การคบบัณฑิตและการบูชาอย่างยอดเยี่ยม [มงคลสูตร]

 
เมตตา
วันที่  23 ธ.ค. 2557
หมายเลข  25952
อ่าน  2,169

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ข้อความบางตอนจาก

มงคลสูตร

บัดนี้ เมื่อทรงสรรเสริญการคบบัณฑิต จึงตรัสว่า การคบบัณฑิตเป็นมงคล. สัตว์ทุกประเภทผู้ประกอบด้วยกุศลกรรมบถ ๑๐ มีเจตนางดเว้นปาณาติบาต เป็นต้น ชื่อว่าบัณฑิต ในจำพวกพาลและบัณฑิตนั้น. บัณฑิตเหล่านั้น จะพึงรู้ได้ก็ด้วยอาการทั้ง ๓ เหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ พระสูตรว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัณฑิต ลักษณะของบัณฑิต เหล่านั้น. อนึ่ง พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอสีติมหาสาวก พระสาวกอื่นของพระตถาคต และบัณฑิตมีสุเนตตศาสดา มหาโควินทศาสดา พระวิธูรบัณฑิต สรภังคดาบส พระมโหสธ สุตโสมบัณฑิต พระเจ้านิมิราช อโยฆรกุมาร และ อกิตติบัณฑิต เป็นต้น พึงทราบว่าบัณฑิต. บัณฑิตเหล่านั้น เป็นผู้สามารถกำจัดภัยอุปัทวะและอุปสรรคได้ทุกอย่างแก่พวกที่ทำตามคำของตน ประหนึ่งป้องกันได้ในเวลามีภัย ประหนึ่ง

[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 176

ดวงประทีปในเวลามืด ประหนึ่งได้ข้าวน้ำเป็นต้น ในเวลาถูกทุกข์มีหิวกระหายเป็นต้นครอบงำ. จริงอย่างนั้น อาศัยพระตถาคต พวกเทวดาและมนุษย์นับไม่ถ้วน ประมาณไม่ได้พากันบรรลุธรรมเป็นที่สิ้นอาสวะ ดำรงอยู่ในพรหมโลก ดำรงอยู่ในเทวโลก เกิดในสุคติโลก ตระกูลแปดหมื่นตระกูล ทำจิตให้เลื่อมใสในพระสารีบุตรเถระ และบำรุงพระเถระด้วยปัจจัยก็บังเกิดในสวรรค์. ตระกูลทั้งหลายทำจิตให้เลื่อมใส ในพระมหาสาวกทั้งปวง นับตั้งแต่พระมหาโมคคัลลานะ พระมหากัสสป เป็นต้นไป ก็อย่างนั้นเหมือนกัน สาวกทั้งหลายของสุเนตตศาสดา บางพวกก็เกิดในพรหมโลก บางพวกก็เข้าเป็นสหายของเหล่าเทพชน ปรนิมมิตวสวัตดี ฯลฯ บางพวกก็เข้าเป็นสหายของคฤหบดีมหาศาล. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่มีภัยแต่บัณฑิต ไม่มีอุปัททวะแต่บัณฑิต ไม่มีอุป สรรคแต่บัณฑิต. อนึ่ง บัณฑิตเสมือนของหอม มีกฤษณาและดอกไม้ เป็นต้น คนผู้คบบัณฑิตก็เสมือนห่อด้วยใบไม้ที่ห่อของหอม มีกฤษณาและดอกไม้ เป็นต้น ยังประสบภาวะที่วิญญูชนชมเชยและพอใจ. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ได้ตรัสไว้ดังนี้ว่า

ตครญฺจ ปลาเสน โย นโร อุปนยฺหติ ปตฺตาปิ สุรภี วายนฺติ เอวํ ธีรูปเสวนา.

นรชนผู้ใดห่อกฤษณาไว้ด้วยใบไม้ แม้ใบไม้ของนรชนผู้นั้นก็ส่งกลิ่นหอมฟุ้ง การคบบัณฑิต ก็เหมือนอย่างนั้น.

อนึ่งเล่า เมื่อท้าวสักกะจอมทวยเทพประทานพรแก่ อกิตติบัณฑิตก็กล่าวว่า

ธีรํ ปสฺเส สุเณ ธีรํ ธีเรน สห สํวเร ธีเรนลฺลาปสลฺลาปํ ตี กเรตญฺจ โรจเย.

ควรพบบัณฑิต ควรฟังบัณฑิต ควรอยู่ร่วมกับบัณฑิต ควรทำการสนทนาปราศรัยกับบัณฑิต และควรชอบใจบัณฑิตนั้น.

ท้าวสักกะจอมทวยเทพตรัสถามว่า

กินฺนุ เต อกรํ ธีโร วท กสฺสป การณํ เกน กสฺสป ธีรสฺส ทสฺสนํ อภิกงฺขสิ.

ท่านกัสสปะ ทำไมหนอ บัณฑิตจึงไม่ทำต่อท่าน

โปรดบอกเหตุมาสิเพราะเหตุไรหนอ ท่านจึงอยากพบบัณฑิต นะท่านกัสสปะ.

อกิตติบัณฑิตตอบว่า

นยํ นยติ เมธาวี อธุรายํ น ยุญชติ สุนโย เสยฺยโส โหติ สมฺมา วุตฺโต น กุปฺปติ วินยํ โส ปชานาติ สาธุ เตน สมาคโม.

บัณฑิตย่อมแนะนำเรื่องที่ควรแนะนำ ไม่จูงคนไปในกิจมิใช่ธุระ แนะนำเขาก็ง่ายดี เพราะเขาถูกว่ากล่าวโดยดี ก็ไม่โกรธ บัณฑิตนั้นรู้วินัย สมาคมกับบัณฑิตเป็นการดี

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงสรรเสริญการคบบัณฑิต โดยธรรมทั้งปวงอย่างนี้ จึงตรัสว่า การคบบัณฑิตเป็นมงคล. บัดนี้ เมื่อจะทรงสรรเสริญ การบูชาบุคคลผู้เข้าถึงความเป็นผู้ควรบูชาโดยลำดับ ด้วยการไม่คบพาลและการคบบัณฑิตนั้น จึงตรัสว่า ปูชา จ ปูชเนยฺยานํ มงคลํ การบูชาผู้ที่ควรบูชาเป็นมงคล. พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าข้า ชื่อว่า ปูชเนยยะ เพราะทรงเว้นจากโทษทุกอย่าง และเพราะทรงประกอบด้วยคุณทุกอย่าง และภายหลังจากนั้น ก็พระปัจเจกพุทธเจ้า พระอริยสาวกทั้งหลาย ชื่อว่า ปูชเนยยะ. จริงอยู่ การบูชาปูชเนยยบุคคลเหล่านั้น แม้เล็กน้อยก็เป็นประโยชน์สุขตลอดกาลยาวนาน. ในข้อนี้ มีเรื่องนายสุมนมาลาการ และนางมัลสิกา เป็นต้น เป็นตัวอย่าง. ใน ๒ เรื่องนั้น จะกล่าวแต่เรื่องเดียว พอเป็นตัวอย่าง.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เมตตา
วันที่ 23 ธ.ค. 2557

ความว่า เช้าวันหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอันตรวาสก แล้วทรงถือบาตรจีวร เสด็จเข้า ไปบิณฑบาตยังกรุงราชคฤห์ ขณะนั้น นายช่างดอกไม้ชื่อ สุมนมาลาการ กำลังเดินถือดอกไม้สำหรับพระเจ้าพิมพิสาร จอมทัพมคธ ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงประตูกรุงผ่องใสน่าเลื่อมใสประดับด้วยพระมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ และพระอนุพยัญชนะ ๘๐ ประการ รุ่งเรื่องด้วยพระพุทธสิริ

ครั้นเห็นแล้ว เขาก็คิดว่า พระราชาทรงรับดอกไม้แล้ว ก็จะพึงประทานทรัพย์ร้อยหนึ่งหรือพันหนึ่ง ก็อันนั้นก็จะพึงเป็นความสุขเพียงโลกนี้เท่านั้น. แต่การบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมจะมีผลประมาณไม่ได้ นับไม่ถ้วน นำประโยชน์สุขมาให้ตลอดกาลยาวนาน. เอาเถิด จำเราจะบูชาพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยดอกไม้เหล่านั้น ดังนี้เขามีจิตเลื่อมใส จับดอก ไม้กำหนึ่ง เหวี่ยงไปเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า. ดอกไม้ทั้งหลายไปทางอากาศประดิษฐานเป็นเพดานดอกไม้อยู่เหนือพระผู้มีพระภาคเจ้า. นายมาลาการเห็นอานุภาพนั้น ก็มีจิตเลื่อมใสยิ่งขึ้น จึงเหวี่ยงดอกไม้ไปอีกกำหนึ่ง แม้ดอกไม้เหล่านั้น ก็ไปประดิษฐานเป็นเกราะดอกไม้. นายมาลาการเหวี่ยงดอกไม้ไป ๘ กำ อย่างนี้ ดอกไม้เหล่านั้นก็ไปประ ดิษฐานเป็นเรือนยอดดอกไม้.

พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ในเรือนยอด มหาชนก็ชุมนุมกัน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทอดพระเนตรเห็นนายมาลาการ ก็ทรงทำอาการแย้มให้ปรากฏ พระอานนทเถระก็ทูลถามถึงเหตุที่ทรงแย้มด้วยคิดว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย ไม่มีเหตุ ไม่มีปัจจัย จะไม่ทรงแย้มให้ปรากฏ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อานนท์ นายมาลาการผู้นี้ จักท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์แสนกัปด้วยอานุภาพของการบูชานี้แล้ว ในที่สุดก็จักเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้านามว่าสุมนิสสระ. ตรัสจบก็ได้ตรัสพระคาถา เพื่อทรงแสดงธรรมว่า

ตญฺจ กมฺมํ กตํ สาธุ ยํ กตฺวา นานุตปฺปติ ยสฺส ปตีโต สุมโน วิปากํ ปฏิเสติ.

บุคคลทำกรรมใดแล้วไม่เดือดร้อนภายหลัง บุคคลใจดีเอิบอิ่มแล้วเสวยผลของกรรมใด กรรมนั้น ทำแล้วดี.

จบคาถา สัตว์ ๘๔,๐๐๐ ได้บรรลุธรรม การบูชาปูชเนยยบุคคลเหล่านั้น แม้เล็กน้อย พึงทราบว่า มีประโยชน์สุขตลอดกาลยาวนาน ด้วยประการฉะนี้ ก็การบูชานั้นเป็นอามิสบูชา จะป่วยกล่าวไปไยในปฏิบัติบูชา เพราะกุลบุตรเหล่าใด บูชาพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการรับสรณคมน์และสิกขาบท ด้วยการสมาทานองค์อุโบสถ และด้วยคุณทั้งหลายของตน มีปาริสุทธิศีล ๔ เป็นต้น ใครเล่า จักพรรณนาผลแห่งการบูชาของกุลบุตรเหล่านั้นได้. ด้วยว่ากุลบุตรเหล่านั้น ท่านกล่าวว่า บูชาพระตถาคตด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยมเหมือนอย่างที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า

ดูก่อนอานนท์ ผู้ใดแล ไม่ว่าเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบยิ่ง ประพฤติตามธรรม ผู้นั้น ชื่อว่าสักการะเคารพนับถือบูชา ยำเกรงนอบน้อมตถาคต ด้วยการบูชาอย่างยอดเยี่ยม.

ความที่การบูชาแม้พระปัจเจกพุทธเจ้าและพระอริยสาวกนำมาซึ่งประโยชน์สุข พึงทราบตามแนวนี้.

อนึ่ง สำหรับคฤหัสถ์ พึงทราบปูชเนยยบุคคลในข้อนี้อย่างนี้ คือ ผู้เจริญที่สุด ทั้งพี่ชาย ทั้งพี่สาว ชื่อว่าปูชเนยยบุคคลของน้อง มารดาบิดาเป็นปูชเนยยบุคคลของบุตร สามีพ่อผัวแม่ผัวเป็นปูชเนยยบุคคลของกุลสตรีทั้งหลาย ด้วยว่า การบูชาปูชเนยยบุคคลแม้เหล่านั้น เป็นมงคลทั้งนั้น เพราะนับว่าเป็นกุศลธรรมและเพราะเป็นเหตุเจริญอายุเป็นต้น. พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระพุทธดำรัสไว้ดังนี้ว่า ชนเหล่านั้น จักเป็นผู้เกื้อกูลมารดา เกื้อกูลบิดา เกื้อกูลสมณะ เกื้อกูลพราหมณ์ เป็นผู้นอบน้อมผู้ใหญ่ในสกุล ยังจักยึดถือกุศลธรรมนี้ปฏิบัติ ก็จักเจริญทั้งอายุ จักเจริญทั้งวรรณะ เพราะเหตุสมาทานกุศลธรรมเหล่านั้น เป็นต้น.

บัดนี้ เพราะเหตุที่ข้าพเจ้าตั้งมาติกาหัวข้อไว้ว่า กล่าวสมุฏฐานเป็นที่เกิดมงคล แล้วกำหนดมงคลนั้น จะชี้แจงความของมงคลนั้น ฉะนั้น จึงขอชี้แจงดังนี้ พระผู้พระภาคเจ้าตรัสมงคลแห่งคาถานี้ไว้ ๓ มงคล คือ การไม่ คบคนพาล การคบบัณฑิต และการบูชาผู้ที่ควรบูชา ด้วยประการฉะนี้. ในมงคลทั้ง ๓ นั้น พึงทราบว่าการไม่คบพาล ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งประโยชน์ของโลกทั้งสอง เหตุป้องกันภัยมีภัยเกิดแต่คบพาลเป็นปัจจัยเป็นต้น การคบบัณฑิตและการบูชาผู้ที่ควรบูชา ชื่อว่าเป็นมงคล เพราะเป็นเหตุแห่งนิพ พานและสุคติ โดยนัยที่กล่าวไว้แล้ว ในการพรรณนาความเพิ่มพูนแห่งผลของการคบบัณฑิตและการบูชาผู้ที่ควรบูชานั้นนั่นแล. แต่ข้าพเจ้าจักยังไม่แสดงหัวข้อต่อจากนี้ไป จักกำหนดข้อที่เป็นมงคลอย่างนี้ จึงจักชี้แจงความที่ข้อนั้น เป็นมงคล.

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 6 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ