วิจิกิจฉา

 
papon
วันที่  17 ธ.ค. 2557
หมายเลข  25914
อ่าน  21,830

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

"วิจิกิจฉา" ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยกรุณาให้อรรถาธิบายในคำนี้ด้วยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 17 ธ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิจิกิจฉา มีลักษณะที่สงสัย ลังเลใจ ตัดสินใจไม่ได้ในเรื่องของสภาพธรรม มีความคิดเห็นเป็น ๒ อย่าง อุปมาเหมือนทาง ๒ แพร่ง เช่น พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มีคุณจริงหรือไม่ นรก สวรรค์ ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ บาปบุญมีจริงหรือไม่ และผลของบาปบุญให้ผลได้จริงหรือไม่ วิจิกิจฉาเจตสิกเกิดกับอกุศลจิตประเภทโมหมูลจิตวิจิกิจฉาสัมปยุตต์เพียงดวงเดียวเท่านั้น

วิจิกิจฉา โดยทั่วไป จึงมุ่งหมายถึง ความลังเลสงสัย ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ในสิกขา สงสัยในขันธ์ที่เป็นอดีต สงสัยในขันธ์ที่เป็นอนาคต สงสัยในขันธ์ที่เป็นอดีตและอนาคต สงสัยในปฏิจจสมุปบาท ดังนั้น จึงมุ่งหมายถึง ความลังเลสงสัยในเรื่องสภาพธรรมด้วยเป็นสำคัญ แต่ถ้าสงสัยในเรื่องทั่วๆ ไป เช่น เรื่องราวทางโลกที่ไม่เกี่ยวกับสภาพธรรม เช่น สงสัยว่า ๔ บวก ๕ เป็นเท่าไหร่ ความสงสัยนี้ไม่ใช่วิจิกิจฉาครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ ...

วิจิกิจฉา ๘ อย่าง

ซึ่งผู้ที่จะละ ความลังเลสงสัยจนหมดสิ้น คือ พระโสดาบัน แต่ก่อนจะถึงความเป็นพระโสดาบัน ก็อาศัยพระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง และปัญญาที่เจริญขึ้น ก็ค่อยๆ ละ ความลังเล สงสัยได้ ทีละเล็กละน้อย พระพุทธองค์ได้ทรงแสดงพระธรรมที่จะค่อยๆ ละความลังเลสงสัย ด้วยธรรม ๖ ประการ ดังนี้

[เล่มที่ 14] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๒ - หน้าที่ 325

ธรรมสำหรับละวิจิกิจฉา

อีกอย่างหนึ่ง ธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นไปเพื่อละวิจิกิจฉา (ความลังเลสงสัย) คือ

๑. ความสดับมาก

๒. การสอบถาม

๓. ความชำนาญในวินัย

๔. ความมากด้วยความน้อมใจเชื่อ

๕. ความมีกัลยาณมิตร

๖. การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย.

ความสดับมาก เพราะเป็นผู้ฟังพระธรรมมากด้วยความเข้าใจในพระธรรม เมื่อมีความเข้าใจพระธรรมมากขึ้น เข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรม เป็นธรรมดา ย่อมค่อยๆ ละคลายความไม่เชื่อ ความสงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรมได้ เพราะฉะนั้น การฟังพระธรรมจึงเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่จะละคลายความสงสัยเสียได้

การสอบถาม เมื่อไม่เข้าใจ ก็สอบถามและเมื่อได้เข้าใจในคำตอบ ปัญญาเจริญขึ้นจึงละคลายความสงสัยในสิ่งที่ถามและในพระธรรมของพระพุทธเจ้าได้ ความชำนาญในวินัย เพราะเข้าใจถึงเหตุและผลของพระพุทธองค์ ที่ทรงแสดงตามความเป็นจริงในส่วนอื่นๆ ย่อมละคลายความสงสัยเสียได้

ความน้อมใจเชื่อ หมายถึง น้อมใจด้วยศรัทธาในพระพุทธเจ้า พระธรรม เมื่อมีศรัทธาย่อมละคลายความสงสัยเสียได้

ความมีกัลยาณมิตร เพราะอาศัยผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจพระธรรมและที่สำคัญคือเป็นผู้มีคุณธรรมย่อมสามารถเกื้อกูลบุคคลนั้นได้ ทำให้ละคลายความสงสัยได้

การเจรจาแต่เรื่องที่เป็นที่สบาย การสนทนาพูดคุยถึงพระธรรมของพระพุทธเจ้าสนทนาในคุณพระรัตนตรัยย่อมทำให้เกิดศรัทธา เกิดความเข้าใจในพระธรรมย่อมละคลายความสงสัยในพระรัตนตรัยได้ครับ

ขออนุโมทนา ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
papon
วันที่ 17 ธ.ค. 2557

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

1. วิจิกิจฉาเกิดทุกครั้งที่สงสัยในคำอธิบายข้างต้น ใช่หรือไม่อย่างไรครับ

2. การสงสัยว่าเรื่องราวต่างๆ ของชาดกเป็นวิจิกิจฉาหรือไม่อย่างไรครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 17 ธ.ค. 2557

เรียนความเห็นที่ 2 ครับ

ข้อ 1 ได้ตอบแล้วในความเห็นข้างต้น ครับ ดังนี้

วิจิกิจฉา โดยทั่วไป จึงมุ่งหมายถึง ความลังเลสงสัย ในพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ในสิกขา สงสัยในขันธ์ที่เป็นอดีต สงสัยในขันธ์ที่เป็นอนาคต สงสัยในขันธ์ที่เป็นอดีตและอนาคต สงสัยในปฏิจจสมุปบาท ดังนั้นจึงมุ่งหมายถึง ความลังสงสัยในเรื่องสภาพธรรมด้วยเป็นสำคัญ แต่ถ้าสงสัยในเรื่องทั่วๆ ไป เช่น เรื่อราวทางโลก ที่ไม่เกี่ยวกับสภาพธรรม เช่น สงสัยว่า ๔ บวก ๕ เป็นเท่าไหร่ ความสงสัยนี้ไม่ใช่วิจิกิจฉาครับ

ข้อ 2 การสงสัยเรื่องชาดก ถ้าสงสัยในพระคุณ ของพระพุทธเจ้าในเรื่องนั้น สงสัยในความจริง ไม่จริง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง อย่างนี้เป็น วิจิกิจฉาได้ เช่น สงสัย ว่าขันธ์ที่สมมติว่าเป็นใครในชาดก มีจริงหรือ อย่างนี้เป็นวิจิกิจฉา ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
khampan.a
วันที่ 17 ธ.ค. 2557

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความสงสัยมีจริงๆ ตราบใดก็ตามที่ยังไม่ใช่พระอริยบุคคล ยังไม่พ้นไปจากควาสงสัย เมื่อว่าโดยสภาพธรรมแล้วได้แก่ วิจิกิจฉาเจตสิก สงสัยในเรื่องของสภาพธรรมเพราะยังไม่มีความเข้าใจถูกเห็นถูกในสิ่งที่มีจริงตามความเป็นจริง จึงสงสัย แต่เมื่อได้เข้าใจอย่างถูกต้องตรงตามความเป็นจริงแล้ว ก็ย่อมไม่สงสัยในสภาพธรรมนั้นๆ

พระธรรม เพื่อเข้าใจ จุดประสงค์ของการศึกษาพระธรรมต้องตรง เราไม่สามารถจะเข้าใจข้อความในพระไตรปิฎกได้ทั้งหมด เข้าใจแค่ไหนก็แค่นั้น ตามกำลังปัญญาของแต่ละคน ซึ่งเมื่อไม่ขาดการฟัง การศึกษา ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นไปทีละเล็กทีละน้อย เพราะจะให้เข้าใจโดยตลอดก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เมื่อสงสงสัย จึงการซักถาม ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์คือ เข้าใจแจ่มแจ้งขึ้น นอกจากจะเป็นประโยชน์สำหรับตนเองแล้ว ยังจะเป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่นได้ด้วย เพราะไม่ว่าจะฟัง อ่าน สนทนา สอบถาม ก็เพื่อจุดประสงค์เดียว คือ ความเข้าใจถูกเห็นถูก เท่านั้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 17 ธ.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 17 ธ.ค. 2557

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tanrat
วันที่ 18 ธ.ค. 2557

ทุกท่านต้องไม่ลืมประโยคที่ว่า ฟัง ศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้า ไม่ใช่อย่างอื่น แล้วความคิดที่พิจารณาแล้วจะปรุงแต่ง ให้เข้าใจถูก คือปัญญาที่ค่อยๆ เกิด แล้วปัญญาก็จะทำกิจของเขา ไม่สนใจว่ายาวนานขนาดไหน

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nong
วันที่ 18 ธ.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 18 ธ.ค. 2557

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ก.ไก่
วันที่ 15 ก.พ. 2563

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 5 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 4 ส.ค. 2563

ขอบพระคุณ อ.เผดิมและอ.คำปั่น สำหรับข้อความที่อธิบายให้เกิดความกระจ่างในเรื่องนี้และขอบคุณท่านผู้ถามด้วย เพราะกำลังสงสัยเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน

ดังน้้น วิกิจกิฉาจึงเกิดขึ้น เมื่อไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง เมื่อรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริงแต่ละหนึ่งๆ จนทั่ว เมื่อนั้นก็จะหมดความความลังเลสงสัยในสภาพธรรม

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
ค่อยๆศึกษา
วันที่ 19 ม.ค. 2565

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ