ปรับอาบัติทุกกฏ .
เรียนถาม
คำว่า ปรับอาบัติทุกกฏ แปลว่าอะไรคะ เช่นท่านพระมหากัสสปปรับอาบัติทุกกฏท่านพระอานนท์ เกี่ยวกับการทูลขอพระพุทธเจ้าเพื่อให้พระนางปชาบดีบวช
ขอบพระคุณอย่างสูง
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
อาบัติ คือ การตกไป ตกไปจากความดีนั่นเองเป็นโทษ ที่เกิดเพราะความละเมิดในข้อ (พระวินัยบัญญัติ) ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้าม.
กล่าวโดยชื่อ อาบัติมี ๗ อย่าง คือ
๑ ปาราชิก
๒ สังฆาทิเสส
๓ ถุลลัจจัย
๔ ปาจิตตีย์
๕ ปาฏิเทสนียะ
๖ ทุกกฏ
๗ ทุพภาสิต
กล่าวโดย โทษมี ๓ สถาน คือ
๑. อาบัติอย่างหนัก ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้น ขาดจากความเป็นภิกษุ อันหมายถึง ปาราชิก ซึ่งเป็นอาบัติที่แก้ไขไม่ได้ เรียกว่า อเตกิจฉา
๒. อาบัติอย่างกลาง ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นต้องอยู่กรรม (ปริวาส หรือมานัต) โดยประพฤติวัตรอย่างหนึ่งเพื่อทรมานตน อันหมายถึง สังฆาทิเสส
๓. อาบัติอย่างเบา ทำให้ภิกษุผู้ต้องอาบัตินั้นต้องประจานตนต่อหน้าภิกษุด้วยกัน แล้วจึงจะพ้นโทษนั้นได้ อันได้แก่ ถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และ ทุพภาสิต โดยอาบัติอย่างกลางและอย่างเบานั้น เป็นอาบัติที่ยังแก้ไขได้ เรียกว่าสเตกิจฉา
ความหมายของอาบัติแต่ละอย่าง
(๑) อาบัติปาราชิก ผู้พ่ายแพ้ ขาดจากความเป็นภิกษุ
(๒) อาบัติสังฆาทิเสส ต้องอาศัยสงฆ์ในการออกจากอาบัติ
(๓) อาบัติถุลลัจจัย อาบัติที่เกิดจากการกระทำที่หยาบคาย
(๔) อาบัติปาจิตตีย์ อาบัติที่ทำให้ความดีงามตกไป
(๕) อาบัติปาฏิเทสนียะ อาบัติที่ต้องแสดงคืนกับบุคคลที่ทำให้ต้องอาบัติ
(๖) อาบัติทุกกฏ อาบัติที่เกิดจากการทำที่ไม่ดีไม่เหมาะสม
(๗) อาบัติทุพภาสิต อาบัติที่เกิดจากการพูดไม่ดีไม่เหมาะสม
ส่วนความหมายอาบัติในพระไตรปิฎกโดยละเีอียด
คลิกอ่านที่นี่ครับ
วิเคราะห์ปาราชิก .. ความหมายของอาบัติแต่ละขั้น
ขออนุโมทนา