ผู้ที่-อบรม-เจริญ-สติปัฏฐาน-รู้-อะไร

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  29 ส.ค. 2557
หมายเลข  25421
อ่าน  1,022

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

ขอเชิญรับฟัง...

ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานรู้อะไร

กราบเท้า บูชา พระคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ด้วยความเคารพยิ่ง จาก ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี (ใหญ่ราชบุรี)

โดยมากความต้องการ ผล ทำให้ หา วิธี แต่ นี่เป็น ลักษณะของความต้องการ หรือเปล่าซึ่งก็ เป็นเพราะ “ความต้องการ” จึงไม่ใช่ “การอบรมเจริญปัญญา” ผู้มีปรกติเจริญสติปัฏฐานนั้น อบรมเจริญปัญญา เพื่อรู้แล้วละ แต่เมื่อยังไม่รู้ ก็ไม่ละ

วิธีก็ คือ เริ่มต้นจาก การฟัง แล้วพิจารณาไตร่ตรอง ให้เข้าใจ จนเป็นปัญญาของผู้ฟังเองผู้ที่มีปกติ อบรมเจริญสติปัฏฐาน จึงสามารถที่จะ รู้ได้ ว่า ขณะใด เป็น สติ ..... ขั้นทาน ขั้นศีล ขั้นความสงบ หรือว่า ขั้นสติปัฏฐาน เลือกไม่ได้เลย ที่ “ทาน” จะเกิดขึ้น ... โดยไม่ประกอบด้วยสติปัฏฐาน เพราะเหตุว่า กุศลจิต แต่ละขณะนั้น สั้นมาก เกิดขึ้นแล้วก็ดับไปอย่างรวดเร็ว เป็นทานไปแล้ว แต่ว่า สติ ไม่ได้ ระลึกรู้ว่า แม้ขณะนั้น ก็ไม่ใช่ตัวตน เพราะฉะนั้น ก็ เป็น “ทาน” ซึ่ง ไม่ประกอบด้วยสติปัฏฐาน หรือว่า เป็น “ศีล-การวิรัติทุจริต” โดย ไม่ประกอบด้วยสติปัฏฐาน หรือ บางครั้ง สติก็ระลึกรู้ ในขณะที่กำลังให้ทาน ในขณะที่วิรัติทุจริต เป็นสติปัฏฐาน

เพราะฉะนั้น ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐาน จริงๆ “เห็น” ความเป็นอนัตตา ของสภาพธรรมะทั้งหลาย ว่า เลือกไม่ได้ เจาะจงไม่ได้ บางครั้ง เป็นความสงบ เป็นสมถะ บางครั้งเป็นทาน บางครั้งเป็นศีล บางครั้งเป็นสติปัฏฐาน แล้วแต่ว่า สภาพธรรมะ ที่เกิดขึ้น ในขณะนั้น เป็นอย่างไร ก็ เป็นไป ตามเหตุ ตามปัจจัย ทั้งสิ้น ไม่มีตัวตน ที่สามารถที่จะ ไปบังคับ ไปยับยั้งได้

เพราะฉะนั้น ไม่มุ่งหวัง ฌานจิต ไม่มุ่งหวัง สมถะ หรือ ความสงบ ถึงขั้นอัปปนาสมาธิ หรือ แม้อุปจาระสมาธิ ถ้าเป็น โดยลักษณะนั้น ความสงบ ก็จะเกิด บ่อยๆ เนืองๆ เป็นพื้นฐาน เป็นปัจจัย ถ้ามีปัจจัย ที่จะเกิด อุปจาระสมาธิ เมื่อไหร่ พร้อมเมื่อไหร่ อุปจาระสมาธิ ก็เกิด พร้อมความสงบได้ เพราะฉะนั้น ขอให้ รู้ ลักษณะ ชั่วขณะ ที่สงบ เสียก่อน แล้ว เมื่อ ความสงบ เพิ่มกำลังขึ้น ท่านจะ เข้าใจ ในความหมายของ “ความสงบ ที่ประกอบด้วย สมาธิที่มั่นคง“ ซึ่งผิดกับ ขณะที่ต้องการเหลือเกิน ที่จะจดจ้อง ต้องการเหลือเกิน ที่จะให้ยิ่งกว่านี้อีก ต้องการเหลือเกิน ที่จะให้จดจ้องมากกว่านี้อีก ซึ่งเป็น “ความต้องการ” โดยไม่รู้ สภาพที่ต่างกัน ของ “ขณะจิตที่สงบ” และก็ “ขณะจิตที่สงบ ประกอบด้วย สมาธิที่เพิ่มขึ้น เพราะเหตุปัจจัย” .

ถอดคำบรรยายธรรม โดย ใหญ่ราชบุรี – ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nopwong
วันที่ 31 ส.ค. 2557

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
chatchai.k
วันที่ 8 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ