็เปนสวนหนึ่งของวินัย ดวยเหตุผลที่วา วินัย หมายถึงเครื่องกําจัดกิเลส เพราะฉะนั้น ศีล ก็เปนธรรมสวนหนึ่ง ที่กําจัดกิเลส วินัย จึงกวางกวา ศีล โดยนัยนี้ ครับ
วินัย ยังแบงเปน สังวรวินัย ไดกลาวไปแลว และยังแบงเปน ปหานวินัย ซึ่ง มี 5 อยางดังนี้
ตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน สมุจเฉทปหาน ปฏิปสสัทธิปหาน และนิสสรณปหาน
ปหาน หมายถึง การสละ การละ ซึ่งก็มีหลากหลายนัยดังนี้ ครับ
-ตทังคปหาน คือ การละองคนั้นๆ ดวยวิปสสนาญาณ เชน ขณะที่เกิดวิปสสนาญาณ ขั้นที่ 1 ก็ละ ความยึดถือวาเปนสัตว บุคคล ชั่วขณะนั้น ละ ความไมรู กิเลสในชั่วขณะนั้น ครับ เปนวินัยเพราะ กําจัดกิเลสในขณะนั้นชั่วขณะ
-วิกขัมภนปหาน หมายถึง ฌานขั้นตางๆ ขณะนั้น ละ กําจัด นิวรณ มีความติดของในขณะนั้น เปนตน ครับ
-สมุจเฉทปหาน การละกิเลสไดเด็ดขาด ดวย มรรคทั้ง 4 ชื่อวา สมุจเฉทปหาน
-ปฏิปสสัทธิปหาน คือ ขณะที่เปนผลจิต เปนการระงับกิเลสที่ละไดแลว
-นิสสรณปหาน คือ พระนิพพาน เพราะ ละ สภาพธรรมที่เปนเครื่องปรุงแตง คือ จิต เจตสิก รูปไมมีอีกเลยในพระนิพพาน ครับ
สรุปไดวา การละทั้งหมด การกําจัดทั้งหมด เปนวินัย วินัยจึงกวางขวาง ครอบคลุมทั้ง ศีล สมาธิ และปญญา มรรค ผล นิพพาน สวนศีล แคบกวา เปนเพียงศีล และเปนสวนหนึ่งของวินัย เพราะ ศีล ก็เปนเครื่องกําจัด ละกิเลสไดเชนกัน แตก็ตามระดับของศีล ครับ
ส่วน ที่สมมติว่าแม่ชี ก็คือ อุบาสิกาที่ถือศีลมากกว่า แต่ไม่ใช่นักบวช บรรพชิต ก็ไม่มีอาบัติสำหรับแม่ชี เพียงแต่ รักษาศีล 8 ศีล 10 ถ้าประพฤติผิด ศีล ตามที่ประพฤติ ก็สมาทานศีลใหม่ ครับ ขออนุโมทนา
เรียนถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับเจตสิกศีล ในเรื่องความเห็นถูก เท่าที่ทราบความเห็นผิดเป็นอกุศลกรรมบททางใจ ตราบใดที่ไม่พ้นจากความเป็นปุถุชนแล้ว จะไม่เกิดความเห็นถูกได้จริงๆ ใช่หรือไม่ และอกุศลกรรมบททางใจต่างจากมโนกรรมหรือไม่ อย่างไรคะ
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ
เรียนความเห็นที่ 4 ครับ
ตราบใดที่เป็นปุถุชน ก็มีการเกิดทั้งความเห็นผิดและความเห็นถูกครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่ ครับ
ขออนุโมทนา ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
-ผู้ที่เห็นประโยชน์ของพระธรรม ย่อมไม่ละเลยโอกาสสำคัญที่จะทำให้ตนเองได้มีความเข้าใจถูกเห็นถูกยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการฟัง พิจารณาไตร่ตรองในคำที่ได้ยินได้ฟัง หรือ ถ้าเกิดความสงสัย ก็สนทนาสอบถามเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่มีจริง ตรงตามความเป็นจริง
-การบวชเป็นชี ไม่มีในคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม่ชี จึงไม่ใช่นักบวชในพระพุทธศาสนา แต่เป็นอุบาสิกา เป็นคฤหัสถ์ที่มีศรัทธาจะรักษาศีล ๘ ซึ่งตามความเป็นจริงแล้ว แม้ไม่บวชเป็นชี แต่ถ้ามีความเข้าใจธรรม รู้อัธยาศัยของตน รู้จุดประสงค์ที่ถูกต้องในการรักษาศีล ก็ย่อมสมาทานรักษาศีลได้ตามโอกาสอันสมควร และที่สำคัญ ต้องไม่ลืมความหมายของ อุบาสิกาที่แท้จริง คือ ผู้นั่งใกล้ศาสนา ไม่ละเลยโอกาสที่สำคัญที่จะทำให้ตนเองได้มีความเข้าใจถูกเห็นถูกในธรรม การเกื้อกูลต่อแม่ชี ก็สามารถกระทำได้ ตามความเหมาะสม แต่ขอให้ได้พิจารณาว่า แม่ชี ไม่ใช่บรรพชิต ครับ
-พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ นั้น มีความละเอียดลึกซึ้งเป็นอย่างยิ่ง สำคัญที่ความเข้าใจอย่างถูกต้องตามความเป็นจริง ไม่ว่าจะทรงแสดงโดยนัยใดก็ตาม ไม่พ้นไปจากเพื่อให้เข้าใจตามความเป็นจริง จะเห็นได้ว่า พระธรรมคำสอนในทางพระพุทธศาสนา เป็นไปเพื่อกำจัดขัดเกลาบาปธรรม ขัดเกลาธรรมที่เป็นอกุศลไปตามลำดับ จนกว่าจะสามารถดับได้จนหมดสิ้น แม้ในเรื่องของศีล ก็ดี วินัย ก็ดี ไม่พ้นไปจากการขัดเกลากิเลส ถ้ากล่าวโดยความหมายแล้ว วินัย มีความหมายหลายอย่าง แต่ที่พอจะเข้าใจได้ชัดเจนที่สุด คือ วินัย แปลว่า ขจัดธรรมฝ่ายเศร้าหมองออกไป พระธรรมทั้งหมดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ก็เป็นเพื่ออย่างนี้
สำหรับ ศีล มีอรรถที่กว้างขวางมาก การวิรัติงดเว้นจากทุจริตประการต่างๆ ก็เป็นศีล การน้อมประพฤติปฏิบัติในสิ่งที่ดีงาม ก็เป็นศีล การสำรวมระวังตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ปิดกั้นไม่ให้อกุศลเกิดขึ้นที่เป็นการสำรวมอินทรีย์ ก็เป็นศีล, ในขณะที่มรรคจิตเกิดขึ้นพร้อมด้วยองค์มรรค ทั้ง ๘ องค์ ซึ่งมีองค์ของศีล (สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ) ด้วย ก็เป็นศีล ที่เป็นโลกุตตรศีล ทั้งหมดนั้น ก็ล้วนเป็นไป เพื่อกำจัดขัดเกลากิเลสเช่นเดียวกัน
เมื่อมีการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม มากยิ่งขึ้น เข้าใจเพิ่มมากขึ้น ก็จะเป็นเครื่องอุปการะเกื้อกูลให้มีการงดเว้นจากทุจริตประการต่างๆ ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง พร้อมทั้งเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง ไม่ใช่เราที่รักษาศีล แต่เป็นธรรมฝ่ายดีที่เกิดขึ้นเป็นไปเท่านั้น เป็นศีลที่ประกอบด้วยปัญญา ศีลจะบริสุทธิ์ขึ้น เพราะมีความเข้าใจถูก เห็นถูก เพิ่มขึ้น ซึ่งจะต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ ครับ.
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
มโนกรรม ต้องมีการกระทำ ถึงครบกรรมบถ เช่นคิดในใจแล้วขโมยของเขา ค่ะ