ไถยจิต

 
water
วันที่  20 ส.ค. 2557
หมายเลข  25350
อ่าน  5,070

กราบนมัสการครับ

1.ไถยจิตคืออะไรครับ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

2.การเอาสิ่งของมาโดยมีความคิดว่าของนั้นน่าจะเป็นของเรา และมีความคิดว่าของนั้นน่าจะเป็นของเขา แต่เอามาเป็นของตัวเองเป็นไถยจิตหรือไม่ครับ เพราะมีความเหมือนกัน แต่เราไม่ได้วางไว้ตรงนั้น


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 20 ส.ค. 2557

กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพ ครับ

1.ไถยจิตคืออะไรครับ มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

» ไถยจิต คือ จิตที่คิดลักขโมย องค์ประกอบ คือ จิต เจตสิกที่เกิดขึ้น ที่เป็นทุจริต คือ เจตสิกที่ไม่ดี คือ โลภเจตสิกที่คิดจะเอาของคนอื่น เป็นของของตน

2.การเอาสิ่งของมาโดยมีความคิดว่าของนั้นน่าจะเป็นของเรา และมีความคิดว่าของนั้นน่าจะเป็นของเขา แต่เอามาเป็นของตัวเองเป็นไถยจิตหรือไม่ครับ เพราะมีความเหมือนกัน แต่เราไม่ได้วางไว้ตรงนั้น

» ก็ต้องพิจารณาจิตในขณะนั้น ว่ามีเจตนาลักหรือไม่ เพียงแค่สงสัย จึงหยิบมา อย่างนี้ ก็ไม่มีเจตนาลัก แต่ถ้าสงสัย และ ก็รู้แล้วแน่นอนว่า เป็นของคนอื่นแน่ และเจตนาที่จะหยิบมาเป็นของๆ ตน ก็เป็นไถยจิต มีเจตนาที่คิดจะลัก มีจิตคิดจะลักขโมย ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
water
วันที่ 20 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
water
วันที่ 20 ส.ค. 2557

จากข้อที่ 2 ที่ท่านบอกว่า ถ้าสงสัยแต่รู้ว่าเป็นของคนอื่นแน่ ทำให้ผมไม่แน่ใจว่ามีเจตนาหรือเปล่าเพราะว่า จุดที่วางของไม่ใช่จุดเดิม ทำให้ผมคิดว่าเป็นของเขา และ ผมก็คิดว่าเขาหยิบผิดไป ทำให้ผมสับสน จนตอนนี้ไม่มีความสุข กลัว ปาราชิกแล้วตกนรกโดยที่ผมไม่ได้ตั้งใจ แล้วจะลาสิกขาตอนออกพรรษา กลัวจะติดตัวไปเพราะมีพระบอกว่ากรรมใดเมื่อทำแล้ว ก็จะติดตามไปกับตัว แม้กระทั่งลาสิกขาไปแล้ว

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
paderm
วันที่ 20 ส.ค. 2557

กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพ ครับ

ขึ้นอยู่กับเจตนาในขณะนั้น แต่หากเพียงสงสัย ย่อมไม่ถึงต้องอาบัติปาราชิก และมูลค่าของ ไม่ถึง 5 มาสก ในราคา เจ็ด แปดร้อยบาท จึงไม่ต้องอาบัติปาราชิกแน่นอนครับ ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 20 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

กราบนมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพ ครับ

ไถยจิต เป็นจิตที่คิดจะลัก ไม่พ้นไปจากอกุศลจิตที่เกิดขึ้นเป็นไปในขณะนั้น เรื่องจิตใจเป็นเรื่องที่ระวังยาก ก็ต้องอาศัยพระธรรมคอยกล่อมเกลาที่จะทำให้มีการน้อมประพฤติในสิ่งที่เหมาะควร ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรทำ แล้วละเว้นในสิ่งที่ไม่ควรทำ เมื่อกล่าวถึงความเป็นบรรพชิตแล้ว จะไม่ถือเอาสิ่งของที่เขาไม่ได้ให้มาเป็นของของตนอย่างเด็ดขาด ก็จะต้องมีความจริงใจที่จะศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาขัดเกลากิเลสของตนเองต่อไป ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
wannee.s
วันที่ 20 ส.ค. 2557

จิตที่คิดละโมบอยากได้ของคนอื่น คือ ไถยจิต ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
water
วันที่ 20 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
peem
วันที่ 22 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
tanrat
วันที่ 22 ส.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ