เป็นผู้ที่พิจารณาข้อความที่ได้ฟังแม้น้อย

 
ธรรมทัศนะ
วันที่  31 ธ.ค. 2549
หมายเลข  2566
อ่าน  2,285

อะไรก็ตามที่จะเตือนให้ได้พิจารณาธรรม เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ แม้ว่าจะเป็นวัน

เดือน ปี ที่ผ่านไป และชาวโลกนิยมนับถือกันว่าปีใหม่และปีเก่าก็ตาม แต่ว่าสำหรับ

ผู้ที่ศึกษาและปฏิบัติธรรมก็ยังอาศัยเหตุนั้นเป็นเครื่องระลึกได้ว่า ได้มีความเข้าใจ

ในสภาพธรรมมากน้อยแค่ไหน เพิ่มขึ้นแล้วมากน้อยแค่ไหน เพราะคำว่า “พหูสูต”

คือ ผู้ที่ฟังพระธรรม แล้วเข้าใจอรรถของพระธรรม ถึงแม้จะเป็นผู้ที่ฟังน้อย เพราะ

คงจะมีส่วนมากทีเดียว ที่ไม่ได้ศึกษาพระไตรปิฎกจบทั้งอรรถกถา ฎีกา แต่เป็นผู้ที่

พิจารณาข้อความที่ได้ฟังแม้น้อย โดยที่ไม่ผ่านไป


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 31 ธ.ค. 2549

ถึงแม้ฟังน้อยแต่พิจารณาธัมมะ และปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมสำคัญที่สุด สุดท้ายก็ไม่พ้นคำถามที่ว่า ศึกษาธัมมะเพื่ออะไร

ยกข้อความในพระไตรปิฎก น่าจะมีประโยชน์ครับ

ข้อความบางตอนจาก คาถาธรรมบท เรื่องพระเอกุทานเถระ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 74

ลักษณะผู้ทรงธรรมและไม่ทรงธรรม

พระศาสดาตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกผู้เรียนมากหรือพูดมากว่า ' เป็นผู้ทรงธรรม ' ส่วนผู้ใดเรียนคาถาแม้คาถาเดียวแล้วแทงตลอดสัจจะทั้งหลาย, ผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม" ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า:- บุคคล ไม่ชื่อว่าทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก; ส่วนบุคคลใด ฟังแม้นิดหน่อย ย่อมเห็นธรรมด้วย นามกาย, บุคคลใด ไม่ประมาทธรรม, บุคคลนั้นแล เป็นผู้ทรงธรรม."

แก้อรรถ บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยาวตา เป็นต้น ความว่า บุคคลไม่ชื่อว่าผู้ทรงธรรม เพราะเหตุที่พูดมาก ด้วยเหตุมีการเรียน และการทรงจำและบอกเป็นต้น. แต่ชื่อว่าตามรักษาวงศ์ รักษาประเพณี. บทว่า อปฺปมฺปิ เป็นต้น ความว่า ส่วนผู้ใดฟังธรรม แม้มีประมาณน้อย อาศัยธรรมะ อาศัยอรรถะ เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมกำหนดรู้สัจจะมีทุกข์เป็นต้น ชื่อว่าย่อมเห็นสัจธรรม ๔ ด้วยนามกาย.ผู้นั้นแล ชื่อว่าเป็นผู้ทรงธรรม. บาทพระคาถาว่า โย ธมฺม นปฺปมชฺชติ ความว่า แม้ผู้ใดเป็นผู้มีความเพียรปรารภแล้ว หวังการแทงตลอดอยู่ว่า " (เราจักแทงตลอด) ในวันนี้ๆ แล" ชื่อว่าย่อมไม่ประมาทธรรม, แม้ผู้นี้ก็ชื่อว่าผู้ทรงธรรมเหมือนกัน. ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.

เรื่องพระเอกุทานเถระ จบ.


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 14

อัปปสุตสูตร

ว่าด้วยบุคคลผู้มีสุตะ ๔ จำพวก

[๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก

บุคคล ๔ คือใคร คือ บุคคลผู้สดับน้อย (เรียนน้อย) ทั้งไม่ได้ประโยชน์

เพราะการสดับ ๑ บุคคลผู้สดับน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะการสดับ ๑บุคคลผู้สดับมาก (เรียนมาก) แต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับ ๑ บุค-คลผู้สดับมาก ทั้งได้ประโยชน์เพราะการสดับ ๑

บุคคลผู้สดับน้อย ทั้งไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับเป็นอย่างไร?

(นวังคสัตถุศาสนา คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ) สุตตะ เคยยะ

เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาตกะ อัพภูตธัมมะ เวทัลละ

บุคคลบางตนในโลกนี้ได้สดับน้อย ทั้งเขาหารู้อรรถ (คือเนื้อความ) รู้ธรรม

(คือบาลี) แห่งคำสอนอันน้อยที่ได้สดับนั้น แล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม

ไม่ บุคคลผู้สดับน้อย ทั้งไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับ เป็นอย่างนี้แล.

บุคคลผู้สดับน้อย แต่ได้ประโยชน์เพราะการสดับเป็นอย่างไร?

(นวังคสัตถุศาสนา คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ) สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ

บุคคลบางตนในโลกนี้ได้สดับน้อย แต่เขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งคำสอนอันน้อย

ที่ได้สดับนั้นแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้สดับน้อย แต่ได้ประ-โยชน์เพราะการสดับ เป็นอย่างนี้แล.

บุคคลผู้สดับมาก แต่ไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับเป็นอย่างไร?

(นวังคสัตถุศาสนา คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ) สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ

บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สดับมาก แต่เขาหารู้อรรถรู้ธรรมแห่งคำสอนเป็นอัน

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 15

มากที่ได้สดับนั้นแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมไม่ บุคคลผู้สดับมาก แต่

ไม่ได้ประโยชน์เพราะการสดับ เป็นอย่างนี้แล

บุคคลผู้สดับมาก ทั้งได้ประโยชน์เพราะการสดับเป็นอย่างไร

(นวังคสัตถุศาสนา คำสอนของพระศาสดามีองค์ ๙ คือ) สุตตะ ฯลฯ เวทัลละ

บุคคลบางคนในโลกนี้ได้สดับมาก ทั้งเขารู้อรรถรู้ธรรมแห่งคำสอนเป็นอันมากที่ได้สดับนั้นแล้ว ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม บุคคลผู้สดับมาก ทั้งได้

ประโยชน์เพราะการสดับ เป็นอย่างนี้แล.

ภิกษุทั้งหลาย นี้แลบุคคล ๔ จำพวกมีปรากฏอยู่ในโลก.

บุคคลใด ถ้าเป็นคนสดับน้อย ทั้งไม่

ตั้งอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อมติเตียน

บุคคลนั้นทั้ง ๒ ทาง คือ ทั้งทางศีล ทั้ง

ทางสดับ.

บุคคลใด ถ้าแม้เป็นคนสดับน้อย

แต่ตั้งมั่นอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อม

สรรเสริญบุคคลนั้นทางศีล แต่การสดับ

ของเขาบกพร่อง.

บุคคลใด ถ้าแม้เป็นคนสดับมาก

แต่ไม่ตั้งมั่นอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลาย ย่อมติเตียนบุคคลนั้นทางศีลแต่การสดับ ของเขาพอการ.

บุคคลใด ถ้าเป็นคนสดับมาก ทั้ง

ตั้งมั่นอยู่ในศีล บัณฑิตทั้งหลายย่อม

สรรเสริญบุคคลนั้นทั้ง ๒ ทางคือทั้งทาง

ศีล ทั้งทางการสดับ.

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้าที่ 16

ใครจะควรติบุคคลผู้ได้สดับมาก

ทั้งเป็นผู้ทรงธรรม ตอบด้วยปัญญา เป็น

สาวกพระพุทธเจ้า ราวกะแต่งทองชมพูนุท

นั้นเล่า แม้เหล่าเทวดาดีย่อมชม ถึงพรหม

สรรเสริญ.

จบอัปปสุตสูตรที่ ๖

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
wannee.s
วันที่ 31 ธ.ค. 2549

ฟังธรรมมีอานิสงส์ 5 ประการ

1. ย่อมได้ฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง

2. ย่อมเข้าใจชัดสิ่งที่ได้ฟังแล้ว

3. ย่อมบรรเทาความสงสัยเสียได้

4. ย่อมทำความเห็นให้ตรง

5. จิตของผู้ฟังย่อมเลื่อมใส

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
medulla
วันที่ 31 ธ.ค. 2549
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Komsan
วันที่ 8 ม.ค. 2550
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pamali
วันที่ 28 ก.ย. 2553

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ