ปุถุชนเป็นผู้มีคติไม่แน่นอน แม้กระทำกุศลไว้มาก
ผู้ที่ไม่ใช่พระอริยบุคคลชื่อว่าเป็น ปุถุชน เป็นผู้มีคติไม่แน่นอน แม้กระทำกุศลไว้มากแต่เวลาใกล้ตายจิตเศร้าหมอง อกุศลกรรมในอดีตให้ผลย่อมเกิดในอบายภูมิ คือไม่มีอะไรรับประกันได้ อีกอย่างหนึ่งเราเลือกคติที่ไปเกิดใหม่ในชาติหน้าไม่ได้ แต่เลือกที่จะทำเหตุให้เกิดผลที่ดีในอนาคตได้ ส่วนกรรมไหนจะส่งผลเลือกไม่ได้

กราบนอบน้อมพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้า
เป็นคำที่เตือนใจจริงๆ ค่ะ ในความเป็นธรรมที่บังคับบัญชาไม่ได้ เหตุปัจจัยมีมากมาย จึงไม่ควรประมาท ปุถุชนยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งหนทางที่ประพุทธองค์ทรงแสดงเป็นทางเดียวเท่านั้นเพื่อนำไปสู่ความมีคติที่พ้นทุกข์ไปตามลำดับได้ แน่นอนแล้วที่จะพ้นอบายภูมิ นึกถึงคำท่านอาจารย์กล่าวว่า
"ขณะใดที่กุศลไม่เกิด ขณะนั้นอกุศลเกิด เพราะฉะนั้น ไม่ประมาทแม้กุศลเพียงเล็กน้อย เป็นผู้ที่เห็นประโยชน์ไหมว่าการที่จะให้กุศลทั้งหลายเจริญงอกงามขึ้น ไพบูลย์ขึ้น จนสามารถที่จะมีกำลังพอที่จะดับอกุศลได้ ต้องระดับไหน? จะขาดโพธิปักขิยธรรม (ธรรมที่เป็นฝักฝ่ายแห่งการตรัสรู้) ได้ไหม? ต้องมีความมั่นคงในการที่จะมีฉันทะพอใจที่จะได้รู้ความจริง ความจริงคือขณะนี้กำลังเกิดดับ จะเพียงพอเพียงแค่ฟังเรื่องราวเท่านั้นหรือ หรือว่าความจริงขณะนี้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงหนทางที่จะให้มั่นคงเจริญ จนกระทั่งสามารถที่จะละความไม่รู้ ดับความเห็นผิดได้ ... "
กราบเท้าบูชาพระคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพอย่างสูงยิ่ง
ขออนุโมทนายินดีในกุศลสหายธรรมทุกท่านที่ได้ศึกษาพระธรรมด้วยค่ะ
ศึกษาเพิ่มเติมที่
มลวรรคที่ ๑๘ ว่าด้วยมลทิน มีอรรถกถา ๑๒ เรื่อง (เริ่มเล่ม 43)