กระบวนการปฏิสนธิจิต จนไปถึงวิบาก

 
phurit2014
วันที่  13 มี.ค. 2558
หมายเลข  26304
อ่าน  1,083

อาจจะใช้คำศัพท์ไม่ถูกนะครับแต่อยากรบกวนสอบถามผู้รู้ เกี่ยวกับกระบวนการในการปฏิสนธิจิต จนไปถึงวิบาก ว่ามีกระบวนการอย่างไร..ขณะจิตที่เกิดเป็นอย่างไร..อะไรเป็นเหตุให้เกิดอะไร ถ้าเราสร้างเหตุปัจจัยในการปฏิสนธิจิตได้ ก็เท่ากับว่าเรากำหนดวิบากของเราได้ใช่หรือไม่ครับ

ขอบคุณครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 13 มี.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ก่อนอื่นก็ต้องเข้าใจก่อนว่า จิต คือ อะไร? จิต เป็นสภาพธรรมที่มีจริงๆ เป็นนามธรรมที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งอารมณ์ ทุกขณะของชีวิต ไม่เคยปราศจากจิตเลย มีจิตเกิดดับสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย จิตขณะหนึ่งเกิดแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อ เป็นลำดับด้วยดี ตามความเป็นไปของจิต จิตขณะแรกของภพนี้ชาตินี้คือ ปฏิสนธิจิต ซึ่งเกิดสืบต่อจากจุติจิตของชาติที่แล้ว เมื่อปฏิสนธิจิตเกิดแล้วดับไป เป็นปัจจัยให้จิตขณะต่อไปเกิดสืบต่อ นั่นก็คือ ภวังคจิต ทั้งปฏิสนธิจิตและ ภวังคจิต ก็คือ วิบากจิต เป็นผลของกรรม

และกว่าจะมาถึงขณะนี้ ก็มีจิตเกิดดับสืบต่อกันอย่างไม่ขาดสาย ซึ่งเมื่อศึกษาไปตามลำดับก็จะเข้าใจได้ว่า จิตขณะไหนเป็นเหตุ คือ เป็นกุศล และ เป็นอกุศล จิตขณะไหนเป็นวิบาก คือ เป็นผลของกรรม จิตขณะไหนเป็นกิริยา เพียงเกิดขึ้นทำกิจหน้าที่แล้วดับไปไม่เป็นปัจจัยให้วิบากจิตเกิดขึ้นในภายหน้าได้เลย และที่สำคัญ วิบากที่พอจะเข้าใจได้ในชีวิตประจำวัน ก็คือ ขณะเห็น ขณะได้ยิน ขณะได้กลิ่น ขณะลิ้มรส ขณะรู้สิ่งที่กระทบสัมผัสทางกาย

ธรรมเกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครได้ ไม่มีใครกำหนดวิบากได้ ไม่มีใครบังคับบัญชาให้สภาพธรรมหนึ่งสภาพธรรมใดเกิดตามใจชอบ แต่เกิดเพราะเหตุปัจจัย ขณะแรกที่เกิดในภพนี้ชาตินี้ ไม่มีใครสร้าง ไม่มีใครทำให้เกิด แต่เป็นผลของกรรมที่เคยได้กระทำแล้วในอดีต ซึ่งไม่สามารถจะรู้ได้เลยว่า เป็นผลของกรรมอะไร ในชาติไหนที่ให้ผลนำเกิดในภพนี้ชาตินี้ แต่ก็ได้เกิดมาแล้วเป็นมนุษย์ ดังนั้น ที่สำคัญที่สุดแล้ว จึงไม่ควรที่จะประมาทในชีวิตประจำวัน ไม่ประมาทในการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ไม่ประมาทในการเจริญกุศลทุกประการ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
phurit2014
วันที่ 13 มี.ค. 2558

ขอบคุณครับ

เข้าใจว่า กรรมที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนี้

ไม่สามารถรู้ได้เลย ว่าเป็นกรรมที่มาจากชาติก่อน หรือชาตินี้

และไม่มีใครสร้างเหตุปัจจัยให้เกิดกรรมใดๆ ได้

แต่...จิตในขณะที่กำลังคิด จะทำทาน

กำลังทำทาน และทำทาน สิ้นสุดลงแล้ว

หรือเพียงในขณะจิตคิดเมตตา

แบบนี้ ถือเป็นการสร้างเหตุปัจจัย รึเปล่าครับ

ขอคำแนะนำในการศึกษาธรรมตามลำดับด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 13 มี.ค. 2558

เรียน ความคิดเห็นที่ ๒ ครับ

ไม่มีตัวตนที่สร้าง แต่เป็นธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัย แม้แต่การเจริญกุศลประการต่างๆ การให้ทาน การมีเมตตา ต่อผู้อื่น ก็คือ สภาพจิตที่ดีงามที่เกิดขึ้นเป็นไป เป็นไปตามการสะสมของแต่ละบุคคล ขณะที่ความดีเกิดขึ้น ก็เป็นการสะสมเหตุที่ดี ดังนั้น สำคัญที่ความเข้าใจ ไม่ใช่สำคัญอยู่ที่การเรียกชื่อ ครับ ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
peem
วันที่ 14 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 14 มี.ค. 2558

ชีวิตที่เกิดมาส่วนหนึ่งเราใช้กรรมไปครึ่งหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งทำเหตุใหม่ ถ้าชาตินี้ทำเหตุดี สะสมกุศลสะสมปัญญา ชาติหน้าก็ได้ดีตามเหตุปัจจัยที่สะสมมา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Patchanon
วันที่ 14 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
aurasa
วันที่ 14 มี.ค. 2558

การศึกษาพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียด

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
phurit2014
วันที่ 14 มี.ค. 2558

หมายความว่า

"ความคิด" ที่ว่าเราสร้าง เป็นเพียง "การปรุงแต่งของจิต" ของ

"สภาพธรรม" ที่เกิดจาก "การสั่งสมของเหตุปัจจัย" เท่านั้น

ดังนั้นสิ่งที่เป็น "ฉันทะที่เกิดขึ้นจาการสั่งสมของเหตุปัจจัย"

จะสำเร็จได้ ก็เพราะการสั่งสมของเหตุปัจจัยที่ทำให้สำเร็จนั้นๆ ให้ถึงพร้อม

ตามลักษณะการเกิดเหตุปัจจัยที่ต้องศึกษาตามลำดับ ใช่มั้ยครับ

คือผมตั้งใจจะถามเกี่ยวกับ "ฉันทะที่เกิดจากการสั่งสมเหตุปัจจัย"

จะ "สำเร็จได้อย่างไร" นั่นล่ะครับ

ที่เคยได้ยินก็คืออิทธิบาท 4 แต่อยากทราบกระบวนการในขั้นจิตที่เกิดน่ะครับ

ขอบคุณครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 15 มี.ค. 2558

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ประสาน
วันที่ 17 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
kullawat
วันที่ 17 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
วชรปกรณ์
วันที่ 19 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
kuan.wetchaporn
วันที่ 28 มี.ค. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
สิริพรรณ
วันที่ 29 มี.ค. 2558

เป็นหัวข้อที่น่าสนใจ ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
PanisaraA
วันที่ 30 มี.ค. 2558

เป็นหัวข้อที่ควรศึกษาอย่างละเอียด

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
papon
วันที่ 1 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
Jarunee.A
วันที่ 21 ม.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ