สติแท้-สติเทียม

 
Pure.
วันที่  7 ส.ค. 2557
หมายเลข  25234
อ่าน  1,047

-คนในโลกทุกวันนี้โดยส่วนมากทำงานโดยสัญชาตญาณ โดยขาดสติแท้ๆ หรือไม่?

-ความเคยชินจึงทำให้คนเผลอขาดสติบ่อยๆ ไหม่ครับ?

-อิริยาบถ ๔ หลัก หรือย่อยเป็นการกระทำไปโดยสัญชาตญาณ (สติเทียม) ใช่ไหมครับ?

-พระอริยเจ้าต้องมีสติแท้สมบูรณ์ คือรู้การกระทำทุกๆ อิริยาบถใช่ไหมครับ?

-สติเป็นไปในกายเพื่อความรู้พร้อมอย่างไรครับ?

อนุโมทนาขอบคุณอาจารย์ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 7 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

- คนในโลกทุกวันนี้โดยส่วนมากทำงานโดยสัญชาตญาณ โดยขาดสติแท้ๆ หรือไม่?

สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตประจําวัน ในความเปนจริง ก็เปนเพียง จิต เจตสิก และรูปที่เกิดขึ้นและดับไปแตละขณะ ดังนั้น การทํางาน ก็คือ การทําหนาที่ของ จิต เจตสิกที่เกิดขึ้น เพราะขณะที่ทํางานก็ไมพนจากการเห็น การไดยิน การไดกลิ่น การลิ้มรส การรูกระทบสัมผัสและการคิดนึก ซึ่งที่กลาวมา ก็ไมพนจากจิต เจตสิก ไมพนจากรูป คือตา หู จมูก ลิ้น กาย ดังนั้น ขณะที่ทํางานก็คือ ขณะที่จิต เจตสิกเกิดขึ้นทําหนาที่ขณะที่คิดนึกเรื่องราวของงาน ก็ตองมีจิต เจตสิก ที่เกิดขึ้นอีก เชนกัน ทําหนาที่คิดนึก เปนตน การทํางาน ก็คือ การเกิดขึ้นของสภาพธรรมที่เปนจิต เจตสิกที่มีในชีวิตประจําวัน ไมมีเราทํางานเลย เพราะมีแตธรรม ครับ

เพราะฉะนั้น จึงไม่ใช่ทำงานด้วยสัญชาตญาณ แต่ทำงาน เพราะธรรมทำหน้าที่ทั้งจิตประเภทต่างๆ กุศล อกุศล โลภะ เห็น ได้ยิน คิดนึก เป็นต้น ไม่ใช่สัญชาตญาณ แต่เป็นธรรมทำหน้าที่ทั้งหมด ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

- ความเคยชินจึงทำให้คนเผลอขาดสติบ่อยๆ ไหม่ครับ?

เพราะอกุศลที่สะสมมามาก ทำให้ ไม่มีสติ บ่อยๆ ครับ เพราะ อกุศลเกิดเมื่อไหร่ ไม่มีสติเมื่อนั้น ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

- อิริยาบถ ๔ หลักหรือย่อยเป็นการกระทำไปโดยสัญชาตญาณ (สติเทียม) ใช่ไหมครับ?

อิริยาบถ 4 มีได้ เกิดขึ้น เพราะ อาศัยสภาพธรรมที่มีจริง คือ จิต เจตสิก และ รูป ทำให้เกิดอิริยาบถ ไม่ใช่เพราะ สัญชาตญาณ แต่เพราะ อาศัย จิตที่ต้องการด้วยโลภะ เป็นต้น และอาศัยรูป รูปอื่นๆ ทำให้มีอิริยาบถต่างๆ ซึ่งเกิดจากจิต ที่เป็นกุศล อกุศลก็ได้ ครับ เพราะฉะนั้น อาศัยธรรมทั้งสิ้น ที่ทำให้มีอิริยาบถ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

- พระอริยเจ้าต้องมีสติแท้สมบูรณ์ คือรู้การกระทำทุกๆ อิริยาบถใช่ไหมครับ?

สติ จึงเป็นสภาพธรรมที่ระลึกเป็นไปในกุศลทั้งหลาย และขณะใดที่สติเกิด ขณะนั้น อกุศลไม่เกิด เพราะ กั้นกระแสกิเลสในขณะนั้น สติเป็นธรรมฝ่ายดี เพราะฉะนั้น จะไม่เกิดกับอกุศลจิตเลย ครับ ดังนั้น ในขณะใดที่อกุศลจิตเกิด ก็จะไม่มีสติเกิดร่วมด้วยเลย เราไม่ได้หมายความถึงสติที่เป็นสติปัฏฐานอย่างเดียว ขณะที่จิตเป็นกุศลไม่ว่าประการใดก็ชื่อว่ามีสติเกิดร่วมด้วยและไม่หลงลืม สติในขณะจิตนั้น แต่ไม่จำเป็นว่าจะต้องรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เพราะขณะนั้นไม่มีปัญญา ไม่ว่าบุคคลใดถ้าจิตเป็นกุศลหรือเป็นจิตฝ่ายดี ก็มีสติเกิดร่วมด้วย ซึ่งกุศลทุกระดับมีสติเกิดร่วมด้วย แต่กุศลขั้นทาน ศีล สมถภาวนาไม่ได้รู้ความจริงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา

ตราบใดที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ก็ยังเป็นผู้หลงลืมสติในขณะที่อกุศลจิตเกิด ส่วนพระอรหันต์ไม่หลงลืมสติเพราะอกุศลจิตไม่เกิด ถึงแม้ในขณะเห็น ได้ยิน จะไม่มีสติเกิดร่วมด้วยแต่ก็ไม่ได้หมายความว่าท่านหลงลืมสติเพราะหลังจากเห็นและได้ยินแล้ว ในวาระอื่นๆ ท่านจะไม่เป็นอกุศลจิตเลย จึงชื่อว่าเป็นผู้ไม่หลงลืมสติครับ พระอริยเจ้าที่ไม่ใช่พระอรหันต์ ยังหลงลืมสติได้ ครับ พระอรหันต์ จึงชื่อว่า เป็นผู้มีสติสมบูรณ์ เพราะ ไม่เกิด อกุศลจิตที่ทำให่ หลงลืมสติ และที่สำคัญที่สุด สติจะสมบูรณ์ได้ ก็เมื่อมีธรรมที่อุปการะ สำคัญที่สุด คือ ปัญญา ครับ

* * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * * *

- สติเป็นไปในกายเพื่อความรู้พร้อมอย่างไรครับ?

คือ กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

กายานุปัสสนาสติปัฏฏฐาน เป็นการระลึกรู้ลักษณะสภาพธรรม ที่ปรากฏ ที่กาย หรือ ที่เคยยึดถือว่าเป็นกายของเรา นั่นก็คือ มหาภูตรูป ๔ คือธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ตึง ไหว ซึ่งจะต้องเห็นว่า เป็นเพียงสภาพธรรมที่มีจริง ไม่ใช่กายของเรา เป็นเพียงรูปธรรมที่เกิดขึ้นปรากฏเท่านั้น ควรที่จะได้พิจารณาว่า ทุกคนมีกายแน่นอน แต่ว่าก่อนที่ได้ฟังธรรม เรายึดถือว่า กายเป็นของเรา หรือ เป็นตัวเรา แต่เมื่อได้ฟังพระธรรมแล้วรู้ว่า ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แม้แต่คำว่า ธรรมคำเดียว ก็จะต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่า เมื่อเป็นธรรมแล้วก็ต้องไม่ใช่เรา

ทั้งหมดนั้น ล้วนเป็นธรรมที่มีจริงทั้งสิ้น และประการที่สำคัญ สติปัฏฐานไม่ใช่การคิดนึก แต่เป็นการระลึกรู้ตรงลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริงและก่อนที่จะไปถึงสติปัฏฐานก็ต้องเริ่มที่การสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกในสภาพธรรมที่มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน ครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 7 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

- ปุถุชนผู้หนาแน่นไปด้วยกิเลส สะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ ไม่ว่าจะทำอะไร อยู่ทีไหนก็ตาม จึงมีอกุศลเกิดขึ้นเป็นไปมากในชีวิตประวัน เทียบส่วนไม่ได้เลยกับขณะที่เป็นกุศล ดังนั้น ขณะที่ขาดสติ จึงมีมาก ขณะที่ฟังพระธรรมเข้าใจและเจริญกุศลประการต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ขณะนั้น มีสติเกิดขึ้นระลึกเป็นไปในกุศลประการนั้นๆ ไม่ขาดสติ ในขณะที่จิตเป็นกุศล

- เมื่อได้ฟังพระธรรมศึกษาพระธรรม ก็จะเข้าใจอย่างถูกต้องว่า สติ คือ อะไร เป็นสภาพธรรมที่มีจริง เป็นธรรมฝ่ายดีที่เกิดกับจิตที่ดีงามทุกประเภท จะไม่เกิดร่วมกับอกุศลจิตเลย เพราะมีสภาพธรรมที่ประชุมรวมกันเกิดขึ้นได้จึงมีการสมมติบัญญัติเรียกว่า อิริยาบถ แท้ที่จริงก็เป็นเพียงการทำหน้าที่ของนามธรรม และรูปธรรมที่เป็นจิต เจตสิก และรูป เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย จะกระทำอะไรก็ตาม จะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม ถ้าไม่ได้เป็นไปกับด้วยกุศล ไม่ได้เป็นไปกับด้วยความเข้าใจสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ขณะนั้นไม่มีสติ

- ผู้ที่มีสติสมบูรณ์ คือ พระอรหันต์ พระอรหันต์เป็นผู้ไม่หลงลืมสติ คือ ท่านไม่มีอกุศลจิต ผู้ที่หลงลืมสติคือขณะที่จิตเป็นอกุศล สำหรับพระอรหันต์เป็นผู้ไม่หลงลืมสติ คือ ท่านไม่มีอกุศลจิตใดๆ อีกเลย แต่ไม่ใช่ว่า พระอรหันต์มีสติปัฏฐานเกิดตลอดเวลา ขณะที่ท่านมีจิตมหากิริยาญาณวิปยุต ขณะนั้นก็ไม่มีสติปัฏฐาน และขณะที่ท่านมีอเหตุกจิต เกิดขึ้น คือ เห็น ได้ยิน เป็นต้น ขณะนั้นไม่มีสติเกิดร่วมด้วย แต่ไม่ใช่ว่าท่านหลงลืมสติ เพราะเหตุว่า พระอรหันต์ ไม่มีอกุศลใดเกิดขึ้นอีกแล้ว ดับกิเลสได้อย่างหมดสิ้น ไม่มีเหลือ

- สติปัฏฐานไม่ได้เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่มี ถึง ๔ อย่าง คือ กาย เวทนา จิต ธรรม ซึ่งเป็นธรรมที่มีจริงทั้งหมด เพราะธรรมที่จะเป็นที่ตั้งให้สติเกิดขึ้นระลึก และปัญญารู้ตรงลักษณะนั้น ก็คือสิ่งที่มีจริงที่กำลังมีกำลังปรากฏในขณะนี้ เมื่อกล่าวโดยสรุปแล้ว ไม่พ้นไปจาก นามธรรม และ รูปธรรม ไม่ว่าจะเป็น ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนั้นเป็นทีตั้งของสติ (สติปัฏฐาน) ทั้งสิ้น แล้วแต่ว่าสติจะระลึกและปัญญารู้ลักษณะใด โดยไม่จำกัด และไม่เจาะจง เพราะธรรมเป็นอนัตตาไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ถ้ากล่าวถึง เฉพาะสติที่เป็นไปในกาย ก็ต้องมีลักษณะของรูปปรมัตถ์ อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เคยยึดถือว่า เป็นกายที่กำลังปรากฏ เป็นอารมณ์ของสติและปัญญา สติระลึกและปัญญารู้ตรงลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนั้น ขณะนั้นมีสติ ไม่หลงลืมสติ ครับ.

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 7 ส.ค. 2557

ที่เผลอสติบ่อยๆ เพราะมีโมหะเยอะ ฟุ้งซ่านเยอะ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tanrat
วันที่ 8 ส.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peem
วันที่ 8 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 8 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Pure.
วันที่ 8 ส.ค. 2557

ขอบคุณอาจารย์ และขออนุโมทนาบุญ พอเข้าใจครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ