เนรคุณ หรือ คนอกตัญญู

 
chatchai.k
วันที่  16 มี.ค. 2558
หมายเลข  26320
อ่าน  13,288

เนรคุณ ไม่เห็นคุณของผู้ทำคุณให้ตน ไม่กระทำตอบแทน บางครั้งยังทำสิ่งที่ไม่เหมาะสมกับผู้มีพระคุณกับตน อย่างเช่นในพระชาติหนึ่งของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าและท่านพระเทวทัต ที่เกิดในชาติเดียวกัน เป็นพ่อค้าที่มีฐานะทั้งสองท่าน เมื่อท่านพระเทวทัตในชาตินั้นยากจนลง พระอรหันตมัมมาสัมพุทธเจ้าในพระชาตินั้นแบ่งทรัพย์ให้ครึ่งหนึ่ง พ่อค้านั้นก็ร่ำรวยขึ้นเหมือนเดิม เมื่อพระอรหันตมัมมาสัมพุทธเจ้าในพระชาตินั้น เกิดยากจนลง ท่านพระเทวทัตในชาตินั้นกลับไม่ให้การต้อนรับและไม่ช่วยเหลือตามที่ควร

ขอเรียนถามว่า การเนรคุณผู้มีพระคุณ เป็นอกุศลกรรมหรือไม่อย่างไรครับ และโปรดนำพระสูตรนี้มาแสดงด้วยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 16 มี.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความกตัญญู รู้คุณ คือ ความเป็นผู้รู้คุณของผู้อื่นและกระทำตอบแทน

ส่วน ความอกตัญญู คือ ความเนรคุณ การไม่รู้คุณของผู้อื่น และไม่กระทำการตอบแทนพระคุณ คือ ไม่เลี้ยงดู มารดา บิดา เป็นต้น

ซึ่งการเนรคุณ อกตัญญู การไม่ทำหน้าที่ที่ควรทำ จิตขณะนั้นเป็นอะไร ก็เป็นอกุศลจิต เพราะการรู้คุณต้องเป็นจิตที่ดี ที่เป็น จิตดีงาม การไม่รู้จักคุณ เนรคุณ ย่อมเป็นจิตที่ไม่ดี เป็นอกุศล แต่การจะเป็นอกุศลกรรมให้ผลนั้น ก็ต้องพิจารณาถึงการกระทำด้วย หากทำสิ่งที่ไม่ดี ต่อบุคคลนั้น ต่อ บิดา มารดา มีการกล่าวว่า ว่าร้าย กับคนที่มีพระคุณอย่างนี้ ก็คือ เป็นอกุศลกรรม ครับ เพราะฉะนั้น ก็ต้องพิจารณาองค์ประกอบอื่นๆ ว่าจะจัดเป็น อกุศลกรรม ที่ทำให้มีการให้ผลหรือไม่ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 16 มี.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ความประพฤติเป็นไปที่ไม่เหมาะไม่ควรต่างๆ นั้น เกิดขึ้นไม่ได้อย่างแน่นอนถ้าไม่มีกิเลส แต่เพราะมีกิเลส ซึ่งได้สะสมมาอย่างยาวนาน เมื่อได้เหตุปัจจัยก็เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ เป็นไปตามกิเลสประเภทนั้น ซึ่งออกมาในลักษณะต่างๆ ทั้งหมดนั้นเป็นธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย แม้แต่ในเรื่องของความเป็นคนอกตัญญู หรือ เป็นคนเนรคุณ ไม่รู้คุณของผู้อื่นนั้น ก็คือ กิเลส นั่นเอง เป็นเรื่องของธรรมฝ่ายดำ ที่เป็นไปกับด้วยความไม่รู้ ด้วยความไม่พอใจ เป็นต้น เป็นเครื่องเศร้าหมองของจิต และทำให้มีความประพฤติเป็นไปตามกิเลสหรืออกุศลประเภทนั้นๆ และถึงกับล่วงเป็นอกุศลกรรมได้ เช่น เบียดเบียนประทุษร้าย เป็นต้น ขึ้นชื่อว่ากิเลสทั้งหลาย มีโลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น แล้ว เป็นสภาพธรรมที่ไม่สะอาดไม่บริสุทธิ์ เพราะเป็นธรรมที่เศร้าหมอง ทำให้จิตเศร้าหมองไม่สะอาด ไม่ว่าจะเป็นเพศหญิงหรือชายตราบใดที่ยังไม่ได้ดับกิเลส กิเลสก็ยังมีอยู่และเกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดขึ้น ย่อมไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์เลยแม้แต่นิดเดียว มีแต่นำมาซึ่งทุกข์โทษภัยเท่านั้น

พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงตลอด ๔๕ พรรษา ไม่ว่าจะโดยนัยใดก็ตาม หรือแม้แต่ชาดกต่างๆ ล้วนแล้วแต่เป็นคำพร่ำสอน เพื่อให้พุทธบริษัทเห็นโทษเห็นภัยของกิเลส เพื่อสำรวจตนเองว่ายังเป็นผู้มากไปด้วยกิเลส เพื่อจะได้ขัดเกลาละคลายให้เบาบางลง ด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง โดยเริ่มจากการฟัง การศึกษาพระธรรม สะสมปัญญาไปตามลำดับ ครับ.


...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ประสาน
วันที่ 17 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
papon
วันที่ 17 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
chatchai.k
วันที่ 17 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
j.jim
วันที่ 18 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
รู้จบลงที่รู้
วันที่ 18 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
peem
วันที่ 18 มี.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Jarunee.A
วันที่ 8 ก.พ. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ