ว่าด้วยมารยาและมานะ
[เล่มที่ 65] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 437
ว่าด้วยมารยาและมานะ
[๑๐๒] คำว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว มีความว่า ความประพฤติลวง เรียกว่า มารยา. บุคคลบางคนในโลก นี้ประพฤติทุจริตด้วยกาย ประพฤติทุจริตด้วยวาจา ประพฤติทุจริตด้วยใจ แล้ว ย่อมตั้งความปรารถนาอันลามก เพราะเหตุจะปกปิดทุจริตนั้น คือ ย่อมปรารถนาว่า ใครๆ อย่ารู้เรา ดำริว่า ใครๆ อย่ารู้เรา กล่าววาจาว่า ใครๆ อย่ารู้เรา ย่อมพยายามด้วยกายว่า ใครๆ อย่ารู้เรา ความลวง ความเป็นผู้มีความลวง ความไม่นึกถึง ความอำพราง ความปลอม ความปิดบัง ความหลีกเลี่ยง ความซ่อน ความซ่อนเร้น ความปิด ความปกปิด ความไม่ทำให้ตื่น ความไม่เปิดเผย ความปิดด้วยดี ความการทำชั่ว เห็นปานนี้ นี้เรียกว่า ความลวง
คำว่ มานะ ได้แก่ ความถือตัวอย่าง คือ ความที่จิตใฝ่สูง
ความถือตัว ๒ อย่าง คือ ความยกตน, ความข่มผู้อื่น.
ความถือตัว ๓ อย่างคือ ความถือตัวว่า เราดีกว่าเขา, เราเสมอเขา, เราเลวกว่าเขา.
ความถือตัว ๔ อย่าง คือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิดเพราะลาภ. ยังความถือตัวให้เกิดเพราะยศ, ยังความถือตัวให้เกิดเพราะความสรรเสริญ ยังความถือตัวให้เกิดเพราะความสุข.
ความถือตัว ๕ อย่าง คือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้รูปที่ชอบใจ ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้เสียงที่ชอบใจ, ยังความถือตัว ให้เกิดว่า เราได้กลิ่นที่ชอบใจ ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้รสที่ชอบใจ, ยังความถือตัวให้เกิดว่า เราได้โผฏฐัพพะที่ชอบใจ.
ความถือตัว ๖ อย่าง คือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิด ด้วยความถึงพร้อมแห่งตา ความถึงพร้อมแห่งหู ด้วยความถึงพร้อมแห่งจมูก ความถึงพร้อมแห่งลิ้น ความถึงพร้อมแห่งกาย บุคคลยังความถือตัวให้เถิดด้วยความถึงพร้อมแห่งใจ
ความถือตัว ๗ อย่าง คือ ความถือตัว ความถือตัวจัด ความถือตัวและความถือตัวจัด ความถือตัวเลว ความถือตัวยิ่ง ความถือตัวว่าเรามั่งมี, ความถือตัวผิด
ความถือตัว ๘ อย่าง คือ บุคคลยังความถือตัวให้เกิดเพราะลาภ. ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะความเสื่อมลาภ, ยังความถือตัวให้เกิดเพราะยศ, ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะความเสื่อมยศ ยังความถือตัวให้เกิดเพราะสรรเสริญ ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะนินทา ยังความถือตัวให้เกิดเพราะสุข, ยังความถือตัวเลวให้เกิดเพราะทุกข์.
ความถือตัว ๙ อย่าง คือ ความถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนอื่น ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เสมอกับคนดี, ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เลวกว่าคนดี, ความถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนชั้นเดียวกัน, ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เสมอ กับคนชั้นเดียวกัน, ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เลวกว่าคนชั้นเดียวกัน. ความถือตัวว่าเราเป็นผู้ดีกว่าคนเลว, ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เสมอกับคนเลว, ความถือตัวว่าเราเป็นผู้เลวกว่าคนเลว.
ความถือตัว ๑๐ อย่าง คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ ยังความถือตัวให้เกิด เพราะชาติ ๑ เพราะโคตร ๑ เพราะความเป็นบุตรแห่งสกุล ๑ เพราะความเป็นผู้มีรูป ๑ เพราะทรัพย์ ๑ เพราะการเรียน ๑ เพราะหน้าที่การงาน ๑ เพราะขอบเขตศิลปะ ๑ เพราะวิทยฐานะ ๑ เพราะสุตะ ๑ เพราะปฏิภาณ ๑ เพราะวัตถุอย่างใดอย่างหนึ่ง ๑
ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว ความที่จิตถือตัว ความใฝ่สูง ความฟูขึ้น ความทนงตัวความยกตัว ความที่จิตใคร่สูง ดุจ ธง นี้เรียกว่า ความถือตัว.
คำว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว คือบุคคลผู้มีปัญญา ละ เว้น บรรเทา ทำให้หมด ทำให้ไม่มี ซึ่งมารยาและมานะ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว
ว่าด้วยกิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่าง
[๑๐๓] คำว่า บุคคลผู้มีปัญญานั้นเป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่อง เข้าถึงจะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่ามีความว่า กิเลสเครื่องเข้าถึง ได้แก่ กิเลสเครื่องเข้าถึง ๒ อย่างคือ กิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา ๑ กิเลส เครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า กิเลสเครื่องเข้าถึง คือตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า กิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ. บุคคลผู้มีปัญญานั้นละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา สละคืนกิเลสเครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ เพราะเป็น ผู้ละกิเลสเครื่องเข้าถึงคือตัณหา เพราะเป็นผู้สละคืนกิเลส เครื่องเข้าถึงคือทิฏฐิ จึงชื่อว่า ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง ๑ นับแล้วได้ ๑๒.
บุคคลผู้มีปัญญานั้นจะพึงไปด้วย ราคะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ วิจิกิจฉา อนุสัยอะไรเล่า ว่าเป็นผู้กำหนัด ขัดเคือง หลง ผูกพัน ถือมั่นถึงความฟุ้งซ่าน ถึงความไม่ตกลง ถึงโดยเรี่ยวแรง กิเลสเครื่อง ปรุงแต่งเหล่านั้น อันผู้มีปัญญานั้นละแล้ว เพราะเป็นผู้ละกิเลสเครื่องปรุง แต่งแล้ว จะพึงไปสู่คติทั้งหลายด้วยกิเลสอะไรเล่าว่า เป็นสัตว์เกิดในนรก เกิดในกำเนิดดิรัจฉาน เกิดในเปรตวิสัย เป็นมนุษย์ เป็นเทวดา เป็น สัตว์มีรูป เป็นสัตว์ไม่มีรูป เป็นสัตว์มีสัญญา เป็นสัตว์ไม่มีสัญญา หรือ เป็นสัตว์มีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ บุคคลผู้มีปัญญานั้น ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย ไม่มีการณะ อันเป็นเครื่องไป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เป็นผู้ ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
ทิฏฐิที่กำหนดเพื่อเกิดในภพน้อยและภพใหญ่ ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้มีปัญญาในที่ไหนๆ ในโลกเพราะ บุคคลผู้มีปัญญาละมารยาและมานะได้แล้ว เป็นผู้ไม่มีกิเลสเครื่องเข้าถึง จะพึงไปด้วยกิเลสอะไรเล่า