สนทนาธรรมกันที่ไซ่ง่อน [พระวินัยปิฎกคืออะไร?] ตอน ๕
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อปีที่แล้วเดือนมกราคม ชาวต่างชาติที่เดินทางมาจากประเทศต่างๆ รวมทั้งชาว เวียดนามได้ร่วมสนทนาธรรมกับท่านอาจารย์สุจินต์ที่สวนผึ้ง จ.ราชบุรี ดิฉันได้มีโอกาส ร่วมสนทนาธรรมด้วยทุกครั้งที่ฟังธรรมเรื่องใด ก็ทำให้ได้เข้าใจถึงความจริงของธรรมที่ เป็นเพียงสภาพธรรม ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคล ทุกอย่างที่เกิดขึ้นเพราะมีเหตุปัจจัยเกิดทั้ง สิ้น แม้ขณะฟังธรรมไม่เข้าใจ มีความสงสัย ก็เป็นธรรม คิดก็เป็นธรรม ท่านอาจารย์กล่าว เสมอๆ ว่าการศึกษาธรรมก็เพื่อเข้าใจความจริงที่กำลังปรากฏ ไม่ใช่เรา
ขณะสนทนาธรรมที่สวนผึ้งมีท่านหนึ่งถามว่า พระวินัยปิฎก คืออะไร? ชาวเวียดนามท่าน หนึ่งตอบว่าเป็นกฎระเบียบข้อปฏิบัติของพระซึ่งมี ๒๒๗ ข้อ คุณนีน่าตอบว่าเพิ่งได้สนทนา ธรรมถึงเรื่องนี้กับท่านอาจารย์สุจินต์เมื่อไม่นานนี้เองยังจดไว้อยู่ ท่านนีน่าได้เปิดดูสมุดโน้ต และตอบว่า ทั้งหมดเป็นธรรม ดิฉันก็เริ่มเข้าใจความเป็นธรรมมากขึ้น เพราะการได้สนทนา ธรรม ได้ฟังธรรมเสมอๆ และพิจารณาถึงสิ่งที่ได้ฟัง ความมั่นคงในสิ่งที่มีจริงก็เพิ่มขึ้นว่า ไม่มี เรามีแต่ธรรมแต่ละอย่างที่เกิดขึ้นเป็นไป เมื่อกลับมาฟังธรรมที่มูลนิธิ ก็มีโอกาสได้ฟังเรื่องนี้ อีก ท่านอาจารย์ให้ อ.คำปั่นให้ความหมายของพระวินัย ซึ่ง อ.คำปั่นเรียนว่า เป็นธรรมทั้งหมด เป็นเครื่องนำกิเลสออก จริงๆ แล้วเป็นธรรมทั้งหมด ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน ที่จะไปประพฤติ ปฏิบัติ ยิ่งได้ฟังท่านอาจารย์สุจินต์กล่าวเสมอๆ ว่า ทั้ง๓ ปิฏกก็เป็นธรรมทั้งหมด ก็คือขณะนี้ ไม่พ้นจากตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เลย สิ่งที่กำลังปรากฏขณะนี้เป็นสิ่งที่ควรอบรมให้เข้า ใจ ถ้าไม่เข้าใจ เห็น ได้ยิน สิ่งที่ปรากฏทางตา เสียง แล้วจะไปรู้อะไร เพราะความจริงกำลัง มีอยู่ตรงหน้า เกิดดับอยู่ตลอดเวลา สิ่งที่มีจริงสามารถรู้ได้ด้วยปัญญาที่อบรมดีแล้ว ความ ไม่รู้ไม่สามารถรู้ได้ ไปนั่งหลับตาแล้วจะรู้อะไร
และอีกครั้งหนึ่งได้มาสนทนาธรรมที่ไซ่ง่อน ซึ่งเป็นวันที่ ๗ มกราคม ก่อนวันที่พวกเราจะ เดินทางกลับ วันนั้นท่านอาจารย์สุจินต์กรุณาเชิญชาวเวียดนาม รวมทั้งพระ ชาวต่างชาติ และพวกเราไปทานข้าวเที่ยง (ท่านอาจารย์เป็นเจ้าภาพ กราบอนุโมทนาในเมตตาของท่าน อาจารย์ที่มีต่อพวกเราทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มชาวเวียดนามซึ่งยังเป็นหนุ่มสาวผู้ ใคร่ฟังความจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง มีศรัทธาในคำบรรยายของท่านอาจารย์ เพื่อให้เข้าใจความจริง แต่ค่าใช้จ่ายในการจัดการสนทนาธรรมค่อนข้างมาก แต่ก็มีคนนำ ซองใส่เงินมาร่วมเจริญกุศลกัน สิ่งที่ดิฉันเห็นมีคนนำซองมามอบให้ท่านอาจารย์หลายซอง ท่านไม่ได้เปิดดูเลยว่าจำนวนเท่าไร และภายหลังก็เรียกกลุ่มชาวเวียดนามมาและก็ยื่นให้ เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งเป็นที่ซาบซึ้งแก่ดิฉันอย่างยิ่ง) และช่วงบ่ายก็มีการสนทนาธรรมกัน
การสนทนาธรรมช่วงบ่ายได่จัดขึ้นที่รีสอรท์ที่พวกเราได้ทานอาหารเที่ยงกัน ดิฉันเห็นพระ สองรูปนั่งอยู่ด้านหน้า ฟังด้วยความสนใจมาก และทุกครั้งที่ดิฉันมีโอกาสมาสนทนาธรรมที่ เวียดนามจะเห็นท่านมาสนทนาธรรมตลอด บางครั้งย้ายจากเมืองนี้ไปอีกเมืองหนึ่งท่านก็มี ศรัทธาที่จะตามไปฟังธรรม ดิฉันก็ถือโอกาสถามคำถามเดิมแก่คุณนีน่าว่า พระวินัยปิฎกคือ อะไร? ท่านก็ตอบว่า พระวินัยปิฎกนั้นทั้งหมดก็เป็นธรรม เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน เป็นข้อ ประพฤติปฏิบัติเพื่อการนำกิเลสออก เมื่อเราอ่านพระวินัยจะเข้าใจได้ว่าเป็นการเตือนเสมอๆ ของการอบรมเจริญสติปัฏฐาน เช่นความประพฤติของพระภิกษุในการฉัน เป็นไปโดยเรียบ ง่าย เพียงเพื่อประทังชีวิต ไม่เป็นไปเพื่อการตกแต่งร่างกาย ซึ่งคฤหัสอย่างเราปกติก็บริโภค อาหารด้วยความติดข้อง บางครั้งก็เพื่อให้มีผิวพรรณดี เป็นต้น ดังนั้นข้อประพฤติปฏิบัติใน พระวินัยก็สามารถเตือนให้ระลึกได้ถึงการขัดเกลากิเลส
พระภิกษุจึงไม่สมควรขอ สิ่งซึ่งนอกเหนือจากพระวินัยบัญญัติ ด้วยความติดข้อง ซึ่งไม่ เป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลส พระภิกษุจึงควรดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย เพื่อการขัดเกลาตาม พระวินัย หากประพฤติเป็นไปเพื่อสิ่งอื่นที่นอกเหนือจากนี้ก็เป็นไปเพื่อความติดข้อง หากพระ ภิกษุไม่ประพฤติตามพระวินัย หรือได้รับสิ่งอื่นที่นอกจากปัจจัย ๔ ตามพระวินัยที่กำหนดจาก คฤหัสแล้ว ไ ม่เป็นไปเพื่อการขัดเกลากิเลส ดังนั้นจึงเป็นภิกษุอยู่ด้วยการหลอกลวง เป็นโจร ในคราบภิกษุ
ฆราวาสจึงควรศึกษาพระวินัยเพื่อเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้พระภิกษุประพฤติถูก ต้องตามพระวินัย และฆราวาสไม่ควรกล่าวสิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์ต่อหน้าพระภิกษุ มีพระวินัย หลายข้อที่ทรงบัญญัติถึงการประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุ เป็นไปด้วยขัดเกลา ดังนั้นพระ ภิกษุควรรู้ว่าพระวินัยปิฎกทั้งหมด ก็คือ การอบรมเจริญสติปัฏฐาน (ถ้าไม่มีสภาพธรรมจะมี ศีล ๒๒๗ สำหรับพระภิกษุไหม? ทั้งหมดเป็นธรรม ท่านอาจารย์สุจินต์กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ค่ะ) ความหมายของภิกษุ มีหลายความหมาย ภิกษุ หมายถึง บุคคลผู้มีปกติอบรมเจริญสติ ปัฏฐาน อีกความหมายหนึ่งของภิกษุคือ ไม่จำเป็นต้องเป็นพระภิกษุเท่านั้น ผู้ที่อบรมเจริญ สติปัฏฐานก็ชื่อว่า ภิกษุ ดังนั้น พระวินัยปิฎกจึงไม่ควรเข้าใจว่าอยู่นอกเหนือจากการอบรม เจริญสติปัฏฐาน
กราบอนุโมทนาในกุศลจิตของ อ.นีนา ด้วยค่ะ
กราบเท้า บูชาคุณท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ด้วยความเคารพอย่างยิ่งค่ะ ...