การไม่คบพาลเป็นมงคล

 
เมตตา
วันที่  13 พ.ย. 2557
หมายเลข  25763
อ่าน  894

ข้อความบางตอนจาก

มงคลสูตร

พรรณนาคาถาว่าอเสวนา

พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงสดับคำของเทพบุตรนั้น อย่างนี้แล้ว จึงตรัส

พระคาถาว่า อเสวนา พาลานํเป็นต้น. ในพระคาถานั้น บทว่า

อเสวนา

ได้แก่ การไม่คบ ไม่เข้าไปใกล้.

บทว่า พาลานํ ความว่า ชื่อว่าพาล เพราะเป็นอยู่ หายใจได้

อธิบายว่า เป็นอยู่โดยเพียงหายใจเข้าหายใจออก ไม่เป็นอยู่โดยความเป็นอยู่

ด้วยปัญญา. ซึ่งพาลเหล่านั้น.

บทว่า ปณฺฑิตานํ ความว่า ชื่อว่าบัณฑิต เพราะดำเนินไป อธิบาย

ว่า ดำเนินไปด้วยคติ คือความรู้ในประโยชน์ที่เป็นปัจจุบันและภายภาคหน้า

ซึ่งบัณฑิตเหล่านั้น.

บทว่า เสวนาได้แก่ การคบ การเข้าใกล้ ความมีบัณฑิตนั้น

เป็นสหาย มีบัณฑิตนั้น เป็นเพื่อน ความพรักพร้อมด้วยบัณฑิตนั้น.

บทว่า ปูชาได้แก่ การสักการะ เคารพนับถือ กราบไหว้.

บทว่า ปูชเนยฺยานํแปลว่า ผู้ควรบูชา.

[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 171

บทว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง

ประมวลการไม่คบพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาผู้ที่ควรบูชา ๑ ทั้งหมด

จึงตรัสว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตม. ท่านอธิบายว่า คำใดท่านถามว่า โปรด

ตรัสบอกมงคลอันอุดมเถิด ท่านจงถือคำนั้นว่า มงคลอันอุดม ในข้อนั้นก่อน

นี้เป็นการพรรณนาบทแห่งคาถานี้.

ส่วนการพรรณนาความแห่งบทนั้น พึงทราบดังนี้ พระผู้มีพระภาค

เจ้า ทรงสดับคำของเทพบุตรนั้นอย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า

อเสวนา พาลานํ เป็นต้น.

ในคาถานั้น คาถามีคือ ปุจฉิตคาถาอปุจฉิตคาถาสานุ-

สันธิกคาถาอนนุสันธิกคาถา.

บรรดาคาถาทั้ง ๔ นั้น คาถาที่ทรงถูกผู้ถามถามแล้ว จึงตรัสชื่อว่า

ปุจฉิตคาถาได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ปุจฺฉามิตํโคตมภูริปญฺญ

กถํกโรสาวโกสาธุโหติท่านพระโคดม ผู้มีปัญญากว้างขวางดังแผ่นดิน

ข้าพเจ้าขอถามท่าน สาวกทำอย่างไรจึงเป็นคนดี และประโยคว่า กถํนุตฺวํ

มาริสโอฆมตริท่านผู้นิรทุกข์ ท่านข้ามโอฆะอย่างไรเล่าหนอ.

คาถาที่พระองค์ไม่ได้ถูกถามแต่ตรัสโดยพระอัธยาศัยของพระองค์เอง

ชื่อว่า อปุจฉิตคาถาได้ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า ยํปเรสุขโตอาหุ

ตทริยาอาหุทุกฺขโตคนอื่นๆ กล่าวสิ่งใดว่าเป็นสุข พระอริยะทั้งหลาย

กล่าวสิ่งนั้นว่าเป็นทุกข์. คาถาของพระพุทธะทั้งหลายแม้ทั้งหมด ชื่อว่า

สานุสันธิกคาถาเพราะบาลีว่า สนิทานาหํภิกฺขเวธมฺมํเทเสสฺสามิ

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมมีนี้ท่านคือเหตุ ดังนี้. ที่ชื่อว่าอนสุ-

สินธิคาถาคาถาไม่มีเหตุ ไม่มีในศาสนานี้ ก็บรรดาคาถาเหล่านี้ดังกล่าวมา

นี้ คาถามีชื่อว่า ปุจฉุตคาถาเพราะเป็นคาถาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าถูก

เทพบุตรทูลถามแล้วจึงตรัสตอบ. ก็คาถานี้ บอกคนที่ไม่ควรคบ ในคนที่

ควรคบและไม่ควรคบ แล้วจึงบอกคนที่ควรคบ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ฉลาด

รู้จักทาง รู้จักทั้งที่มิใช่ทาง ถูกถามถึงทาง จึงบอกทางที่ควรละเว้นเสียก่อน

แล้ว ภายหลังจึงบอกทางที่ควรยึดถือไว้ว่า ในที่ตรงโน้นมีทางสองแพร่ง.

ในทางสองแพร่งนั้น พวกท่านจงละเว้นทางซ้ายเสียแล้ว ยึดถือเอาทางขวา

ฉะนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเสมือนบุรุษผู้ฉลาดในทางอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนติสสะคำว่าบุรุษผู้ฉลาดในทางนี้เป็นชื่อ

ของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. จริงอยู่ตถาคต

อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นฉลาดรู้โลกนี้ฉลาดรู้

โลกอื่นฉลาดรู้ถิ่นมัจจุฉลาดรู้ทั้งมิใช่ถิ่นมัจจุฉลาด

รู้บ่วงมารฉลาดรู้ทั้งมิใช่บ่วงมาร.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 13 พ.ย. 2557

เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสบอกถึงบุคคลที่ไม่ควรคบ

ก่อน จึงตรัสว่า การไม่คบพาล การคบบัณฑิต ความจริงคนพาลทั้งหลาย

ไม่ควรคบ ไม่ควรเข้าใกล้เหมือนทางที่ควรละเว้น แต่นั้น ก็ควรคบ ควร

เข้าใกล้แต่บัณฑิตเหมือนทางที่ควรยึดถือไว้. ผู้ทักท้วงกล่าวว่า ก็เพราะเหตุไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อตรัสมงคล จึงตรัสการไม่คบพาลและการคบบัณฑิตก่อน

ขอชี้แจงดังนี้ เพราะเหตุที่พวกเทวดาและมนุษย์ยึดความเห็นว่ามงคลในสิ่งที่

เห็นแล้วเป็นต้นนี้ ด้วยการคบพาล ทั้งการคบพาลนั้น ก็ไม่เป็นมงคล ฉะนั้น

พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงติเตียนการสมคบกับคนที่มิใช่กัลยาณมิตร ซึ่งหัก

รานประโยชน์ทั้งโลกนี้และโลกหน้าและทรงสรรเสริญการสมาคมกับกัลยาณมิตร

ซึ่งให้สำเร็จประโยชน์ในโลกทั้งสอง จึงตรัสการไม่คบพาลและการคบบัณฑิต

ก่อน แก่เทวดาและมนุษย์เหล่านั้น.

สัตว์ทั้งหลายทุกประเภท ผู้ประกอบด้วยอกุศลกรรมบถมีปาณาติบาต

เป็นต้น ชื่อว่า พาลในจำนวนพาลและบัณฑิตนั้น. พาลเหล่านั้น จะรู้

ได้ก็ด้วยอาการทั้งสาม เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้. พระสูตรว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พาลลักษณะของพาล ๓ เหล่านี้. อนึ่ง ครูทั้ง ๖ มี

ปูรณกัสสปเป็นต้น และสัตว์อื่นๆ เห็นปานนั้นเหล่านั้น คือ เทวทัตโกกาลิกะ

กฏโมทกะติสสขัณฑาเทวีบุตรสมุทททัตตะนางจิญจมาณวิกา

เป็นต้น และพี่ชายของทีฆวิทะครั้งอดีตพึงทราบว่า พาล.

พาลเหล่านั้น ย่อมยังตนเองและเหล่าคนที่ทำตามคำของตนให้พินาศ

ด้วยทิฏฐิคตะความเห็นที่คนถือไว้ไม่ดี ดังเรือนที่ถูกไฟไหม้ เหมือนพี่ชาย

ของทีฆวิทะ ล้มลงนอนหงาย ด้วยอัตภาพประมาณ ๖๐ โยชน์ หมกไหม้อยู่

ในมหานรก อยู่ถึง พุทธันดร และเหมือนตระกูล ๕๐๐ ตระกูล ที่ชอบ

ใจทิฏฐิความเห็นของพี่ชายของทีฆวิทะนั้น เข้าอยู่ร่วมเป็นสหายของพี่ชายของ

ทีฆวิทะนั่นแหละ หมกไหม้อยู่ในมหานรกฉะนั้น. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาค

เจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไฟลามจากเรือนไม้อ้อหรือเรือนหน้า

ย่อมไหม้แม้เรือนยอดซึ่งฉาบไว้ทั้ง ข้างนอก ข้างใน

กันลมได้ลงกลอนสนิทปิดหน้าต่างไว้

เปรียบฉันใดดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภัยทุกชนิดย่อมเกิดเปรียบฉันนั้น

เหมือนกันภัยเหล่านั้นทั้งหมดเกิดจากพาล ไม่เกิดจากบัณฑิต.

อุปัทวะทุกอย่างย่อมเกิดฯลฯ

อุปสรรคทุกอย่างย่อมเกิดฯลฯ ไม่เกิดจากบัณฑิต.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายดังนั้นแลพาลเป็นภัย

บัณฑิตไม่เป็นภัย พาลอุบาทว์บัณฑิตไม่อุบาทว์

พาลเป็นอุปสรรค บัณฑิตไม่เป็นอุปสรรคดังนี้.

อนึ่ง พาลเสมือนปลาเน่า ผู้คบพาลนั้น ก็เสมือนห่อด้วยใบไม้ที่ห่อ

ปลาเน่า ย่อมประสบภาวะที่วิญญูชนทอดทิ้ง และรังเกียจ. สมจริงดังที่พระผู้มี

พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ปูติมจฺฉํกุสคฺเคนโยนโรอุปนยฺติ

กุสาปิปูตีวายนฺติเอวํพาลูปเสวนา.

นรชนผู้ใดผูกปลาเน่าด้วยปลายหญ้าคาแม้หญ้าคา

ของของนรชนผู้นั้นก็มีกลิ่นเน่าฟุ้งไปด้วย

การคบพาลก็เป็นอย่างนั้น.

อนึ่งเล่า เมื่อท้าวสักกะจอมทวยเทพประทานพร แก่กิตติบัณฑิต ก็

กล่าวอย่างนี้ว่า

พาลํปสฺเสสุเณพาเลนสํวเส

พาเลนลฺลาปสลฺลาปํกเรโรจเย.

ไม่ควรพบพาลไม่ควรพึงไม่ควรอยู่ร่วมกับพาล

ไม่พึงทำการเจรจาปราศรัยกับพาลและไม่ควรชอบใจ.

ท้าวสักกะ ตรัสถามว่า

กินฺนุเตอกรํพาโลวทกสฺสปการณํ

เกนกสฺสปพาลสฺสทสฺสนํนาภิกงฺขสิ.

ท่านกัสสปะทำไมหนอพาลจึงไม่เชื่อท่าน

โปรดบอกเหตุมาสิเพราะเหตุไรท่านจึงไม่อยากเห็น

พาลนะท่านกัสสปะ.

อกัตติบัณฑิตตอบ

อนยํนยติทุมฺเมโธอธุรายํนิยุญฺชติ

ทุนฺนโยเสยฺยโสโหติสมฺมาวุตฺโตปกุปฺปติ

วินยํโสชานาติสาธุตสฺสอทสฺสนํ.

คนปัญญาทรามย่อมแนะนำข้อที่ไม่ควรแนะนำ

ย่อมประกอบคนไว้ในกิจที่มิใช่ธุระ

การแนะนำเขาก็แสนยาก

เพราะเขาถูกว่ากล่าวโดยดีก็โกรธ

พาลนั้นไม่รู้จักวินัย การไม่เห็นเขาเสียได้ก็เป็นการดี.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงติเตียนการคบพาลโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้

จึงตรัสว่าการไม่คบพาลเป็นมงคล

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ