ลักษณะสภาพธรรม

 
papon
วันที่  9 ธ.ค. 2557
หมายเลข  25884
อ่าน  2,905

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

"ลักษณะสภาพธรรม" ขอความกรุณาอาจารย์อนุเคราะห์ให้อรรถาธิบายเกี่ยวกับคำนี้ด้วยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 9 ธ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ลักษณะสภาพธรรม คือ ลักษณะของสิ่งที่มีจริง ที่สามารถให้รู้ได้ ปรากฏได้ สิ่งที่สามารถให้รู้ได้ สิ่งนั้นเรียกว่า ธรรม ที่มีลักษณะ หรือ ลักษณะสภาพธรรมนั่นเอง เช่นเห็น ได้ยิน สี เสียง เหล่านี้เป็นธรรม และก็มีสิ่งที่ให้รู้ได้ นั่นคือ ตัวลักษณะ เพราะฉะนั้น สภาพธรรมทั้งหลายต้องมีลักษณะ คือ สิ่งที่ให้รู้ได้ ครับ

ควรเข้าใจครับว่า สภาพธรรม มี ๒ ลักษณะใหญ่ๆ คือ สามัญญลักษณะ และ วิเสสลักษณะ

สามัญญลักษณะ คือ ลักษณะทั่วไปปกติของสภาพธรรมที่มีปัจจัยปรุงแต่งที่เป็นจิต เจตสิก รูป คือ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเป็นอนัตตา อันมีลักษณะเหมือนกันของสภาพธรรมทั้งหลาย

วิเสสลักษณะ คือ ลักษณะเฉพาะตัวของสภาพธรรมที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของสภาพธรรมที่แตกต่างกัน อย่างเช่น จิตเห็น ก็มีลักษณะเฉพาะตัว คือ รู้สีเท่านั้นจะไปรู้เสียงก็ไม่ได้ หรือจะมีลักษณะร้อนก็ไม่ได้ ธาตุดินก็มีลักษณะเฉพาะตัวคือ แข็งจะร้อนก็ไม่ได้ เพราะเป็นลักษณะเฉพาะตัวของธาตุไฟเท่านั้น ครับ

เพราะฉะนั้น การอบรมปัญญาที่จะรู้ความจริง ก็คือ สติและปัญญาที่รู้ลักษณะของสภาพธรรม ขณะนั้ไม่มีเรา มีแต่ธรรม เพราะมีแต่ลักษณะธรรมปรากฏ ไม่มีสัตว์ บุคคลเลย ซึ่งก็เริ่มโดยการฟังธรรม ศึกษาพระธรรมในเรื่องของสภาพธรรมต่อไป ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 9 ธ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมคือ สิ่งที่มีจริงๆ เป็นจริงซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น ไม่พ้นไปจากนามธรรมกับรูปธรรม นามธรรม เป็นสภาพรู้ เป็นธาตุรู้ เช่น เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย คิดนึก กุศลจิตเกิดอกุศลจิตเกิด เป็นต้น นี้เป็นนามธรรม ส่วนรูปธรรมไม่ใช่สภาพรู้ ไม่รู้อะไรๆ ทั้งสิ้น เช่น สี เสียง กลิ่น รส เป็นต้น เป็นสิ่งที่มีจริงแต่ละหนึ่งๆ โดยไม่ปะปนกัน จิตมีหลากหลายประเภท แต่ลักษณะของจิตก็คือมีการรู้แจ้งซึ่งอารมณ์เป็นลักษณะ เจตสิกแต่ละประเภทก็มีลักษณะที่แตกต่างกันไปความติดข้องก็มีลักษณะยึดอารมณ์ ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ก็มีลักษณะดุร้ายปัญญา ความเข้าใจถูกเห็นถูก ก็มีการรู้ถูกเห็นถูกในสิ่งที่มีจริงเป็นลักษณะ เป็นต้นรูปแต่ละรูปก็มีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามความเป็นจริงของสภาพธรรมนั้นๆ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 9 ธ.ค. 2557

ลักษณะสภาพธรรม เช่น ลักษณะของแข็งปรากฏ ไม่มีฟัน ไม่มีเสียง มีแต่แข็งที่ปรากฏเท่านั้น ไม่มีสภาพธรรมอื่นปนอยู่เลย ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 9 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
j.jim
วันที่ 10 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 10 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
kullawat
วันที่ 11 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
tanrat
วันที่ 13 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 24 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ก.ไก่
วันที่ 8 มิ.ย. 2564

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Sea
วันที่ 12 มี.ค. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 16 พ.ย. 2565

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อบรมปัญญาให้เข้าใจความจริง จะเป็นประโยชน์ทั้งชาตินี้ และชาติต่อๆ ไป กุศลที่ทำได้เสมอๆ คือ การฟังพระธรรมที่พระอรหันตสัมมาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีคุณค่ามหาศาลสำหรับชีวิตที่ต้องเดินทางต่อไป อีกแสนไกล และกันดาร

ขอเชิญศึกษาพระธรรม...

รวมลิงก์เมนูต่างๆ ในเว็บไซต์

พระไตรปิฎก

ฟังธรรม

วีดีโอ

ซีดี

หนังสือ

กระดานสนทนา

การที่ได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ฟังพระธรรม ทำให้มีความเข้าใจตามความเป็นจริงว่า ทุกสิ่งทุกอย่าง เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏแล้วก็หมดไป ไม่ว่าจะเป็นทางตา ทางหูทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ จิตทุกขณะเกิดขึ้นแล้วก็ดับไป หมดไป ไม่มีอะไรเหลือเลยจริงๆ จากภพหนึ่งไปอีกภพหนึ่ง ดังนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สิ่งที่ควรสั่งสมไปทุกภพทุกชาติ นั่นก็คือ กุศล (รวมถึงการอบรมเจริญปัญญา ในชีวิตประจำวันด้วย)

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ