หลุมถ่านเพลิง ที่ไม่มีเปลว

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  4 ก.ย. 2557
หมายเลข  25458
อ่าน  1,276

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

กราบเท้า บูชา พระคุณ ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพยิ่ง

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาสำหรับกุศลทุกประการของทุกๆ ท่านค่ะ

ด้วยความเคารพ จาก ธิดารัตน์ เดื่อมขันมณี (ใหญ่ราชบุรี)

ขอเชิญรับฟัง....

หลุมถ่านเพลิงที่ไม่มีเปลว

บง ท่านอาจารย์สุจินต์ที่เคารพ เกี่ยวกับเรื่องภพทั้ง ๓ ที่มีกามภพ รูปภพ อรูปภพ บอกว่าเกิดที่ไหนๆ เปรียบเสมือนหลุมถ่านเพลิงที่ไม่มีเปลว สำหรับที่ดิฉันพิจารณาดูแล้ว เวลาที่โกรธที่เป็นโทมนัส หรือว่าเวลาที่ทุกข์กาย ดิฉันเห็นด้วยว่า มันเป็นเหมือนหลุมเพลิงที่ไม่มีเปลว แต่เวลาที่สุขกาย หรือโสมนัส จะไม่เคยคิดถึงตรงนี้เลย อย่างไร คะที่จะให้มองเห็น แม้แต่ความสุขมันก็เป็นหลุมถ่านเพลิงแล้ว

ส. ความสุขเที่ยงไหมคะ

บง ไม่เที่ยง

ส. นั่นแหละค่ะหลุมถ่านเพลิง

บง แต่มันกำลังสุข คิดไม่ออกเลย

ส. ไม่เที่ยง ไม่ใช่ให้คิด ให้รู้ความจริง

บง ก็ระลึกไปขณะที่สุขอันนั้น

ส. แต่ยังไม่รู้

บง ไม่ทราบว่าไม่เที่ยง ใช่ไหมคะ ท่านอาจารย์ ถึงได้เพลินไปตอนนั้น แต่ทำไมเวลาที่ทุกข์ รู้

ส. เพราะลักษณะที่เป็นทุกข์ไม่ใช่ลักษณะที่เป็นสุข แต่ทั้งหมดไม่เที่ยง ทุกข์ก็ไม่เที่ยง สุขก็ไม่เที่ยง

บง กราบขอบพระคุณ

อกิศักดิ์ สุขที่คุณบงว่า อยู่กับคุณบงนานไหม

บง มันก็นานเหมือนกัน แต่มันก็มีดับ เดี๋ยวมันก็เกิดขึ้นมาใหม่อีก การเห็นว่าไม่เทียงมันยาก

อกิศักดิ์ เมื่อเห็นว่าไม่เที่ยงนั่นคือทุกข์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 4 ก.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค

บางส่วนจาก....

๓. ปุตตมังสสูตร

[๒๔๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ มโนสัญเจตนาหาร จะพึงเห็นได้อย่างไร เหมือนอย่างว่า มี หลุมถ่านเพลิง อยู่แห่งหนึ่ง ลึกมากกว่าชั่วบุรุษ เต็มไปด้วยถ่านเพลิง ไม่มีเปลว ไม่มีควัน

ครั้งนั้นมี บุรุษคนหนึ่ง อยากมีชีวิตอยู่ ไม่อยากตาย รักสุข เกลียดทุกข์ เดินมา บุรุษสองคน มีกำลัง จับเขา ที่แขนข้างละคน คร่าไปสู่หลุมถ่านเพลิง ทันใดนั้นเอง เขา มีเจตนา ปรารถนา ตั้งใจ อยากจะให้ไกลจาก หลุมถ่านเพลิง ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเขารู้ว่า ถ้าเขา จักตกหลุมถ่านเพลิงนี้ ก็จักต้องตาย หรือ ถึงทุกข์แทบตาย ข้อนี้ ฉันใด เรากล่าวว่า พึงเห็น มโนสัญเจตนาหาร ฉันนั้น เหมือนกัน เมื่อ อริยสาวก กำหนด มโนสัญเจตนาหาร ได้แล้ว ก็เป็นอัน กำหนดรู้ ตัณหาทั้งสาม ได้แล้ว เมื่อ อริยสาวก กำหนดรู้ ตัณหาทั้งสาม ได้แล้ว เรากล่าวว่า ไม่มีสิ่งใด ที่ อริยสาวก พึงทำให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีกแล้ว ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 4 ก.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

บางส่วนจาก ...

อรรถกถาปุตตมังสสูตรที่ ๓

อรรถกถา สังยุตตนิกาย นิทานวรรค อภิสมัยสังยุตต์ มหาวรรคที่ ๗

ปุตตมังสสูตรที่ ๓

ใน อาหารที่ ๓ (มโนสัญเจตนาหาร) มีวินิจฉัย ดังต่อไปนี้

บทว่า องฺคารกาสุ ได้แก่ หลุมถ่านเพลิง.

บทว่า กาสุ ท่านกล่าว หมายความว่า กองบ้าง ว่า หลุมบ้าง ในคำนี้ว่า องฺคารกาสุ ํ อปเร ผุณนฺติ นรา รุทนฺตา ปริทฑฺฒคตฺตาฯ ภยํ หิ มํ วินฺทติ สุต ทิสฺวา ปุจฺฉามิ ตํ มาตลิ เทวสารถี ชนอีกพวกหนึ่ง กระจาย กองถ่านเพลิง นระ ผู้มีร่างกาย เร่าร้อน ร้องไห้อยู่ ภัยมาถึงเรา เพราะสารถี แน่ะเทพสารถีมาตลี เราขอถามท่าน

บทว่า กาสุ ท่านกล่าวหมายความว่า กอง

ในคำนี้ว่า กึนุ สนฺตรมาโนว กาสุ ํ ขณสิ สารถิ แน่ะนายสารถี ท่าน ตัวสั่น ขุดหลุมอยู่ เพราะเหตุไรหนอ ท่านกล่าว หมายความว่า หลุม แม้ในที่นี้ ก็ประสงค์ความว่า หลุมนี้แหละ

บทว่า สาธิกโปริสา ได้แก่ เกินชั่วบุรุษ คือ ประมาณ ๕ ศอก ด้วยบทว่า วีตจฺฉิกานํ วีตธูมานํ นี้ ท่านแสดงว่า หลุมถ่านเพลิงนั้นมีความเร่าร้อนมาก ด้วยว่า เมื่อมีเปลวไฟหรือควัน ความเร่าร้อนก็มาก ลมตั้งขึ้น ความเร่าร้อนย่อมไม่มาก เมื่อมีเปลวไฟหรือควันนั้น แต่ไม่มีลม ความเร่าร้อนย่อมมาก.

บทว่า อารกาวสฺส แปลว่า พึงมีในที่ไกลทีเดียว ในคำว่า เอวเมว โข นี้ มีการเปรียบเทียบ ด้วยอุปมา ดังต่อไปนี้ พึงเห็น วัฏฏะที่เป็นไป ในภูมิ ๓ เหมือน หลุมถ่านเพลิปุถุชน คนโง่ ผู้อาศัยวัฏฏะ เหมือน บุรุษผู้อยากจะเป็นอยู่ กุศลกรรม และ อกุศลกรรม เหมือน บุรุษ ๒ คน ผู้มีกำลัง เวลาที่ ปุถุชน ก่อกรรม ทำเข็ญ เหมือน เวลาที่ บุรุษ ๒ คน จับบุรุษนั้น ที่แขน คนละข้าง ฉุดมายัง หลุมถ่านเพลิง จริงอยู่ กรรม ที่ปุถุชนคนโง่ ก่อกรรมทำเข็ญ ย่อมชักไปหา ปฏิสนธิ วัฏทุกข์ที่มีกรรมเป็นเหตุ พึงทราบ เหมือน ทุกข์ที่มีหลุมถ่านเพลิงเป็นเหตุ

บทว่า ปริญฺญาเต ได้แก่ กำหนดรู้ด้วยปริญญา ๓ ก็การประกอบความเรื่องปริญญาในที่นี้ พึงทราบ ตามนัยที่กล่าวแล้ว ในผัสสะนั่นแล

บทว่า ติสฺโส ตณฺหา ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ตัณหาเหล่านี้ ย่อมเป็นอันกำหนดรู้แล้ว เหมือนกัน เพราะเหตุไร เพราะ มโนสัญเจตนา มีตัณหา เป็นมูล ด้วยว่า เมื่อละเหตุยังไม่ได้ ก็ละผัสสะไม่ได้

ด้วยประการฉะนี้ เป็นอันตรัสเทศนา จนถึงพระอรหัต ด้วยอำนาจมโนสัญเจตนาหาร

จบอาหารที่ ๓ (มโนสัญเจตนาหาร)

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 4 ก.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง

บางส่วนจาก...

อรรถกถา มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ มูลปริยายวรรค

สัมมาทิฏฐิสูตร

ว่าด้วยความเห็นชอบ

เปรียบเทียบ หลุมถ่านเพลิง แต่ในข้อเปรียบเทียบด้วย หลุมถ่านเพลิง พึงทราบอรรถาธิบายดังต่อไปนี้

ภพทั้ง ๓ เหมือนกับ หลุมถ่านเพลิง เพราะอรรถว่า ร้อนระอุมาก มโนสัญเจตนา เหมือนกับ ชายสองคน ต่างพากันจับแขน กระชากลงในหลุมถ่านเพลิงนั้น เพราะอรรถว่า ฉุดกระชาก เข้าไปใน ภพทั้งหลาย

เพราะฉะนั้น ภิกษุใด เห็น มโนสัญเจตนาหาร ว่า เป็นเช่นกับ หลุมถ่านเพลิง อยู่อย่างนี้ภิกษุนั้น จะ ครอบงำ ความใคร่ ใน มโนสัญเจตนาหาร ได้ นี้เป็นการประกอบความในข้อเปรียบเทียบด้วยหลุมถ่านเพลิง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 22 ก.พ. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ