เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี

 
เมตตา
วันที่  23 ธ.ค. 2557
หมายเลข  25944
อ่าน  1,458

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย มหานิทเทส เล่ม ๕ ภาค ๒ - หน้าที่ 151

ผัสสะในโลกมีอะไรเป็นนิทาน และความยึดถือมีมาแต่อะไร เมื่ออะไรไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี เมื่ออะไรไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง.

[๔๙๒] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ความยึดถือมีความปรารถนาเป็นนิทาน เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี เมื่อรูปไม่มี ผัสสะจึงไม่ถูกต้อง.

[๔๙๓] คำว่า ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป ความว่า จักษุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจักษุและรูป ประชุมธรรม ๓ ประการ คือจักษุ รูปในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นจักษุสัมผัสเป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป แม้อย่างนี้. โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ประชุมธรรม ๓ ประการ คือหู เสียงในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นโสต สัมผัสเป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป แม้อย่างนี้. ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ประชุมธรรม ๓ ประการ คือจมูก กลิ่นในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นฆานสัมผัสเป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป แม้อย่างนี้. ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ประชุมธรรม ๓ ประการ คือลิ้น รสในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นชิวหาสัมผัสเป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป แม้อย่างนี้. กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ประชุมธรรม ๓ ประการ คือกาย โผฏฐัพพะในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นกายสัมผัสเป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูป แม้อย่างนี้. มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ ประชุมธรรม ๓ ประการ คือวัตถุ รูปในส่วนรูป ธรรมทั้งหลายที่มีรูปในส่วนรูป และสัมปยุตธรรมในส่วนนาม เว้นมโนสัมผัสเป็นผัสสะ ผัสสะเกิดขึ้นเพราะอาศัยนามและรูปแม้อย่างนี้.

ว่าด้วยความยึดถือมี ความปรารถนาเป็นต้นเหตุ

[๔๙๔] คำว่า ความยึดถือมีความปรารถนาเป็นนิทาน ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความปรา รถนา ได้แก่ ราคะ สราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ชื่อว่าความยึดถือ ได้แก่ ความยึดถือ ๒ ประการ คือ ความยึดถือด้วยตัณหา ๑ ความยึดถือด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความยึดถือด้วยทิฏฐิ. คำว่า ความยึดถือมีความปรารถนาเป็นนิทาน ความว่า ความยึดถือทั้งหลาย มีความปรารถนาเป็นเหตุ มีความปรารถนาเป็นปัจจัย มีความปรารถนาเป็นการณะ มีความปรารถนาเป็นแดนเกิด เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ความยึดถือมี ความปรารถนาเป็นนิทาน.

[๔๙๕] คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี ความว่า ตัณหา เรียกว่า ความปรารถนา ได้แก่ราคะ สาราคะ ฯลฯ อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล ชื่อว่า ความถือว่าของเรา ได้แก่ความถือว่าของเรา ๒ อย่าง คือ ความถือว่าของเราด้วยตัณหา. ความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ ๑ ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเราด้วยตัณหา ฯลฯ นี้ชื่อว่า ความถือว่าของเราด้วยทิฏฐิ. คำว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี ความว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ไม่ปรากฏไม่เข้าไปได้อยู่ ความถือว่าของเราจึงไม่มี ไม่ปรากฏ ไม่เข้าไปได้ คือ ความถือว่าของเราเหล่านั้น อันพระสมณะละ ตัดขาด สงบ ระงับแล้ว ทำไม่ให้ควรเกิดขึ้น เผาเสียแล้วด้วยไฟคือญาณ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมื่อความปรารถนาไม่มี ความถือว่าของเราจึงไม่มี


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 13 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ