จุดเริ่มต้นและความเป็นมาของ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
จุดเริ่มต้นและความเป็นมาของ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๐๙ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ได้รับเชิญจากภิกษุเขมานันทะ ชาวอเมริกัน ให้ร่วมกันสอนพระอภิธัมมัตถสังคหะเป็นภาษาอังกฤษ แก่ชาวต่างประเทศ ที่วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์
พ.ศ. ๒๕๑๐ - พ.ศ. ๒๕๑๙ ท่านอาจารย์ได้รับเชิญจากภิกษุกิตติวุฒโฑ (ปัจจุบันเป็นพระเทพกิตติปัญญาคุณ) ให้บรรยายแนวทางวิปัสสนา ที่ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษดิ์ และมูลนิธิอภิธรรมมหาธาตุวิทยาลัยได้นำเทปคำบรรยายนี้ออกอากาศทางสถานีวิทยุยานเกราะ ๗๙๒
ในระหว่างนี้มีชาวต่างประเทศที่พำนักอยู่ในประเทศไทยและเดินทางมาประเทศไทย สนใจศึกษาพระพุทธศาสนา ขอสนทนากับท่านอาจารย์ จึงเกิดกลุ่มสนทนาธรรม (Dhamma Study Group) และกลุ่มนี้ได้ร่วมกันเผยแพร่พระธรรมโดยอัดเทปสนทนาธรรมให้แก่สหายธรรมที่อยู่ต่างประเทศ และพิมพ์หนังสือธรรมขึ้นหลายเล่ม
พ.ศ. ๒๕๑๙ - พ.ศ. ๒๕๔๓ ท่านอาจารย์บรรยายแนวทางเจริญวิปัสสนาที่ห้องประชุมตึกสภาการศึกษา มหามกุฏราชวิทยาลัย และมีผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันนำเทปคำบรรยายนี้ออกอากาศทางสถานีวิทยุ สทร. ๒ บางนา ในนามคณะศึกษาธรรม ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๙ ถึงปัจจุบัน
เมื่อผู้ดำเนินงานของกลุ่มสนทนาธรรมแยกย้ายกันกลับประเทศของตน ได้มอบเงินให้แก่คณะศึกษาธรรมเพื่อเป็นค่าพิมพ์หนังสือต่อไป
พ.ศ. ๒๕๒๗ คณะศึกษาธรรมได้รับอนุมัติให้เป็น มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา (Dhamma Study and Propagation Foundation) เมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม ๒๕๒๗ โดยมีสำนักงานที่บ้านท่านอาจารย์สุจินต์ เลขที่ ๘๓ ซอยพัฒนเวศม์ สุขุมวิท ๗๑
วันที่ ๒๐ กรกฎกาคม ๒๕๔๒ ได้รับอนุมัติให้แก้ไขชื่อภาษาอังกฤษของมูลนิธิฯ เป็น Dhamma Study and Support Foundation
วันที่ ๑๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ มูลนิธิมีสำนักงานตั้งอยู่ที่ ๑๗๔/๑ ซอยเจริญนคร ๗๘ บุคคลโล ธนบุรี กทม. ๑๐๖๐๐
ประวัติ
อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
เกิด วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ มกราคม ๒๔๖๙ เป็นบุตรีของ หลวงบริหารวนเขตต์ (ฉัตร ชูเกียรติ) และนางบริหารวนเขตต์ (เจริญ ปุณณสันถาร)
สถานที่ จังหวัดอุบลราชธานี
การศึกษา
ระดับประถมและมัธยม โรงเรียนเซนต์แมรี่ ถนนสาธรใต้
ระดับมัธยมตอนปลาย โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ระดับอุดมศึกษา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจนถึงปีที่ ๒
การทำงาน
สอนที่โรงเรียนดาราวิทยาลัย จังหวัดเชียงใหม่
สอนภาษาไทยให้แก่ชาวต่างประเทศ ที่โรงเรียนสอนภาษาไทยของมิชชันนารี
สอนภาษาไทยที่โรงเรียนของตนเอง ชื่อ Thai Language School (โรงเรียนไทยศึกษาสัมพันธ์)
การศึกษาธรรม
พ.ศ. ๒๔๙๖ ศึกษาพระอภิธรรมที่พุทธสมาคม กับอาจารย์แนบ มหานีรานนท์ อาจารย์บุญมี เมธางกูร ขุนพระชาญบรรณกิจ คุณหญิงระเบียบ สุนทรลิขิต
การเผยแพร่ธรรม
พ.ศ. ๒๔๙๙ บรรยายธรรมที่สภาวัฒนธรรมแห่งชาติ และทัณฑสถานหญิง คลองเปรม
พ.ศ. ๒๕๐๖ บรรยายพระอภิธรรมที่ศูนย์ค้นคว้าทางพระพุทธศาสนา และ สมาคมสังเคราะห์ทางจิต ที่วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร
พ.ศ. ๒๕๑๐ – พ.ศ. ๒๕๑๙ บรรยาย “แนวทางเจริญวิปัสสนา” ที่ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์
พ.ศ. ๒๕๑๙ – พ.ศ. ๒๕๔๓ บรรยาย “แนวทางเจริญวิปัสสนา” มหามกุฎราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร บรรยายพระอภิธรรมแก่ชมรมพุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เช่น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.ธรรมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) ม.เกษตรศาสตร์ โรงเรียนนายเรืออากาศ เป็นต้น รวมทั้งหน่วยงานราชการหลายแห่ง เช่น กองบิน ๒ จังหวัดลพบุรี ร.พ.ศิริราช ร.พ. ภูมิพลฯ ร.พ. พระมงกุฎเกล้า ฯลฯ นอกจากนี้ยังได้ร่วมสนทนาและตอบปัญหาธรรมแก่ภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตามสถานที่ต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด
พ.ศ. ๒๕๒๐ ได้รับเชิญไปร่วมสัมมนาธรรม ที่ประเทศศรีลังกา
พ.ศ. ๒๕๓๕ และ พ.ศ. ๒๕๔๓ ได้รับเชิญไปเผยแพร่พระธรรมที่ประเทศกัมพูชา
พ.ศ. ๒๕๔๑, ๒๕๔๓, ๒๕๔๕ ได้รับเชิญไปเผยแพร่พระธรรม ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับเชิญจากคณะกรรมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร ให้บรรยายเชิงอภิปราย เรื่อง “การสนทนาธรรม เพื่อการรู้จักตัวเอง”
พ.ศ. ๒๕๔๓ สนทนาธรรม “แนวทางเจริญวิปัสสนา” ที่อาคารสำนักงานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา จนถึงปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๕๕ - ปัจจุบัน ได้รับเชิญจากชมรมบ้านธัมมะ เวียดนาม ไปเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาที่เมืองฮานอย โฮจิมินห์ซิตี้ หวฺงเต่า ฮอยอัน เว้ ดาลัท และญาจาง
หนังสือ
๑. ปรมัตถธรรมสังเขป
๒. สนทนาธรรม (กับวันทนา ทิพยวัลย์ และประชุมพร ชาญสุวิทยานันท์)
๓. ตอบปัญหาธรรม
๔. พระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน โดย นีน่า วัน กอร์คอม (แปลอังกฤษ -ไทย)
๕. บุญญกิริยาวัตถุ (คัดจากสนทนาธรรม)
๖. เมตตา
๗. พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหรือไม่
๘. สนทนาธรรมกับชาวกัมพูชา
๙. แด่ผู้มีทุกข์
๑๐. ธรรมเตือนใจแด่คุณประมาท
๑๑. เกิด แก่ เจ็บ ตาย
๑๒. สนทนาธรรมร่วมกับคณะสนทนาธรรมที่วิหารรังสี
๑๓. สนทนาธรรมเรื่องพระพุทธศาสนา
๑๔. ปัจจัยสังเขป
๑๕. แนวทางเจริญวิปัสสนา
๑๖. บารมีในชีวิตประจำวัน
๑๗. ตอบปัญหาธรรม (ในโครงการอบรมพระวิปัสสนาจารย์ ที่วัดวังตะกู)
๑๘. ธรรมสัญจรที่กัมพูชา
๑๙. ธรรมบรรณาการในวันวิสาขบูชา ๒๙ พ.ค. ๒๕๔๒
เทปและแผ่นซีดีบันทึกเสียง
๑. ชุด “มองมุมมุ่งธรรม”
๒. ชุด “พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหรือไม่”
๓. ชุด “ปฏิจจสมุปบาท”
๔. ชุด “ธรรมในชีวิตประจำวัน”
๕. ชุด “บ้านเมืองทองฯ”
๖. ชุด “บารมีในชีวิตประจำวัน”
๗. ชุด “จิตปรมัตถ์”
๘. ชุด “กรรม”
๙. ชุด “สมถภาวนา”
๑๐. ชุด “สนทนาธรรมที่อเมริกา”
๑๑. ชุด “เมตตา”
๑๒. ชุด “วินัยคฤหัสถ์”
๑๓. ชุด “โสภณธรรม”
๑๔. ชุด “บทสนทนาธรรม”
๑๕. ชุด “ปัฏฐาน” (ปัจจัย ๒๔)
๑๖. ชุด “แนวทางเจริญวิปัสสนา”
๑๗ ชุด “การปฏิบัติธรรม”
๑๘. ชุด “สนทนาธรรมที่อินเดีย”
การเผยแพร่พระธรรมทางสถานีวิทยุ
กรุงเทพมหานคร อสมท., รัฐสภา เอฟ.เอ็ม., สวพ., สทร. ๒, พล.๑, ทอ. ๐๑
กำแพงเพชร ทภ. ๓, ทภ. ๓ เอฟ.เอ็ม.
ขอนแก่น รด., มจร. เอฟ.เอ็ม.
เชียงใหม่ วปถ. ๒, ทภ. ๓ เอฟ.เอ็ม.
เชียงราย ทอ. ๐๑๕, ทภ.๓
นครสวรรค์ ทภ.๓
น่าน ทภ.๓ เอฟ.เอ็ม.
นครพนม ทภ. ๒
นครศรีธรรมราช ทภ. ๔
เพชรบูรณ์ ทภ.๓ เอฟ.เอ็ม.
พิษณุโลก ทภ.๓
แพร่ ทภ.๓, ทภ. ๓ เอฟ.เอ็ม.
พะเยา ทภ.๓, ทภ. ๓ เอฟ.เอ็ม.
พิจิตร ทภ. ๓
ภูเก็ต ๑ ปณ. เอฟ.เอ็ม.
ลำปาง ทภ.๓ เอฟ.เอ็ม.
ลำพูน ทภ. ๓ เอฟ.เอ็ม.
สุพรรณบุรี ทภ. ๑
สุราษฎร์ธานี สวท.เอฟ.เอ็ม.
สิงห์บุรี ชุมชน เอฟ.เอ็ม.
สุโขทัย ทภ. ๓, ทภ. ๓ เอฟ.เอ็ม.
อุดรธานี ยานเกราะ, ทภ. ๓ เอฟ.เอ็ม.
อุบลราชธานี ทอ. ๐๘
การเผยแพร่พระธรรมทางสถานีโทรทัศน์
รายการบ้านธัมมะ ช่อง ๑๑ กรมประชาสัมพันธ์
รายการบ้านธัมมะ ช่อง TNN2
สถานีโทรทัศน์รัฐสภา ช่อง 20
เกียรติประวัติ
พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ในฐานะที่เป็นผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา
พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้รับปริญญาศาสนศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พุทธศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๕๐ ได้รับรางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา ในวันสตรีสากลขององค์การสหประชาชาติ
พ.ศ. ๒๕๕๑ ได้รับปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (พุทธศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๕๒ ได้รับโล่และประกาศเกียรติคุณรางวัลพุทธคุณูปการ ระดับกาญจนเกียรติคุณ ลงนามโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ประธานคณะกรรมการผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช) และนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภาและประธานผู้แทนราษฎร ดำเนินการโดยคณะกรรมมาธิการการศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎร
ปัจจุบัน
ประธานกรรมการ มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา
.........
Biographical Sketch of
Ms. Sujin Boriharnwannaket,
President of the Dhamma Study and Support Foundation
Birth Date: January 13, 1927.
Place of Birth: Ubon Ratchathani, Thailand.
Education:
Saint Mary’s School, South Sathorn Rd. (primary and secondary education)
Triam Udom Suksa School (Chulalongkorn University Preparatory School)
Faculty of Commerce and Accountancy, Chulalongkorn University (sophomore level)
Previous Work Experience:
Teaching at Dara Academy, Chiangmai
Teaching Thai to foreigners at the Union Language School
Teaching Thai at the Thai Language School
Dhamma Study:
1953: studied Abhidhamma at the Buddhist Association with Mrs.Naeb Mahaneranon, Mr.Boonmee Methangkul
Previous Dhamma Lectures:
1956: Dhamma lectures at the National Culture Congress and at the Women’s Correctional Facilty, Department of Corrections, Klongprem, Bangkok
1963: lectured on Abhidhamma at the Buddhist Research Center at Wat Saket Ratcha Wora Maha Wihan
1967-1976: lectured on "The Foundation for Developing Right Understanding" at the Somdej’s Residence, Mahatat-Yuwarachrangsarit Temple
1976-2000: gave lectures on "The Foundation for Developing Right Understanding" at the Mahamakut Buddhist University, Wat Bowonniwet Viharalectured on Abhidhamma at Buddhist societies in various universities such as: Chulalongkorn University, Thammasat University, Srinakharinwirot University, Kasetsart University, The Royal Thai Airforce Academy, and others lectured on Dhamma to many government departments, including the 2nd Wing Division of the Royal Thai Airforce, Lopburi, Siriraj Hospital, Bhumibol Adulyadej Hospital, Phra Mongkut Klao Hospital and others
1976: to the present, lectures on Abhidhamma to members of Buddhist Assemblies at various universities, and has presided over Q&A sessions with Buddhist monks, novices, and lay devotees at a number of places in Bangkok and other provinces
1977: invited to participate in a Conference on Buddhist Dhamma in Sri Lanka
1992: and 2000: invited to present Dhamma instruction in the Kingdom of Cambodia
1998, 2000, 2002: invited to Dhamma talks in the U.S.A.
2000: to the present, Dhamma talks on "The Foundation for Developing Right Understanding" at the Dhamma Study and Support Foundation
2002: the Committee of Religion, Art and Culture, The House of Representatives, invited Ms.Sujin and scholars from the Dhamma Study and Support Foundation to hold Dhamma Discussions at Parliament House.
Ms. Sujin Boriharnwanaket has written more than fifteen books on Buddhism including “A Survey of Paramattha Dhamma” and “The Conditionality of Life”. Her lectures are broadcast from more than twenty broadcasting stations throughout Thailand.
Honors Received:
1985: granted an emblem of honor by Her Royal Highness Princess Sirindhorn in recognition of the great benefits derived from her total dedication to Buddhism
May 30, 2002: Honorary Masters Degreee in Religious Studies (Buddhism) from Mahamakut Buddhist University
March 7, 2007: Outstanding Award for Women in Buddhism, on the Occasion of International Women’s Day by the United Nations
May 25, 2008: Honorary Doctorate Degree in Religious Studies (Buddhism) from Mahamakut Buddhist University
April 22, 2009: Emblem of Honor presented by the Committee for Religion, Art and Culture of the House of Representatives
Present Position:
Chairman of the Board of Directors of the Dhamma Study and Support Foundation, registration no. 2522, August 1, 1984
address: 174/1 Charoen Nakorn 78, Dao Khanong, Thonburi, Bangkok 10600, Thailand; Tel: +662-468-0239;
website: www.dhammahome.com
อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
ผู้เสียสละ และ ทุ่มเทเวลาให้กับศาสนาจนหมดใจ
“พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนว่า โลภะ ความยึดมั่น ความติดความผูกพันในทุกอย่างจะนำมาซึ่งความทุกข์ โทสะเป็นสภาพธรรม ที่หยาบกระด้างประทุษร้าย ทำลาย อกุศลทั้งหลายเกิดจากความไม่รู้ ไม่รู้ว่า ตัวเองมาจากโลกไหน ไม่รู้ว่าตายแล้วจะไปไหน วันหนึ่งๆ ทำอะไร เพราะอะไร ก็ไม่รู้ ที่ทั่วโลกกำลังลำบากนั้นเพราะเป็นทาสของความรู้สึกที่เป็นสุขซึ่งเกิดขึ้นเมื่อได้สิ่งที่พอใจ”
(จากการบรรยายธรรมของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์)
ผู้ที่ศึกษาธรรมะส่วนใหญ่ คงจะคุ้นเคยกับเสียงท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ตามคลื่นวิทยุต่างๆ เป็นอย่างดี เพราะรายการแนวทางเจริญวิปัสสนามีมากมายหลายคลื่น ทั้งกรุงเทพและต่างจังหวัด เป็นรายการที่เสมือนอยู่คู่กับสังคมมาแสนนาน ที่สำคัญ หากใครได้ฟังรายการแล้วพิจารณาด้วย ปัญญาก็คงจะเกิด นิตยสารธรรมนำโลก ต้องขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เป็นอย่างมาก ที่ได้มีเมตตาและเปิดโอกาสให้ทางนิตยสารฯ สัมภาษณ์ถึงมูลนิธิฯ ค่ะ
ผู้สัมภาษณ์ใช้เวลาในการสัมภาษณ์ไม่มากนัก เนื่องจากท่านอาจารย์เพิ่งสนทนาธรรมเสร็จ ถึงแม้ว่าท่านอาจารย์จะใช้เวลาในการสนทนาธรรมเป็นเวลานาน แต่ดูท่าทางท่านอาจารย์ไม่เหนื่อยเลย สมกับเป็นผู้ที่มีแต่ให้อย่างแท้จริง บางคนอาจจะอยากทราบว่า ท่านอาจารย์ได้ทำอะไรให้กับศาสนาบ้าง ลองติดตามอ่านดูนะคะ แล้วท่านจะได้คำตอบค่ะ
คุณพ่อของท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ เป็นข้าราชการป่าไม้ และต้องย้ายไปประจำตามต่างจังหวัด ลูกของคุณพ่อจึงเกิดที่จังหวัดต่างๆ ท่านเองเกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี คุณพ่อท่านอาจารย์มีบ้านที่กรุงเทพ ลูกก็ตามไปอยู่กับคุณพ่อเวลาโรงเรียนหยุด ตอนเด็กท่านสนใจไปกราบพระตามวัด คุณแม่เสียชีวิตตั้งแต่ยังเล็ก คุณพ่อทำงานต่างจังหวัด ลูกเรียนที่กรุงเทพ มีคนดูแลลูก ท่านอาจารย์จึงเป็นอิสระที่จะทำสิ่งที่ท่านเห็นควรจะกระทำ
ท่านอาจารย์สนใจศาสนา เมื่อได้เห็นประกาศของหนังสือพิมพ์บางกอกเวิรล์ดสมัยนั้นว่า มีการสอนอภิธรรมที่พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ท่านจึงไปเรียนอภิธรรมที่พุทธสมาคม ท่านอาจารย์เริ่มบรรยายธรรมตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐ จนถึงปัจจุบันรวมเวลา ๕๘ ปี เมื่อก่อนท่านอาจารย์บรรยายธรรมเพียงผู้เดียว แต่ระยะหลังมีการบรรยายร่วมกันเป็นคณะวิทยากร ผู้ที่ได้ฟังธรรมเข้าใจแล้ว ต่างก็มีศรัทธาร่วมกันเผยแพร่พระธรรมให้มั่นคงสืบต่อไป ปัจจุบันจึงมีรายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ และมีชมรมบ้านธัมมะของ มศพ. ซึ่งขณะนี้มีสมาชิกชมรมทุกภาคทั่วประเทศ เพื่อร่วมกันทำดีและศึกษาพระธรรม
ท่านอาจารย์เป็นผู้ที่อุทิศชีวิตให้กับพระพุทธศาสนา ท่านเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้บรรยายธรรมทุกรุ่น ท่านสนทนาธรรมได้ละเอียดและลึกซึ้ง ซึ่งผู้สนใจศึกษาพระพุทธศาสนาจะร่วมฟังการสนทนาธรรมได้ในวันเสาร์ – อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 – 16.00 น. ที่มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา 174/1ซอยเจริญนคร 78 บุคคโล ธนบุรี กทม. 10600
ข้อความนี้นำมาจากบางส่วนของคอลัมน์ “คนดี คนดัง” ของนิตยสาร “ธรรมนำโลก” ปีที่ ๓ ฉบับที่ ๒๖ พ.ศ. ๒๕๕๕ รายงานโดย นริศรา
.........
พิธีประทานปริญญาบัตรศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาพุทธศาสตร์แด่อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์
จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ณ หอประชุมพุทธมณฑล ต.ศาลายา อ.พุทธมณฑล จ.นครปฐม
วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ.2551
ท่านอาจารย์รับมอบเสื้อครุยจากสมเด็จพระญาณวโรดม
อุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
ท่านอาจารย์รับประทานปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
สาขาวิชาพุทธศาสตร์ จากสมเด็จพระพุฒาจารย์
ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช
ประธานในพิธี
คำประกาศเกียรติคุณ
นางสาวสุจินต์ บริหารวนเขตต์
ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์
--------------------------------
ด้วยสภามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๕๑ เมื่อวันที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑ ได้พิจารณาเห็นว่า นางสาวสุจินต์ บริหารวนเขตต์ อายุ ๘๑ ปี เป็นผู้มีความรู้ความสามารถกอปรด้วยคุณงามความดี ได้บำเพ็ญคุณูปการแก่พระพุทธศาสนา สังคมและประเทศชาติ ดังนี้
ด้านการศึกษา ได้ร่วมกับผู้มีจิตศรัทธาสร้างอาคารที่ทำการมูลนิธิฯ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ในเนื้อที่จำนวน ๑ ไร่ ด้วยงบประมาณ ๑๒ ล้านบาท เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางในการศึกษาธรรมทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ และวันสำคัญๆ ทางพระพุทธศาสนาและมีผู้บริจาคบ้านและที่ดินที่จังหวัดเชียงใหม่ ในนาม “บ้านธัมมะ” ให้แก่มูลนิธิฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางเผยแผ่พระธรรมทางภาคเหนือ
ด้านการเผยแผ่ศาสนาได้รับเชิญไปบรรยายพระอภิธรรมแก่ชมรมพุทธศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาหลายแห่ง เช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (ประสานมิตร) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในต่างประเทศได้รับเชิญไปร่วมสัมมนาธรรมที่ประเทศศรีลังกา ได้รับเชิญไปเผยแผ่พระธรรมที่ประเทศกัมพูชา ตลอดจนได้จัดตั้งมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ดำเนินการเผยแผ่ พระธรรมตามแนวพระไตรปิฎก โดยนำคำบรรยาย “แนวทางเจริญวิปัสสนา” จำนวน ๒,๐๘๑ ตอน ออกอากาศทางสถานีวิทยุต่างๆ ทั่วภูมิภาค จำนวน ๒๔ สถานี
ผลงานเขียนหนังสือธรรมะ ปรมัตถธรรมสังเขป สนทนาธรรม ตอบปัญหาธรรมพระอภิธรรมในชีวิตประจำวัน (ไทย -อังกฤษ) บุญญกิริยาวัตถุ เมตตา พระพุทธเจ้าเสวยเนื้อหรือไม่ สนทนาธรรมกับชาวกัมพูชา แด่ผู้มีทุกข์ ธรรมเตือนใจแด่คุณประมาท เกิด แก่ เจ็บ ตาย แนวทางเจริญวิปัสสนา ฯลฯ
ผลงานที่ได้รับการยกย่องได้รับโล่พระราชทานผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนา จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ศาสนศาตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย รางวัลสตรีดีเด่นในพระพุทธศาสนา จากองค์การสหประชาชาติ
นับได้ว่า นางสาวสุจินต์ บริหารวนเขตต์ เป็นผู้ที่ได้บำเพ็ญหิตานุหิตประโยชน์แก่การศึกษา พระพุทธศาสนา สังคมและประเทศชาติ เป็นอเนกประการ ควรแก่การยกย่องประกาศเกียรติคุณ สภามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย จึงมีมติมอบปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสตร์ เพื่อประกาศเกียรติคุณให้ปรากฏไพศาลเป็นทิฏฐานุคติแก่อนุชนสืบไป
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๑
สมเด็จพระญาณสังวร
นายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย
หอมดอกไม้ละมุนละไมสายลมอ่อน...ขานคำสอนอ่อนหวานสำราญหู ใสสายน้ำสะอาดเย็นเห็น”ความรู้ ”...ท่านกูรูผู้เบิกบาน อาจารย์สุจินต์
กราบบูชาพระคุณด้วยความเคารพยิ่ง (เรียงร้อยถ้อยคำโดย ใหญ่ราชบุรี-ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี)
ขอกราบบูชาพระคุณท่านอาจารย์ด้วยความเคารพยิ่ง
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ พี่แดงคะ ขออนุญาตเสนอเพิ่มเติมเรื่อง สนทนาภาษาอังกฤษบ่ายวันเสาร์ และที่ มศพ. รับเชิญสนทนาธรรมนอก มศพ.เช่น เวียตนาม เชียงใหม่ ราชบุรี ยโสธร หาดใหญ่ เขาใหญ่ แม่กลอง ฯลฯ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาพระคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างสูง
ขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของ อาจารย์กาญจนา เป็นอย่างยิ่งครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของ อ.กาญจนา เป็นอย่างยิ่ง และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...
จุดเริ่มต้นและความเป็นมาของมูลนิธิฯและประวัติท่านอาจารย์ล่าสุดนี้ ได้รับความร่วมมือจากหลายท่าน ดิฉันเป็นผู้รวบรวมเป็นภาษาไทยท่านจักรกฤษณ์ เจนเจษฎา แปลเป็นภาษาอังกฤษ ท่านอาจารย์ตรวจแก้ไขเอง อาจารย์คำปั่น อักษรวิลัย พิมพ์ใหม่ ส่วนภาษาอังกฤษ หม่อมบงกชปริยา ยุคล สรุปย่อและเรียบเรียงใหม่ คุณเอ็ม วรศักดิ์ พิมพ์ภาษาอังกฤษ ท่านอาจารย์ตรวจแก้อีกครั้งค่ะ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของ อ.กาญจนา เป็นอย่างยิ่ง และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ด้วยค่ะ
ท่านอาจารย์เกิดมาเพื่อบรรยายธรรมให้แก่ท่านผู้ใฝ่ฟังทั้งหลาย ยอมรับว่าเสียง และการสะสมมา ที่จะเป็นผู้อ่านสาส์นของพระราชา สำเร็จผล ท่านนับว่าเป็นบุคคลที่มีค่าสูง รองจากพระรัตนตรัยกราบท่านที่เท้าทุกครั้งที่ฟัง และกราบขอบพระคุณในจิตเมตตาที่อนุเคราะห์เหล่าสัตว์ที่สะสมมาน้อยอย่างดิฉัน กราบอนุโมนาในความดี สาธุค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่แดง อ.กาญจนา เป็นอย่างยิ่ง และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ด้วยค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
ขอบพระคุณ และ ขออนุโมทนาพี่แดง (พลอากาศตรีหญิง กาญจนา เชื้อทอง) อีกครั้งหนึ่งครับ
กราบท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วย ความเคารพอย่างยิ่งค่ะ
ขออนุโมทนาขอบพระคุณ
พลอากาศตรีหญิงกาญจนา เชื้อทองและท่านผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านค่ะ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ และกราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์ที่เคารพยิ่ง
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพอย่างยิ่ง
ทุกๆ ครั้งที่ได้อ่าน ที่ได้ฟังถึงการเสียสละ การทุ่มเทให้กับการเผยแพร่พระธรรม ตลอดชีวิตของท่านอาจารย์สุจินต์...ก็รู้สึกปิติอย่างมากในทุกๆ ครั้ง...แต่เมื่อเวลาผ่านไป
บางครั้งเราก็ลืมไปว่า...จริงๆ แล้ว ท่านได้ทำประโยชน์มากมายขนาดไหนแก่ผู้ที่อบรมศึกษา
ลืมไปว่า...ท่านใช้เวลากี่ปีที่ต้องกล่าวซ้ำๆ ย้ำข้อความเดิมๆ
ลืมไปว่า...ทุกอย่างเป็นธรรม ไม่มีเรา
ลืมไปว่า...ธรรมคือขณะนี้
ลืมไปว่า...ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา
ลืม...ฯลฯ
เพราะลืมจึงต้องฟัง...เพราะไม่รู้จึงต้องฟัง...ขออย่าได้รีบร้อนไปไหนกันเลยค่ะ ฟังธรรมให้เข้าใจทีละคำ จนเป็นปัญญาของตนเอง เมื่อนั้นก็จะไม่ลืม...
เพราะฉะนั้น กระทู้นี้จึงมีความสำคัญอย่างมาก...เพื่อเป็นเครื่องเตื่อนใจให้รู้ว่า ไม่ควรที่จะท้อ ควรที่จะอดทนศึกษาด้วยความเข้าใจจริงๆ ว่า พระธรรมไม่ง่าย..
และมีท่านอาจารย์เป็นตัวอย่างของผู้ไม่ท้อ...ไม่ท้อที่จะให้ความเข้าใจธรรมแก่ผู้ศึกษา ที่หลากหลาย...ที่ดื้อหัวแข็ง...ที่มีครบทั้งตัณหา ทิฎฐิ มานะ
ท่านเป็นผู้ให้เสมอมา ตลอดชีวิตที่ผ่านมา
ดังนั้น...การฟังก็เช่นกัน ...ถ้าเมื่อใดที่ประมาทขาดการฟัง...สภาพลืมคงมาเยือนอย่างถาวร และก่อตัวรวมกันเป็นความไม่รู้ต่อไปๆ ..ทุกภพทุกชาติ..
จึงควรเห็นประโยชน์...ตั้งแต่ขณะนี้ด้วยความเป็นผู้มีปกติ...
โอกาสนี้...จึงขอกราบอนุโมทนาในกุศลวิริยะ
ที่พี่แดง (พลอากาศตรีหญิง กาญจนา เชื้อทอง) ที่ทำให้เกิดโสมนัสยินดีจริงๆ ค่ะ
และขอขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยค่ะ
เพื่อความดำรงค์ยั่งยืนนาน แห่งบวรพระพุทธศาสนา(พระธรรมคำสอนที่แท้) พร้อมทั้งเพื่อประโยชน์ และความสุข(วิมุตติ) แก่ข้าพเจ้าทั้งหลาย จนสิ้นกาลนานเทอญ
อนุโมทนาบุญในกุศลจิต ขอท่านอาจารย์สุจินต์ครับ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอกราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ด้วยค่ะ
กราบเท้าบูชาท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ที่เคารพยิ่ง
และขออนุโมทนาในกุศลจิตกับทุกๆ ท่านค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอกราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านด้วยครับ
ก่อนที่ผมจะได้เข้ามาศึกษาพระธรรม และสนทนาธรรมจาก มศพ. ผมก็มีความเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรม ต้องเข้าวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรม ถือศีล นุ่งขาวห่มขาว นั่งสมาธิ สวดมนต์ ผมก็เคยปฏิบัติเช่นนั้นมาก่อน แต่ผมก็ยังสงสัยว่า คนที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมดังกล่าวนั้น ก็จะตกอบายหรือ เพราะผมเคยสังเกตเห็นและเปรียบเทียบ ระหว่างคนที่ใส่บาตรเป็นประจำทุกวัน เข้าวัดถือศีลทุกวันพระเป็นประจำ มีปัญหาครอบครัวก็เข้าวัดถือศีล นั่งสมาธิ สวดมนต์ กับคนที่ไม่ค่อยได้ใส่บาตร วัดก็ไม่ค่อยได้ไป แต่เขาทำหน้าที่ของเขาได้อย่างดีเยี่ยม ดูแลภรรยาและบุตร เพื่อนร่วมงานอย่างดี สำรวมกาย วาจา ดีมาก ดูแลแม่ป่วยติดเตียงที่บ้านอย่างสมบูรณ์ ตอนนั้นผมก็แยกไม่ออกว่าจะปฏิบัติแบบไหนดี แต่พ่อมาศึกษาพระธรรม สนทนาธรรม จาก มศพ. ผมเริ่มเข้าใจคำว่าปฏิบัติธรรมไปตามลำดับ สติปัญญาทำหน้าที่รู้เองว่า อะไรดี ชั่ว ควรทำ ไม่ควรทำ ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่าน ของ มศพ. ที่เผยแพร่พระธรรมของศาสนาพุทธที่ถูกต้องให้เข้าใจถูก เห็นถูก ปัจจุบันผมใช้ชีวิตเป็นปกติ ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด เลิกความเชื่อที่ปฏิบัติธรรมต้องเข้าวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรมที่ต้องไปสวดมนต์ นุ่งขาวห่มขาว ถือศีล ๘ เดินจงกรม เพราะไม่ทำให้เกิดปัญญาเลย และผมก็จะนำความเห็นถูก ไปเผยแพร่ต่อไปครับ
กราบเท้าบูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
กราบเท้าท่านอาจารย์สุจินต์ด้วยความเคารพยิ่ง กราบอนุโมทนากับท่านอาจารย์ และทุกท่านที่เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้มีการก่อตั้งมูลนิธิฯ ที่ดำเนินการศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา อย่างแท้จริง แจ่มแจ้ง ตรง ที่สุด ที่เป็นสถานที่ที่ผู้สนใจศึกษามีโอกาสศึกษาสอบถามได้อย่างเต็มที่ตลอดเวลา
กราบขอบคุณและอนุโมทนากับพี่แดง (พลอากาศตรีหญิงกาญจนา เชื้อทอง) ท่านอาจารย์วิทยากร และเจ้าหน้าที่ทุกท่านของมูลนิธิค่ะ
ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ที่เคารพยิ่ง
และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
ขอกราบขอบพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ และ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านค่ะ
น้อมกราบคุณพระรัตนตรัย
และพระคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ด้วยความเคารพยิ่ง
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่าน สาธุ สาธุ สาธุ
อ้างอิงจาก ความคิดเห็น 46 โดย แต้ม
ก่อนที่ผมจะได้เข้ามาศึกษาพระธรรม และสนทนาธรรมจาก มศพ. ผมก็มีความเข้าใจว่า การปฏิบัติธรรม ต้องเข้าวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรม ถือศีล นุ่งขาวห่มขาว นั่งสมาธิ สวดมนต์ ผมก็เคยปฏิบัติเช่นนั้นมาก่อน แต่ผมก็ยังสงสัยว่า คนที่ไม่เคยปฏิบัติธรรมดังกล่าวนั้น ก็จะตกอบายหรือ เพราะผมเคยสังเกตเห็นและเปรียบเทียบ ระหว่างคนที่ใส่บาตรเป็นประจำทุกวัน เข้าวัดถือศีลทุกวันพระเป็นประจำ มีปัญหาครอบครัวก็เข้าวัดถือศีล นั่งสมาธิ สวดมนต์ กับคนที่ไม่ค่อยได้ใส่บาตร วัดก็ไม่ค่อยได้ไป แต่เขาทำหน้าที่ของเขาได้อย่างดีเยี่ยม ดูแลภรรยาและบุตร เพื่อนร่วมงานอย่างดี สำรวมกาย วาจา ดีมาก ดูแลแม่ป่วยติดเตียงที่บ้านอย่างสมบูรณ์ ตอนนั้นผมก็แยกไม่ออกว่าจะปฏิบัติแบบไหนดี แต่พ่อมาศึกษาพระธรรม สนทนาธรรม จาก มศพ. ผมเริ่มเข้าใจคำว่าปฏิบัติธรรมไปตามลำดับ สติปัญญาทำหน้าที่รู้เองว่า อะไรดี ชั่ว ควรทำ ไม่ควรทำ ต้องขอขอบพระคุณอาจารย์ทุกท่าน ของ มศพ. ที่เผยแพร่พระธรรมของศาสนาพุทธที่ถูกต้องให้เข้าใจถูก เห็นถูก ปัจจุบันผมใช้ชีวิตเป็นปกติ ทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด เลิกความเชื่อที่ปฏิบัติธรรมต้องเข้าวัด หรือสำนักปฏิบัติธรรมที่ต้องไปสวดมนต์ นุ่งขาวห่มขาว ถือศีล ๘ เดินจงกรม เพราะไม่ทำให้เกิดปัญญาเลย และผมก็จะนำความเห็นถูก ไปเผยแพร่ต่อไปครับ
ขอ อนุโมทนา และขออนุญาติแบ่งปันให้แก่ผู้ที่ไม่เข้าใจ และยังหลงทางอยู่นะคะ กราบ ขอบพระคุณค่ะ🙏