สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี

 
chatchai.k
วันที่  1 ส.ค. 2557
หมายเลข  25199
อ่าน  4,278

ได้รับ ไลน์ภาพที่มีข้อความ "สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบ ไม่มี"

ขอเรียนถามว่า

1.อย่างไรจึงเรียกว่า สงบ

2.สงบทำให้เกิดความสุขอย่างไร?


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 1 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

๑.) อย่างไร จึงเรียกว่า สงบ?

สงบก็ไม่พ้นจากสภาพธรรมที่มีจริงที่เป็นจิต เจตสิก ที่เป็นสภาพธรรมที่ดี ที่เป็นกุศลธรรม เพราะฉะนั้นขณะใดที่สงบจากโลภะ โทสะ โมหะ คือ ไม่มีกิเลสเกิดขึ้น และเป็นจิตที่ดีงาม เป็นกุศลจิต ขณะนั้นชื่อสงบ สงบจากกิเลส ไม่ใช่สงบจากการไม่คิดเรื่องอะไร ครับ

2.) สงบทำให้เกิดความสุขอย่างไร?

ความสงบที่เป็นกุศล ไม่นำมาซึ่งโทษ เมื่อสงบด้วยปัญญา คือ มีความเห็นถูก ตามความเป็นจริง ย่อมเกิดปีติโสมนัส เพราะเข้าใจความจริง จึงได้รับความสุขในขณะนั้น และเมื่อหมดกิเลส สงบแท้จริง ย่อมได้รับความสุขอันสูงสุด คือ พระนิพพาน ครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส เล่ม ๖ - หน้าที่ ๘๗

[๑๔๕] คำว่า สนฺโต ในอุเทศว่า " สนฺโต วิธูโม อนีโฆ นิราโส อตาริ โส ชาติชรนฺติ พฺรูมิ " ดังนี้ ความว่า ชื่อว่า สันตะ เพราะเป็นผู้มีราคะสงบ มีโทสะสงบ มีโมหะสงบ ชื่อว่าสงบแล้ว คือ เข้าไปสงบแล้ว ระงับแล้ว ดับแล้ว ระงับเฉพาะแล้ว เพราะเป็นผู้สงบแล้ว ถึงความสงบแล้ว เข้าไปสงบแล้ว เผาแล้ว ดับแล้ว ปราศจากแล้ว ระงับเฉพาะแล้วซึ่งความโกรธ ความผูกโกรธ ความลบหลู่ ความตีเสมอ ความริษยา ความตระหนี่ ความลวง ความโอ้อวด ความกระด้าง ความแข่งดี ความเมา ความประมาท กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง ความกระวนกระวายทั้งปวง ความเร่าร้อนทั้งปวง ความเดือดร้อนทั้งปวง อกุสลาภิสังขารทั้งปวง เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สงบ.

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
peem
วันที่ 2 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
j.jim
วันที่ 2 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 2 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จิตของแต่ละบุคคล โดยเฉพาะผู้ที่ยังเต็มไปด้วยกิเลสนานาประการ มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ย่อมไม่สงบเพราะมีกุศลธรรมเกิดขึ้น ขณะใดที่จิตเป็นกุศล ขณะนั้นย่อมไม่สงบ แต่ในทางตรงกันข้าม ขณะใดที่กุศลธรรมเกิดขึ้น ขณะนั้นสงบจากกุศล

ตามหลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงความเป็นไปของจิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) และเจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) ว่าเมื่อจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ทางทวารทั้ง ๖ คือ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และทางใจ สำหรับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ไม่ได้รับแนะนำในวินัยของพระอริยะ

ย่อมมีความติดข้องยินดีพอใจ รักชอบในอารมณ์ที่ดี และย่อมมีความชัง ความเกลียดหรือความไม่พอใจในอารมณ์ที่ไม่ดี แต่สำหรับอริยสาวกผู้ได้สดับ ได้รับแนะนำในวินัยของพระอริยะ ได้อบรมเจริญปัญญาจนดับกิเลสได้ทั้งหมดเป็นพระอรหันต์แล้ว ท่านย่อมไม่รักและไม่ชังในอารมณ์ที่มากระทบ ไม่มีกิเลสใดๆ เกิดขึ้นอีกเลย เป็นผู้มีใจที่สงบอย่างแท้จริง

ดังนั้น การศึกษาพระธรรมคำสอนของพระอรหันต์ อบรมเจริญปัญญา สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก ค่อยๆ รู้ตามพระอรหันต์ทั้งหลาย จึงจะค่อยๆ ละความรักความชัง รวมถึงกุศลธรรมประการอื่นๆ ได้ตามลำดับ ซึ่งจะทำให้ใจสงบจากกิเลส สงบจากกุศล

เพราะฉะนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่จะศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม อบรมเจริญปัญญา เห็นประโยชน์สูงสุดของปัญญาเพราะปัญญาเท่านั้นที่จะเป็นสภาพธรรมที่จะดับกิเลสทั้งหลายทั้งปวงได้ในที่สุด ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 2 ส.ค. 2557

คนที่มีปัญญา คือ คนที่มีความสุขอย่างแท้จริง เพราะความสุขอย่างอื่นที่มาจากทรัพย์สมบัติ คนรัก ก็เป็นความสุขชั่วคราว ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
นิตยา
วันที่ 3 ส.ค. 2557

เจริญกุศลทุกประการ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
orawan.c
วันที่ 4 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ