เรียนถามความหมายของคำว่า มโนมยอัตตา ค่ะ

 
natural
วันที่  30 ส.ค. 2557
หมายเลข  25426
อ่าน  1,524

เรียนถามความหมายของคำว่า มโนมยอัตตา และมีกล่าวในพระไตรปิฎกหรือไม่คะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มโนมยอัตตา ไม่มีในพระไตรปิฎก น่าจะเป็นคำที่คิดขึ้นมาเอง ที่มุ่งหมายถึง อัตตา ความคิดของตนเองที่ปรุงแต่งขึ้น

อัตตา ตามความเห็นของผู้ที่เห็นผิด คือ ตัวเรา ที่เป็น จิต เจตสิกซึ่ง มีความเห็นว่าเที่ยง ยั่งยืน ไม่เกิดดับ แต่ในความเป็นจริง อัตตา คือ จิต เจตสิก เกิดขึ้นและดับไป ไม่เที่ยงเลย

หนทางที่จะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นไปเพื่อขัดเกลาละคลายกิเลส จนกระทั่งดับกิเลสทั้งปวงได้อย่างหมดสิ้น คือ การอบรมเจริญปัญญา อันเป็นหนทางที่พระสัมมาสัมพุทธรรมและพระอริยสาวกทั้งหลายดำเนินมาแล้ว

ถ้าเริ่มต้นด้วยความเข้าใจผิด ด้วยความเป็นตัวตนแล้ว ด้วยความเป็นอัตตา มีแต่จะทำให้เพิ่มพูนความเห็นผิดและความไม่รู้มากยิ่งขึ้น ยากที่จะพ้นไปได้ ทางที่ดีที่สุด คือ เริ่มฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมอบรมเจริญปัญญาตั้งแต่ในขณะนี้ ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย ครับ.

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
natural
วันที่ 30 ส.ค. 2557

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 30 ส.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ล้วนแล้วแต่แสดงถึงความเป็นจริงของสิ่งที่มีจริง ที่เป็นจริงแต่ละหนึ่ง ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ไม่ว่าจะยกธรรมใดขึ้นกล่าว เช่น ความเห็นถูก ความเห็นผิด เป็นต้น ก็เป็นอนัตตา คือ ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน ทั้งหมด

ธรรมเป็นสิ่งที่มีจริง สามารถพิสูจน์ได้ทุกขณะว่าเป็นสิ่งที่มีจริง ไม่ว่าจะได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส คิดนึก ดีใจ เสียใจ ติดข้องยินดีพอใจ หงุดหงิดโกรธขุ่นเคือง ไม่พอใจ เป็นต้น ล้วนเป็นธรรมทั้งหมด, ธรรม ไม่ได้หมายถึงเพียงสภาพธรรมฝ่ายดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่หมายรวมถึงสิ่งที่มีจริงทั้งหมด ชีวิตประจำวันที่ดำเนินไปนั้นไม่พ้นไปจากธรรมเลย เมื่อไม่ได้ศึกษา ย่อมไม่สามารถจะรู้ได้ว่าเป็นธรรม เพราะแท้ที่จริงแล้ว ทุกขณะเป็นธรรม มีจิต (สภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์) เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) และ รูป เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ตลอดเวลา จิต เจตสิก รูปนั้น เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน

ตามความเป็นจริงแล้วเมื่อกล่าวถึงธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงๆ แล้ว ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ไม่ใช่ตัวตน แต่เพราะไม่ได้ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจ ไม่ได้เข้าใจถึงความเป็นจริงของธรรม ก็ยึดถือในสิ่งที่มีจริงเหล่านั้น ว่าเป็นตัวตน เป็นสัตว์ เป็นบุคคล สภาพธรรมที่ยึดถือ นั้น ก็คือ ความเห็นผิด ที่จะไถ่ถอนการยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นตัวตนสัตว์บุคคล ก็ด้วยหนทางเดียวเท่านั้น คือ หนทางแห่งการอบรมเจริญปัญญา ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 30 ส.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nopwong
วันที่ 31 ส.ค. 2557

ขออนุโมทนา

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ