จิตกับสมอง

 
rjanmod
วันที่  22 ก.พ. 2558
หมายเลข  26203
อ่าน  1,349

จิตเป็นนาม ส่วนสมองเป็นรูป เลยสงสัยว่า จิตเป็นการทำงานของสมอง หรือว่าสมองทำงานให้จิตครับ ขอเรียนถามเพราะสงสัยมานาน ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 22 ก.พ. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ที่กล่าวว่าเป็น สมอง นั้น ก็ต้องเป็นธรรม ที่เป็นรูปธรรม มีการเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรมที่ไม่รู้อะไรเลย เมื่อจับต้องก็มีเพียงแข็งหรืออ่อน ในเมื่อเป็นสภาพไม่รู้อะไร ก็คิดนึกอะไรไม่ได้

ส่วนจิตเป็นนามธรรม เป็นสภาพรู้อารมณ์ เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้ เป็นคนละส่วนกันกับสมองอย่างสิ้นเชิง จิตไม่ได้ทำงานให้สมอง สมองไม่ได้ทำงานให้จิต แต่ละหนึ่งๆ ล้วนเป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น

จิตเกิดขึ้นเป็นไปแต่ละขณะ มีที่อาศัยให้จิตนั้นเกิดขึ้น รูปอันเป็นที่อาศัยให้จิตเกิดขึ้น เรียกว่า วัตถุรูป วัตถุรูป เป็นรูปธรรมอันเป็นที่เกิดของจิต ตามควรแก่จิตประเภทนั้นๆ มี ๖ ประเภท ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และ หทยวัตถุ เพราะในภูมิที่มีรูป จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดร่วมด้วยจะต้องเกิดที่วัตถุรูป ไม่ได้เกิดนอกรูปเลย แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมซึ่งเป็นสิ่งที่มีจริงๆ เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 22 ก.พ. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เข้าใจพื้นฐานก่อนนะครับ เราเข้าใจว่าสมองมีเมื่อไหร่ เมื่อคิด ตอนนี้สมองอยู่ที่ไหน ขณะที่เห็น สมองอยู่ที่ไหน ขณะที่ได้ยิน สมองอยู่ที่ไหน ดังนั้น เราต้องแยกสภาพธัมมะ ที่มีจริง (ปรมัตถ์) และไม่มีจริง (บัญญัติ)

ที่กล่าวว่าสมองเป็นรูป อะไรเป็นรูป ขณะที่จับวัตถุสิ่งหนึ่งที่บัญญัติว่า เป็นสมอง อะไรเป็นรูป ขณะจับ สภาพอ่อน แข็ง ใช่ไหมที่เป็นรูป เพราะมีจริง เป็นสภาพธัมมะที่ไม่รู้อะไร ดังนั้น สภาพธัมมะ ที่อ่อน แข็ง เป็นต้น จึงเป็นรูป สมองไม่ใช่รูป แต่บัญญัติขึ้น เพราะอาศัยรูป ที่ประชุมรวมกัน จึงบัญญัติว่า เป็นสมอง รูป มี 28 รูป

โต๊ะ เป็นรูปไหม ไม่ใช่ แต่อาศัย รูปต่างๆ ที่ประชุมรวมกัน (เช่น ธาตุ ดิน น้ำ ไฟ ลม..จึงบัญญัติว่าโต๊ะ)

จิต เป็นสภาพธัมมะที่มีจริง เป็นสภาพรู้เท่านั้น ไม่มีสั่ง ตามความเข้าใจเดิม

ถ้าอบรมปัญญาจนรู้จริงๆ ก็จะทราบว่ามีแต่รูปธรรม กับ นามธรรม ไม่มีเรา ไม่มีกลุ่มก้อนของอวัยวะอะไรทั้งสิ้น ที่เราคิดว่าเรามีอวัยวะต่างๆ เพราะความยึดถือไว้ว่ามี แต่ความจริงไม่ปรากฏลักษณะอะไรเลย แล้วก็มีเมื่อจำได้ว่ามีเท่านั้น เพราะเคยยึดถือมานานว่าเป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด ซึ่งถ้าไม่ได้คิด สิ่งที่คิดว่ามีก็ไม่มีแล้ว เมื่อกี้ไม่ได้คิดถึง "สมอง" แต่ตอนนี้คิด เพราะเห็นสีต่างๆ แล้วคิดเป็นคำว่า "สมอง" แล้วก็จำไว้ว่ายังมีกลุ่มก้อนนั้นอยู่ในตัวเราอย่างรวดเร็ว นี่คือ อัตตสัญญา ครับ เป็นสัญญาที่จำผิดว่ามีสิ่งนั้น ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นไม่มีลักษณะปรากฏให้รู้ได้เลย ตอนนี้ลักษณะของสมองปรากฏในขณะนี้หรือเปล่าครับ ไม่ปรากฏเลย

ความจริงสมอง ตับ ไต ปอด หัวใจ เป็นเพียงบัญญัติ เป็นชื่อที่หมายเรียกไว้ให้รู้ตรงกันในกลุ่มบุคคลหนึ่ง ว่าสีสันอย่างนี้ เรียกอย่างนี้ สีสันอย่างนั้น เรียกอย่างนั้น แต่อีกกลุ่มบุคคลหนึ่ง มีชื่อเรียกอย่างอื่น ก็จะไม่เรียกตรงกับคนกลุ่มนี้ เพราะฉะนั้น นี่คือ สมมติสัจจะ จริงโดยชื่อ แต่ไม่ใช่จริงแท้ เพราะชื่อต่างๆ เปลี่ยนชื่อเรียกได้ และไม่มีลักษณะปรากฏ แต่จริงแท้ แม้ไม่เรียกชื่อ คือ ปรมัตถสัจจะ เช่น สีสันต่างๆ ที่มีลักษณะปรากฏให้จิตรู้ได้ ถ้าไม่มีสีสันอะไร ไม่มีจิตไปรู้สีนั้น และไม่มีจิตคิดถึงรูปร่างสัณฐาน ก็จะไม่มีใครบัญญัติเรียกสีที่ต่างกัน ให้เป็นชื่ออวัยวะที่ต่างกันได้เลย แต่เมื่อมีของจริงแท้ คือ สีสันต่างๆ และรู้ได้ด้วยจิตต่างๆ ต่อมาจึงมีการตั้งชื่อเรียกเป็นสิ่งต่างๆ เป็นอวัยวะต่างๆ นั่นเอง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 25 ก.พ. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 14 ก.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Kalaya
วันที่ 14 ก.ค. 2565

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Jarunee.A
วันที่ 5 มี.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ