โลภะปกปิดเก่ง

 
tanrat
วันที่  16 ม.ค. 2558
หมายเลข  26047
อ่าน  1,110

หลายท่านไม่ชอบโทสะหยาบๆ ขณะนั้นอาจเป็นโลภะก็ไม่รู้ ความเป็นตัวตนเหนียวแน่นมาก ได้ยินหลายทีที่หลายท่านถามว่า ทำอย่างไรจะไม่โกรธคะ ท่านอาจารย์ก็จะกล่าวว่า ไหนบอกว่าธรรมะเป็นอนัตตา บอกแต่ปากหรือแค่ตอบให้ถูกเท่านั้น ตอบถูกก็เป็นธรรมะ ผิดก็เป็นธรรมะ ถ้าจะมั่นคงจริงๆ กราบเรียนถามท่านอาจาย์ให้ความกระจ่างว่ามั่นคงอย่างไรคะ

กราบขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 16 ม.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา แม้กิเลสที่เกิดขึ้นก็เป็นอนัตตาและจะต้องมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้นได้ โทสะก็เป็นสภาพธรรมมีเหตุจึงเกิดขึ้นได้ เพราะมีความติดข้อง ยินดีพอใจ จึงทำให้เกิดโทสะ ที่ว่าโลภะซ่อน แต่มีสภาพธรรมที่รู้ได้ยาก มีโทษมาก คือ โมหะ อวิชชา เพราะ มีความไม่รู้ จึงทำให้เกิดกิเลสประการต่างๆ ทั้งโลภะ โทสะ และ ไม่รู้เลยขณะนี้ว่ามีความไม่รู้เกิดขึ้นเป็นปกติ เพราะฉะนั้น หนทางดับกิเลส จึงไม่ใช่จะทำยังไงไม่ให้กิเลสเกิด แต่ หนทาง คือ เข้าใจความจริงในสิ่งที่เกิดแล้วว่าเป็นแต่เพียงธรรม ไม่ใช่เรา อันเป็นหนทางละโมหะ ละความไม่รู้จนดับกิเลสได้หมดสิ้นครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 16 ม.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม ไม่พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลย มีจริงๆ ในชีวิตประจำวัน

ความโกรธ หรือ โทสะ เป็นสภาพธรรมที่หยาบกระด้าง ดุร้าย และมีหลายระดับด้วย โทสะอย่างอ่อนๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น ความหงุดหงิด ความขุ่นเคืองใจ ความรำคาญใจ หรือแม้กระทั่งการหมั่นไส้ผู้อื่น แต่ถ้าหากโทสะ มีกำลังรุนแรงมาก ก็อาจถึงขั้นประทุษร้ายเบียดเบียนผู้อื่น หรือฆ่าผู้อื่นก็ได้ นี้คือ โทษของอกุศลธรรม ซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ใครๆ ทั้งสิ้น

ขณะที่โทสะเกิดขึ้นนั้น กาย วาจา จะหยาบกระด้าง และย่อมแสดงกิริยาอาการที่ไม่เหมาะสมต่างๆ มากมาย ที่คนปกติไม่สามารถจะเป็นอย่างนั้นได้ เช่น กระแทกกระทั้น มีสีหน้าบึ้งตึง กล่าวคำที่หยาบคาย เป็นต้น

ข้อที่ทุกคนควรพิจารณา คือ สาเหตุที่แท้จริงของความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ไม่ใช่เหตุการณ์ ไม่ใช่บุคคลอื่น แต่เป็นเพราะการสะสมโทสะของเราเอง ซึ่งสะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ โทสะไม่ใช่ตัวตน แต่เป็นสภาพธรรมที่เกิดเพราะปัจจัย เมื่อกระทบสิ่งที่ไม่น่าพอใจแล้วหงุดหงิด ไม่พอใจ ขณะนั้นทราบได้ว่าจะต้องเป็นอุปนิสัยที่ได้สะสมมา จึงทำให้มีความขุ่นเคืองใจ มีความไม่พอใจอยู่บ่อยๆ เนืองๆ มากกว่าผู้ที่มีความอดทน และในเมื่อเป็นอกุศลของตนเอง ตนเองเท่านั้นที่จะเป็นผู้ได้รับโทษจากอกุศลของตนเอง คนอื่นจะทำโทษให้แก่เราไม่ได้เลย นอกจากกิเลสของตนเองเท่านั้นจริงๆ

การที่จะค่อยๆ ละคลายโทสะได้ ต้องอาศัยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมให้เข้าใจจริงๆ เป็นปัญญาของตนเอง แล้วกุศลธรรมทั้งหลาย ก็จะค่อยๆ เจริญขึ้นในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะค่อยๆ ละคลายอกุศล และเมื่ออบรมเจริญปัญญา ความรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ ถูกต้องตรงตามความเป็นจริงขึ้น ความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ ก็จะค่อยๆ ลดน้อยลง แต่ว่ายังไม่ได้ดับอย่างเด็ดขาด จนกว่าจะถึงความเป็นพระอนาคามีบุคคล เพราะฉะนั้น กิเลสที่มีมาก ต้องอาศัยปัญญาเท่านั้นจึงจะดับได้ ถ้าไม่มีปัญญา ก็ไม่สามารถดับกิเลสอะไรได้เลย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 16 ม.ค. 2558

มั่นคงในหนทางที่พระพุทธเจ้าสอนเป็นหนทางที่ถูก มั่นคงในสัจจความจริงว่า แม้ทุกอย่างเกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วดับไม่มีอะไรเหลือ แม้ความโกรธเกิดแล้วก็ดับ ไม่เที่ยง ไม่ใช่เรา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 17 ม.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 18 ม.ค. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
นิตยา
วันที่ 20 ม.ค. 2558

สาธุ สาธุ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 21 ม.ค. 2558

ปัญญาที่รู้ความจริง .. มีขั้นที่มั่นคงและไม่มั่นคง

ลองอ่านข้อความข้างล่างดู..

ญาณคือความรู้ในสิ่งที่มีจริง หมายถึง ความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงเริ่มต้นจากการศึกษาในขั้นปริยัติ ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องว่านามธรรมและรูปธรรมเท่านั้นเป็นสิ่งที่มีจริง และเป็นสภาพธรรมที่เป็นอนัตตา หาใช่สัตว์ บุคคล ตัวตนไม่เป็นสัจจญาณในขั้นปริยัติ จนกว่าสติปัฏฐานเริ่มเกิด ความรู้ในลักษณะของนามธรรม รูปธรรมที่กำลังปรากฏ ค่อยๆ รู้เพิ่มขึ้น จนเป็นปัญญาที่สมบูรณ์เป็นวิปัสสนาญาณ เป็นการประจักษ์แจ้งนามรูปที่แยกขาดจากกัน รู้ว่าเป็นเพียงนามรูปเท่านั้น ที่เป็นอนัตตา ตรงกับที่ได้ศึกษาในขั้นปริยัติ และความรู้ที่เจริญขึ้นจากการอบรมเป็นวิปัสสนาญาณขั้นสูงขึ้นไป ความรู้เหล่านี้เป็นสัจจญาณในขั้นปฏิบัติ จนกว่ามัคคจิตจะเกิดขึ้นประหารกิเลส ๔ ครั้ง สัจจญาณจึงถึงความสมบรูณ์

สัจจญาณ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Jarunee.A
วันที่ 23 ก.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ