ขุมทรัพย์โดยปรมัตถ์ [นิธิกัณฑสูตร]

 
เมตตา
วันที่  13 พ.ย. 2557
หมายเลข  25765
อ่าน  754

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑- หน้าที่ 311

พรรณนาคาถาที่

พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นตรัสถึงขุมทรัพย์ ที่แม้บุคคลฝังไว้แล้วด้วย

ความประสงค์นั้นๆ แต่ก็ไม่สำเร็จประโยชน์ตามที่ประสงค์ ถึงโลกสมมตก็ต้อง

มีอันพินาศไปเป็นธรรมดา บัดนี้เพื่อทรงแสดงบุญสัมปทาเท่านั้นว่า เป็นขุม

ทรัพย์โดยปรมัตถ์ เมื่อทรงแสดงนิธิกัณฑสูตรนี้ ที่ทรงเริ่มเพื่ออนุโมทนาแก่

กุฎุมพีนั้น จึงตรัสว่า

ขุมพรัพย์ของใดจะเป็นสตรีก็ตามบุรุษก็ตาม

ชื่อว่าฝังไว้ดีแล้วก็ด้วย

ทาน ศีล สัญญมะ และ ทมะ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทานํพึงถือเอาตามนัยที่กล่าวไว้แล้วใน

มงคลข้อที่ว่า ทานญฺจธมฺมจริยานั้น. บทว่า

สีลํ ได้แก่ การไม่ล่วงละเมิดทางกายและวาจา คือ

ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ และปาฏิโมกข์สังวรศีลเป็นต้น.

ศีลทุกอย่างท่านประสงค์ว่าศีลในที่นี้.

บทว่า สัญฺญโมได้แก่

ความสำรวม ท่านอธิบายว่า การห้ามใจไปในอารมณ์ต่างๆ

คำนี้ เป็นชื่อของสมาธิ ที่บุคคลประกอบแล้ว ท่านเรียกว่าผู้สำรวมสูงสุด ในบาลีนี้ว่า

หตฺถสญฺญโตปาทสญฺญโตวาจาสญฺญโตสญฺญตุตฺตโม

ผู้สำรวมมือ สำรวมเท้า สำรวมวาจา ชื่อว่าผู้สำรวมสูงสุด.

อาจารย์อีกพวกกล่าวว่าความสำรวม

ท่านอธิบายว่า ความระวัง ความสังวร คำนี้

เป็นชื่อของอินทรีย์สังวร.

ความฝึกฝนชื่อว่า ทมะ ท่านอธิบายว่า การระงับกิเลส คำนี้

เป็นชื่อของปัญญา.

จริงอยู่ปัญญาในบาลีบางแห่งเรียกว่า ปัญญา ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า

สุสฺสูสํลภเตปญฺญํ

ผู้ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา

บางแห่งท่านเรียกว่า ธรรมะ

ในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า

สจฺจํธมฺโมธิติจาโค สัจจะ ธรรมะ ธิติ จาคะ

บางแห่งท่านเรียกว่า ทมะในประโยคเป็นต้นอย่างนี้ว่า

ยทิสจฺจา ทมา จาคา ขนฺตยา ภิยฺโยวิชฺชติผิ ว่า

ธรรมยิ่งกว่า สัจจะ ทมะ จาคะ ขันติ ไม่มีไซร้.

บัณฑิตรู้จักทานเป็นต้น อย่างนี้แล้ว พึงประมวลมาทราบความแห่งคาถานี้

อย่างนี้ว่า ขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยบุญของผู้ใด เป็นสตรีก็ตาม บุรุษก็ตาม

เขาจะเอาธรรมะ ๔ เหล่านี้คือ ทาน ศีล สัญญมะ ทมะ ที่ฝังไว้ดีแล้ว

ด้วยการทำธรรมทั้ง ๔ มี ทานเป็นต้น เหล่านั้นไว้ด้วยดี ในจิตสันดานเดียว

หรือในวัตถุมีเจดีย์เป็นต้น เหมือนขุมทรัพย์ที่สำเร็จด้วยธนชาต เขาก็เอาเงิน

ทอง มุกดา มณี ฝังไว้ ด้วยการใส่เงินทองเป็นต้นเหล่านั้น ลงในเดียวกันฉะนั้น


เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ