พระโสดาบัน ละ....โดยนัยยะของสังโยชน์

 
peeraphon
วันที่  7 พ.ย. 2557
หมายเลข  25744
อ่าน  1,572

เรียน ท่านอาจารย์ครับ

เมื่อไม่นานมานี้ ได้มีโอกาสฟังธรรมตอนหนึ่งที่มีผู้ถามท่านอาจารย์สุจินต์ เกี่ยวกับการละกิเลสของพระโสดาบัน ด้วยข้อความดังนี้

พระโสดาบันดับ ความเห็นผิด สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาสะ และ ละ อิจสา มัชริยะ "โดยนัยของสังโยชน์"

เข้าใจว่า ระดับขั้นของพระโสดาบัน มีปัญญา ถึงขั้นการดับกิเลสบางประการได้ แต่พึ่งจะเคยได้ยินเรื่องของ นัย ต่างๆ จึงอยากสอบถามท่านอาจารย์ว่า การละกิเลสต่างๆ มีตามนัยใดบ้างครับ?

ขอขอบพระคุณ และ อนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 7 พ.ย. 2557

อกุศลธรรม ๙ กอง เป็นชื่อของอกุศลเจตสิกทั้ง ๑๔ ประเภทที่ทำกิจหน้าที่แตกต่างกัน มีความละเอียดลึกซึ้งแตกต่างกัน และมีอาการที่ปรากฏของอกุศลเหล่านั้นแตกต่างกัน จึงได้ชื่อที่แตกต่างกันไปเป็น ๙ ชื่อ คือ อาสวะ ๔ โอฆะ ๔ โยคะ ๔ คันถะ ๔ อุปาทาน ๔ นิวรณ์ ๖ อนุสัย ๗ สังโยชน์ ๑๐ และกิเลส ๑๐

ซึ่งพระโสดาบันก็ละกิเลส อกุศลธรรมแต่ละกอง ตามแต่ประเภท ของอกุศลธรรม ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 7 พ.ย. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สังโยชน์ เป็นกิเลสอกุศลธรรม ที่ผูกมัดเหล่าสัตว์ไว้ ในสังสารวัฏฏ์ ไม่ให้พ้นไปจากสังสารวัฏฏ์ ตราบใดที่ยังมีกิเลสอยู่ ย่อมไม่พ้นไปจาก การถูกผูกไว้ด้วยกิเลสประการนั้นๆ ไม่ปล่อยให้เป็นกุศล ไม่ปล่อยให้ออกไปจากสังสารวัฏฏ์

ไม่ว่าจะกล่าวถึงสิ่งใด ก็ไม่พ้นไปจากสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้เลย สิ่งที่มีจริงๆ นั่นแหละ คือ ธรรม มีจริง เกิดขึ้นจริง ซึ่งเป็นเครื่องพิสูจน์พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจริง มีจริง นั้น ตรงตามที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงทุกประการ รวมถึงสังโยชน์ และ การดับสังโยชน์ ด้วย

ข้อความจาก พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ หน้าที่ ๓๓๐

... ถามว่า สังโยชน์ ๑๐ นั้นไม่เกิดต่อไป เพราะเหตุใด.

... ตอบว่า ก่อนอื่น สังโยชน์ ๕ คือ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส อิสสา (ริษยา) และ มัจฉริยะ (ความตระหนี่) ไม่เกิดต่อไป ด้วยโสดาปัตติมรรค.

สังโยชน์ ๒ คือ กามราคะ ปฏิฆะ อย่างหยาบไม่เกิดต่อไปด้วยสกทาคามิมรรค.

สังโยชน์ ๒ คือ กามราคะ ปฏิฆะ อย่างละเอียดไม่เกิดต่อไปด้วยอนาคามิมรรค.

สังโยชน์ ๓ คือ มานะ ภวราคะ และ อวิชชา ไม่เกิดต่อไปด้วยอรหัตตมรรค


ประโยชน์ของการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็เพื่อเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง กุศล ก็เป็นธรรม อกุศลก็เป็นธรรม สิ่งที่ไม่ใช่ทั้งกุศล และ ไม่ใช่ทั้งอกุศล ก็เป็นธรรม ไม่ใช่เราเลย เป็นแต่เพียงธรรม ที่เมื่อมีเหตุปัจจัยก็เกิดขึ้น ทำกิจหน้าที่ ไม่มีเราแทรกอยู่ในสภาพธรรมเหล่านั้นเลย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
peeraphon
วันที่ 7 พ.ย. 2557

ขอบพระคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 7 พ.ย. 2557

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ปวีร์
วันที่ 8 พ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 8 พ.ย. 2557

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
สิริพรรณ
วันที่ 8 พ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nopwong
วันที่ 9 พ.ย. 2557

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 9 พ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
tanrat
วันที่ 11 พ.ย. 2557

กราบอนุโมทนาสาธุค่ะท่านอาจารย์

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
sairung
วันที่ 11 พ.ย. 2557

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ประสาน
วันที่ 12 พ.ย. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 29 พ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ