การไม่คบคนพาล การคบบัณฑิต

 
เมตตา
วันที่  20 พ.ย. 2557
หมายเลข  25805
อ่าน  1,135

[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 170

เทวดาและมนุษย์เป็นอันมากปรารถนาความสวัสดี จึงพากันคิดมงคลทั้งหลาย ขอพระองค์โปรดตรัสบอกมงคลด้วยเถิดพระเจ้าข้า.

พรรณนาคาถาว่า อเสวนาพระคาถาว่า อเสวนาพาลานํ เป็นต้น. ในพระคาถานั้น บทว่า อเสวนา ได้แก่ การไม่คบ ไม่เข้าไปใกล้.

บทว่า พาลานํความว่า ชื่อว่าพาล เพราะเป็นอยู่ หายใจได้

อธิบายว่า เป็นอยู่โดยเพียงหายใจเข้าหายใจออก ไม่เป็นอยู่โดยความเป็นอยู่ด้วยปัญญา. ซึ่งพาลเหล่านั้น.

บทว่า ปณฺฑิตานํความว่า ชื่อว่าบัณฑิต เพราะดำเนินไป อธิบายว่า ดำเนินไปด้วยคติ คือความรู้ในประโยชน์ที่เป็นปัจจุบันและภายภาคหน้าซึ่งบัณฑิตเหล่านั้น.

บทว่า เสวนา ได้แก่ การคบ การเข้าใกล้ ความมีบัณฑิตนั้นเป็นสหาย มีบัณฑิตนั้น เป็นเพื่อน ความพรักพร้อมด้วยบัณฑิตนั้น.

บทว่า ปูชา ได้แก่ การสักการะ เคารพนับถือ กราบไหว้.

บทว่า ปูชเนยฺยานํ แปลว่า ผู้ควรบูชา.

บทว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตมํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประมวลการไม่คบพาล ๑ การคบบัณฑิต ๑ การบูชาผู้ที่ควรบูชา ๑ ทั้งหมด จึงตรัสว่า เอตมฺมงฺคลมุตฺตม. ท่านอธิบายว่า คำใดท่านถามว่า โปรดตรัสบอกมงคลอันอุดมเถิด ท่านจงถือคำนั้นว่า มงคลอันอุดมในข้อนั้นก่อนนี้เป็นการพรรณนาบทแห่งคาถานี้. ส่วนการพรรณนาความแห่งบทนั้น พึงทราบดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับคำของเทพบุตรนั้นอย่างนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า อเสวนา จ พาลานํ เป็นต้น. ฉะนั้น. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นเสมือนบุรุษผู้ฉลาดในทางอย่างที่ตรัสไว้ว่า

ดูก่อนติสสะคำว่าบุรุษผู้ฉลาดในทางนี้เป็นชื่อของตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. จริงอยู่ตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้นฉลาดรู้โลกนี้ฉลาดรู้โลกอื่นฉลาดรู้ถิ่นมัจจุฉลาดรู้ทั้งมิใช่ถิ่นมัจจุ ฉลาดรู้บ่วงมารฉลาดรู้ทั้งมิใช่บ่วงมาร. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ดังนี้ว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลายไฟลามจากเรือนไม้อ้อหรือเรือนหน้าย่อมไหม้แม้เรือนยอดซึ่งฉาบไว้ทั้งข้างนอกข้างในกันลมได้ ลงกลอนสนิทปิดหน้าต่างไว้ เปรียบฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายภัยทุกชนิด ย่อมเกิดเปรียบฉันนั้นเหมือนกัน ภัยเหล่านั้นทั้งหมดเกิดจากพาลไม่เกิดจากบัณฑิต อุปัทวะทุกอย่างย่อมเกิด ฯลฯ อุปสรรคทุกอย่างย่อมเกิด ฯลฯ ไม่เกิดจากบัณฑิต

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ดังนั้นแล พาลเป็นภัย บัณฑิตไม่เป็นภัย พาลอุบาทว์ บัณฑิตไม่อุบาทว์ พาลเป็นอุปสรรค บัณฑิตไม่เป็นอุปสรรค ดังนี้. สมจริงดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

นรชนผู้ใดผูกปลาเน่าด้วยปลายหญ้าคาแม้หญ้าคาของนรชนผู้นั้นก็มีกลิ่นเน่าฟุ้งไปด้วย การคบพาลก็เป็นอย่างนั้น. ไม่ควรพบพาล ไม่ควรพึง ไม่ควรอยู่ร่วมกับพาล ไม่พึงทำการเจรจาปราศรัยกับพาล และไม่ควรชอบใจ

ท้าวสักกะ ตรัสถามว่า ท่านกัสสปะทำไมหนอพาลจึงไม่เชื่อท่าน โปรดบอกเหตุมาสิเพราะเหตุไรท่านจึงไม่อยากเห็นพาลนะท่านกัสสปะ

อกิตติบัณฑิตตอบ คนปัญญาทรามย่อมแนะนำข้อที่ไม่ควรแนะนำ ย่อมประกอบคนไว้ในกิจที่มิใช่ธุระ การแนะนำเขาก็แสนยากเพราะเขาถูกว่ากล่าวโดยดี ก็โกรธ พาลนั้นไม่รู้จักวินัย การไม่เห็นเขาเสียได้ก็เป็นการดี

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงติเตียนการคบพาลโดยอาการทั้งปวงอย่างนี้ จึงตรัสว่าการไม่คบพาลเป็นมงคล บัดนี้เมื่อทรงสรรเสริญการคบบัณฑิต จึงตรัสว่า การคบบัณฑิตเป็นมงคล

สัตว์ทุกประเภทผู้ประกอบด้วย กุศลกรรมบถ ๑๐ มีเจตนางดเว้นปาณาติบาต เป็นต้นชื่อว่าบัณฑิตในจำพวกพาลและบัณฑิตนั้น. นรชนผู้ใดห่อกฤษณาไว้ด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของนรชนผู้นั้นก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง การคบบัณฑิตก็เหมือนอย่างนั้น

อนึ่งเล่า เมื่อท้าวสักกะจอมทวยเทพประทานพรแก่อกิตติบัณฑิตก็กล่าวว่า ควรคบบัณฑิตควรฟังบัณฑิตควรอยู่ร่วมกับบัณฑิต ควรทำการเสวนาปราศรัยกับบัณฑิต และควรชอบใจบัณฑิตนั้น

ท้าวสักกะจอมทวยเทพตรัสถามว่า ท่านกัสสปะทำไมหนอบัณฑิตจึงไม่ทำต่อท่านโปรดบอกเหตุมาสิเพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยากพบบัณฑิตนะท่านกัสสปะ อกิตติบัณฑิตตอบว่า บัณฑิตย่อมแนะนำเรื่องที่ควรแนะนำ ไม่จูงคนไปในกิจมิใช่ธุระแนะนำเขาก็ง่ายดีเพราะเขาถูกว่ากล่าวโดยดี ก็ไม่ โกรธบัณฑิตนั้นรู้วินัย สมาคมกับบัณฑิตนั้นได้เป็นการดี

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงสรรเสริญการคบบัณฑิต โดยธรรมทั้งปวงอย่างนี้ จึงตรัสว่า การคบบัณฑิตเป็นมงคล บัดนี้ เมื่อจะทรงสรรเสริญการบูชาบุคคลผู้เข้าถึงความเป็นผู้ควรบูชาโดยลำดับ ด้วยการไม่คบพาลและการคบบัณฑิตนั้น จึงตรัสว่า ปูชาปูชเนยฺยานํมงคลํ การบูชาผู้ที่ควรบูชาเป็นมงคล การบูชาปูชเนยยบุคคลเหล่านั้น แม้เล็กน้อยก็เป็นประโยชน์สุขตลอดกาลยาวนาน


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 14 ก.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 7 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ