สมาธิ

 
papon
วันที่  5 ก.พ. 2558
หมายเลข  26143
อ่าน  5,022

เรียน อาจารย์ทั้งสองท่าน

"สมาธิ" ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยกรุณาให้อรรถธิบายในคำนี้ด้วยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 6 ก.พ. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจตั้งแต่คำว่าสมาธิ ว่า สมาธิ คือ อะไร?

สมาธิ เป็นความตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด ว่าโดยสภาพธรรมแล้ว ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก ซึ่งเป็นเจตสิกธรรมหนึ่งที่จะต้องเกิดร่วมกับจิตทุกขณะทุกประเภท ไม่มีเว้น ดังนั้น ทุกขณะมีสมาธิเกิดแน่นอน แต่ที่น่าพิจารณาคือถ้าเกิดกับอกุศลก็เป็นมิจฉาสมาธิ ในทางตรงกันข้าม ถ้าเกิดกับกุศลก็เป็นสัมมาสมาธิ เพราะเป็นความถูกต้อง ในขณะที่เป็นกุศล จะเป็นอกุศลไม่ได้

สมาธิ เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ว่าโดยสภาพธรรมแล้ว เป็นเจตสิกประการหนึ่งที่ตั้งมั่นในอารมณ์หนึ่งอารมณ์ใด อารมณ์ คือ สิ่งที่จิตรู้ เมื่อจิตเกิดขึ้นต้องรู้อารมณ์ และก็จะต้องมีสมาธิซึ่งเป็นเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมกับจิตทุกครั้งทุกขณะ ไม่เว้นเลย ตั้งมั่นในอารมณ์ที่จิตกำลังรู้ ดังนั้น ไม่ว่าจะนั่ง จะยืน จะนอน จะเดิน จึงไม่ปราศจากสมาธิเลย เพราะเกิดกับจิตทุกขณะ และที่ควรพิจารณาคือสมาธิหรือเอกัคคตาเจตสิก เกิดกับอกุศลก็เป็นอกุศลสมาธิ

อกุศลสมาธิ เช่น การนั่งสมาธิ ไม่ควรเจริญ ไม่ควรประกอบ ซึ่งขณะนั้นเป็นไปกับด้วยความต้องการ อยากจะสงบ โดยที่ไม่รู้เลยว่าความสงบเป็นเรื่องของกุศลธรรม อกุศลสมาธิไม่เป็นไปเพื่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรม มีปัญญาเป็นต้น มีแต่จะเพิ่มพูนความไม่รู้และอกุศลธรรมอื่นๆ ต่อไป

ในสมัยพุทธกาล อุบาสก อุบาสิกา ผู้เป็นเพศฆราวาส ไม่ได้ทำอะไรให้ชีวิตผิดปกติ เพราะท่านเข้าใจว่า ธรรม เป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วในชีวิตประจำวัน การเจริญอบรมปัญญา ความสงบจึงไม่ต้องไปทำอะไรให้ผิดปกติโดยการนั่งสมาธิ แต่ท่านเข้าใจถูกและอบรมปัญญาในชีวิตประจำวัน และทำกิจการงานดังเช่นคฤหัสถ์ในปัจจุบันด้วย ดังเช่น ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีที่เป็นพ่อค้าและเป็นอริยสาวกและอบรมปัญญา เจริญกุศลในชีวิตประจำวัน มีการให้ทาน รักษาศีล อบรมปัญญา โดยไม่ได้ไปปลีกวิเวก หาที่นั่งสงบเลย เพราะความสงบคือจิตใจที่เป็นกุศลที่เกิดได้ในชีวิตประจำวัน เพราะจิตที่ดี สงบ ไม่ได้เลือก

ดังนั้น พระพุทธเจ้าทรงแสดงเรื่องสมาธิในสมัยพุทธกาล ว่า สมาธิ มีสองอย่าง คือ สัมมาสมาธิและมิจฉาสมาธิ สมาธิใดที่เป็นความตั้งมั่น ที่ไม่ได้หมายถึง จะต้องไปนั่งสมาธิ แต่ขณะแม้เพียงขณะจิตเดียวก็มีสมาธิ แต่เป็นความตั้งมั่น ขณะจิตที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วยที่รู้ความจริงที่เป็นวิปัสสนาภาวนา ขณะนั้นก็มีสมาธิด้วยและเป็นสัมมาสมาธิที่เป็นสมาธิที่ควรเจริญ

ส่วนการกระทำที่ได้แต่ความนิ่ง ไม่ทำให้เกิดปัญญาความรู้ พระพุทธเจ้าก็ทรงแสดงว่าเป็นมิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เพราะเกิดกับอกุศลจิต มีโลภะและโมหะ เป็นต้น คือมีความต้องการที่จะทำ อยากที่จะสงบ อันเป็นความต้องการที่เป็นโลภะ และขณะที่นิ่งก็ไม่รู้อะไร ขณะนั้นก็มีโมหะเกิดร่วมด้วย พระพุทธเจ้าทรงติเตียนมิจฉาสมาธิว่าไม่ควรเจริญ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แต้ม
วันที่ 6 ก.พ. 2558

เมื่อก่อนก็เข้าใจว่า ทำสมาธิ ก็คือ นั่งสมาธิ แต่ศึกษาจากพระหลายรูป หลายสำนัก ก็จะนำไปนั่งสมาธิเสียเป็นส่วนใหญ่ แต่พอได้ศึกษาพระธรรม ก็เข้าใจมากขึ้นว่าสมาธิคืออะไร แต่ก็ยังไม่มั่นใจมาก แต่พอมาได้สนทนาธรรมกับบ้านธัมมะก็มั่นใจยิ่งขึ้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 6 ก.พ. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ธรรม เป็นเรื่องที่ละเอียดลึกซึ้งมาก แสดงถึงสิ่งที่มีจริงทุกอย่างทุกประการตามความเป็นจริง ซึ่งถ้าไม่ได้ฟังพระธรรมก็จะไม่มีทางรู้เลยว่าเป็นธรรม

ดังนั้น การตั้งต้นเป็นสิ่งที่สำคัญ เมื่อกล่าวถึงสมาธิ ก็ควรที่จะได้เข้าใจในคำดังกล่าวนี้ก่อนว่า คืออะไร สมาธิ มีจริงๆ เป็นธรรม เกิดขึ้นเป็นไปอยู่ทุกขณะ เพราะเป็นเอกัคคตาเจตสิกที่เกิดกับจิตทุกขณะ ทุกประเภท ไม่ใช่ว่าพอได้ยินคำว่าสมาธิจะเป็นธรรมที่ดีเท่านั้น เนื่องจากว่าสมาธิที่เกิดกับจิตที่เป็นอกุศล จะดีไม่ได้ ก็ต้องเป็นอกุศลสมาธิ แต่ถ้าเกิดกับจิตที่เป็นกุศล ก็เป็นกุศล ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะเกิดกับจิตประเภทใด

ธรรม ไม่ได้มีเฉพาะสมาธิเท่านั้น มีมากมายทีเดียว ทั้งที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ทั้งหมดนั้นควรที่จะได้ฟัง ได้ศึกษา สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย เพราะหนทางแห่งการอบรมเจริญปัญญาเท่านั้น ที่จะเป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามความเป็นจริง ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 6 ก.พ. 2558

สมาธิ คือ ความตั้งมั่น ตั้งมั่นผิดก็มี ตั้งมั่นถูกก็มีค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ธุลีพุทธบาท
วันที่ 6 ก.พ. 2558

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์ทั้งสองท่าน

ขอบพระคุณและอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่าน ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 6 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
MrBug
วันที่ 7 ก.พ. 2558

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Haruethai Boonya
วันที่ 10 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 28 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่ 4 พ.ย. 2558

สาธุ อนุโมทนา และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ปาริชาตะ
วันที่ 6 พ.ย. 2558

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
thongkhun1937
วันที่ 15 ส.ค. 2561

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
chatchai.k
วันที่ 3 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ก.ไก่
วันที่ 9 มิ.ย. 2564

อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
pnat121214
วันที่ 23 ก.ค. 2564

สาธุ สาธุ สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
worrasak
วันที่ 8 ต.ค. 2564

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
Jarunee.A
วันที่ 21 ม.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ