ทำอย่างไรถึงจะพ้นทุกข์

 
nantiwat
วันที่  19 ต.ค. 2557
หมายเลข  25658
อ่าน  1,100

เมื่อคืนตื่นมาประมาณตี 2.45 น. ล้างหน้าบ้วนปากแล้วนั่งสมาธิ ออกจากสมาธิประมาณตี 4.49 น. ในช่วงที่นั่งสมาธินั้นรู้สึกขนรุกซู่ซ่าไปทั้งตัว รู้สึกว่าตัวพองใหญ่โต อยากรู้ว่าคืออาการอะไร และพอนั่งไปนานๆ ก็รู้สึกปวดขา แต่ไม่ทรมาน ประมาณว่ารู้ว่าเจ็บแต่ไม่เจ็บ แล้วนั่งไปสักก็หายปวดขา อันนี้เค้าเรียกว่าเห็นทุกข์ของร่างกายใช่หรือไม่อย่างไร รบกวนผู้รู้ช่วยแนะนำด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 19 ต.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น


ถ้าไม่รู้จักทุกข์ ก็ไม่สามารถละทุกข์ได้จริงๆ และทุกข์ในพระพุทธศาสนา มีความละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง และรู้ได้ด้วยปัญญาระดับสูง ไม่ใช่เพียงการคิดนึกเท่านั้นจริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าทุกข์นี้มีประการต่างๆ เป็นอเนก คือ
ทุกขทุกข์ (ทุกข์เพราะทนได้ยาก)
วิปริณามทุกข์ (ทุกข์เพราะเปลี่ยนแปลง)
สังขารทุกข์ (ทุกข์ของสังขาร)
ปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์ปกปิด)
อัปปฏิจฉันนทุกข์ (ทุกข์เปิดเผย)
ปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยอ้อม)
นิปปริยายทุกข์ (ทุกข์โดยตรง) .

ทุกขทุกข์ คือ ทุกขเวทนาที่เป็นไปทางกายและจิต ชื่อว่า เพราะเป็นทุกข์ทั้งโดยสภาวะทั้งโดยชื่อ.
วิปริณามทุกข์ คือ สุขเวทนา เพราะเหตุเกิดขึ้นแห่งทุกข์ โดยการเปลี่ยนแปลง.
สังขารทุกข์ คือ อุเบกขาเวทนา และสังขารทั้งหลายที่เหลือเป็นไปในภูมิ ๓ เพราะถูกความเกิดและดับบีบคั้น ก็ความบีบคั้น (ด้วยความเกิดและดับ) ย่อมมีแม้แก่มรรคและผลทั้งหลายเหมือนกัน เพราะฉะนั้น พึงทราบว่าธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า สังขารทุกข์ ด้วยอรรถว่า นับเนื่องด้วยทุกขสัจจะ.
ปฏิจฉันนทุกข์
คือ ป่วยไข้ทางกายและจิตมีปวดหู ปวดฟัน ความเร่าร้อนเกิดแต่ราคะ ความเร่าร้อนเกิดแต่โทสะเป็นต้น เพราะต้องถามจึงรู้และเพราะก้าวเข้าไปแล้วก็ไม่ปรากฏ ท่านเรียกว่า ทุกข์ไม่ปรากฏดังนี้บ้าง
อัปปฏิจฉันนทุกข์ ความป่วยไข้มีการถูกลงกรรมกรณ์ ๓๒ เป็นต้น เป็นสมุฏฐาน ชื่อพราะไม่ถามก็รู้ได้ และเพราะเข้าถึงแล้วก็ปรากฏ
นิปปริยายทุกข์. คือทุกขทุกข์
เว้นทุกขทุกข์ที่เหลือ ชื่อว่า
ปริยายทุกข์
เพราะเป็นวัตถุ (ที่อาศัยเกิด) แห่งทุกข์นั้นๆ . ทุกข์ คือ ความจริงอย่างประเสริฐคือสภาพที่ทนได้ยาก หมายถึง สภาพธรรมที่เกิดดับ และทำให้เวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏฏ์ คือจิต ๘๑ เจตสิก ๕๑ รูป ๒๘ ซึ่งเป็นโลกียธรรมทั้งหมด

ทำไมต้องกำหนดรู้
ทุกขอริยสัจจะ กิจ คือ ควรกำหนดรู้ ที่เรียกว่า ปริญญากิจ ที่ควรกำหนดรู้ เพราะ เราไม่รู้ความจริงว่า ทุกอย่างที่เกิดขึ้น เป็นแต่เพียงธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปที่เป็นทุกข์ เมื่อไม่รู้ว่า เป็นแต่เพียงธรรมที่เกิดขึ้นและดับไปที่เป็นทุกข์ ไม่ใช่เรา จึง เป็นทุกข์ประการต่างๆ เพราะไม่รู้ความจริง และเพราะไม่รู้ความจริงว่าไม่เที่ยง ด้วยปัญญา ก็ย่อมไม่เห็นโลกตามความเป็นจริง หลงยึดติดในสิ่งที่เป็นสมมติ ไม่รู้ความจริงว่ามีแต่ธรรมที่เป็นทุกข์เท่านั้น เมื่อไม่รู้จึงทำบาป เมื่อทำบาปก็ทำให้เกิดในอบายและวนเวียนในสังสารวัฏฏ์ไม่มีที่สิ้นสุด ดังนั้นจึงควรรู้ทุกข์ตามความเป็นจริงด้วยปัญญาคือกำหนดรู้ด้วยปัญญาเพื่อจะได้เห็นทุกข์ตามความเป็นจริง เกิดปัญญาดับกิเลสอันนำ

อย่างไรจึงจะเรียกว่าการกำหนดรู้
เมื่อปัญญาเกิดรู้ความจริงของสภาพธรรมที่กำลังปรากฎที่เป็นทุกข์ รู้ความจริงว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์และเป็นอนัตตา ไม่ใช่เรา นั่นคือ สติปัฏฐานเกิดรู้ความจริงนั่นเองครับ ชื่อว่า กำหนดรู้แล้ว รู้ด้วยปัญญา โดยไม่มีเราที่จะไปกำหนดรู้

กำหนดรู้แล้วได้อะไร
เมื่อปัญญารู้ความจริงของสภาพธรรม สิ่งที่ได้ คือ การรู้จักโลกตามความเป็นจริง สิ่งทีได้ คือ วิชชา ปัญญาเกิด ย่อมละ ความไม่รู้ อวิชชาและกิเลสประการต่างๆ ได้จนดับกิเลสหมด และไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิด อันนำมาซึ่งทุกข์ ครับ
ดังนั้น การรู็ทุกข์ จึงไม่ใช่การไปกำหนดรู้ตอนนั่งสมาธิ คือว่าเจ็บ อย่างนี้ไม่ใช่ปัญญา แต่การกำหนดรู้ทุกข์ คือรู้ด้วยปัญญาในสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ แม้ไม่ทุกข์เลย แต่มีสภาพธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป นั่นแหละทุกข์แล้ว ครับ ขออนุโมทนา

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 19 ต.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ไม่ควรไปทำอะไรด้วยความไม่รู้ ควรอย่างยิ่งที่จะมีการเริ่มสะสมความเข้าใจถูกเห็นถูก จากการได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งการที่จะดำเนินไปถึงซึ่งการดับทุกข์ได้ในที่สุด ขณะที่เข้าใจ ธรรมฝ่ายดี มี สติ ปัญญา เป็นต้น เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ขณะนั้นจะไม่ทุกข์ใจ เพราะขณะนั้นเป็นกุศล ไม่มีทางที่อกุศลจะเกิดขึ้นได้ แต่ถ้าไม่เริ่ม ณ ขณะนี้ ไม่มีทางที่จะพ้นจากทุกข์ไปได้เลยครับ
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ..

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 20 ต.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 20 ต.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ประสาน
วันที่ 22 ต.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ