ตทาลัมพนจิต

 
papon
วันที่  20 ม.ค. 2558
หมายเลข  26065
อ่าน  6,697

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

"ตทาลัมพนจิต" ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยกรุณาให้อรรถาธิบายเกี่ยวกับคำนี้ด้วยครับ เจตสิกที่เกิดร่วมกับจิตนี้ เป็นอย่างไรครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 20 ม.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตทาลัมพนกิจ เป็นกิจของจิต ๑๑ ดวง คือ สันตีรณจิต ๓ มหาวิบาก ๘ ที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อจากชวนจิต ทั้งทางปัญจทวารวิถี และมโนทวารวิถี ส่วนอารมณ์นั้นทั้งอนิฏฐารมณ์ อิฏฐารมณ์ อติอิฏฐารมณ์ และตทาลัมพนะ จะเกิดกับสัตว์ประเภทกามบุคคล อารมณ์ที่เป็นกามอารมณ์และกามชวนะเท่านั้น วิถีต้องเป็นวิภูตารมณ์ที่เกิดทางมโนทวารวิถี และอติมหันตารมณ์ทางปัญจทวารวิถี

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง แล้วทรงแสดงธรรม ซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น ให้สัตว์โลกได้รู้ตาม ธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงนั้น ไม่มีใครจะไปเปลี่ยนแปลงได้ เป็นจริงอย่างไรก็เป็นจริงอย่างนั้น หนึ่งในธรรมที่มีจริงนั้น คือ จิต ซึ่งเป็นสภาพธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ เมื่อเกิดขึ้นย่อมกระทำกิจหนึ่งกิจใด ตามสมควร แม้แต่ตทาลัมพนจิต ก็เช่นเดียวกัน เป็นจิตที่เกิดขึ้นรับผลของกรรมรับรู้อารมณ์ต่อจากชวนจิต เมื่อรูปนั้นยังไม่ดับ ก็เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดขึ้นรับรู้อารมณ์นั้นต่อได้ ซึ่งเป็นการตรัสรู้โดยบุคคลผู้เลิศผู้ประเสริฐที่สุด คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และถ้าจะศึกษาแล้ว ก็จะเข้าใจว่า จิตที่จะกระทำตทาลัมพนกิจได้นั้น ล้วนแต่เป็นวิบากจิตทั้งสิ้น (ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กิริยา) มี ๑๑ ดวง ได้แก่ คือ อุเบกขาสันตีรณจิต ๒ ดวง โสมนัสสันตีรณจิต ๑ ดวง และ มหาวิบาก ๘ ดวง

ที่สำคัญที่สุด ประโยชน์ของการศึกษาพระธรรม โดยเฉพาะพระอภิธรรม ไม่ใช่การศึกษาวิชาพระพุทธศาสนาที่เป็นวิชาการ และไม่ใช่เป็นเรื่องของการหาคำตอบ เป็นตัวเลข แต่ศึกษาพระอภิธรรมเพื่อเข้าใจตัวจริงของสภาพธรรมในขณะนี้ ดังนั้น การศึกษาเรื่องจิต เจตสิก รูป คือ เพื่อให้เข้าใจว่าไม่มีเรา มีแต่ธรรมที่เป็นไป เป็นไปตามเหตุปัจจัย ซึ่งการศึกษาด้วยจิตที่ถูกเช่นนี้ ย่อมนำมาซึ่งความเจริญขึ้นของปัญญา แต่ไม่ใช่สัญญาที่เป็นความจำในเรื่่องราวเป็นตัวเลขต่างๆ ซึ่งชาตินี้ตายไปก็ลืมหมด แต่ความจำด้วยความเข้าใจ ว่ามีแต่ธรรม ไม่ใช่เรา ซึ่งเป็นการเจริญขึ้นของปัญญาที่เป็นไปเพื่อละกิเลส คือ มีความเข้าใจถูกว่าเป็นแต่เพียงธรรม ย่อมสะสมต่อไปในชาติหน้า ซึ่งก็จะทำให้เกื้อกูลต่อการเจริญสติปัฏฐาน คือ ทำให้เกิดสติระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงในขณะี้นี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา และเป็นไปเพื่อดับกิเลสได้ เพราะศึกษาด้วยความเห็นถูกในเรื่องพระอภิธรรม ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 20 ม.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตทาลัมพนจิต โดยความหมายแล้ว หมายถึง จิตที่รับรู้ซึ่งอารมณ์นั้น ซึ่งคำว่า อารมณ์นั้น ก็คือ อารมณ์ที่จะต้องรับรู้ต่อจากชวนจิต ทางปัญจทวาร และทางมโนทวาร ตทาลัมพนจิต เป็นจิตชาติวิบาก ที่เรียกว่า ตทาลัมพนจิต ก็เรียกตามกิจของจิต เพราะจิตที่ทำตทาลัมพนกิจ (กิจคือการรับรู้อารมณ์นั้นต่อจากชวนจิต) เป็นกิจของจิต ๑๑ ดวง คือ สันตีรณจิต ๓ มหาวิบาก ๘ ที่เกิดขึ้นรับอารมณ์ต่อจากชวนจิต ทั้งทางปัญจทวาร และมโนทวาร จะเกิดกับสัตว์ประเภทกามบุคคล อารมณ์ที่เป็นกามอารมณ์และกามชวนะเท่านั้น วิถีต้องเป็นวิภูตารมณ์ที่เกิดทางมโนทวาร และอติมหันตารมณ์ทางปัญจทวาร

ธรรมละเอียดลึกซึ้งอย่างยิ่ง แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมแต่ละอย่างโดยไม่ปะปนกัน เป็นจริงอย่างไร ก็เป็นจริงอย่างนั้น ที่ได้ฟัง ได้ศึกษาเรื่องจิตประเภทต่างๆ ก็เพื่อเข้าใจว่า ไม่มีเรา ไม่ใช่เรา เป็นธรรมที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่เท่านั้น และก็เป็นการยากอย่างยิ่ง ที่จะรู้ถึงตทาลัมพนจิตในชีวิตประจำวัน แต่เวลากล่าวก็ต้องกล่าวตามพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ว่า ตทาลัมพนจิตเกิดได้ทั้งทางปัญจทวารและทางมโนทวาร และเฉพาะกามบุคคลในกามภูมิเท่านั้น เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น หนทางแห่งการอบรมเจริญปัญญา ที่เริ่มจากการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมเป็นปกติในชีวิตประจำวัน ก็จะค่อยๆ ทำให้ความเข้าใจถูกเห็นถูกเจริญขึ้นไปตามลำดับ จนกว่าจะถึงความเจริญสมบูรณ์พร้อมในที่สุด ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 20 ม.ค. 2558

เรียนรู้ชื่อจุดประสงค์เพื่อให้เข้าถึงธรรมะที่มีจริงในขณะนี้ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 20 ม.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
namkhang.k@gmail.com
วันที่ 21 ส.ค. 2559

อนุโมทนาสาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 6 พ.ค. 2561

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jarunee.A
วันที่ 21 ก.ค. 2567

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
พล.ต.อินทวัชร ลี้จินดา
วันที่ 13 ต.ค. 2567

สาธุครับ ฯ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ