ผู้มีนิสัยโลเล
ในอรรถกถากโปตกชาดกที่ ๒ ได้กล่าวถึงภิกษุที่มีนิสัยโลเล
ขอเรียนถามว่าภิกษุรูปนั้น เป็นผู้โลเลอย่างไร มีแสดงไว้หรือไม่ และความเป็นผู้โลเล ทำให้ถึงความฉิบหายอย่างไรครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ความโลเล เป็น อกุศลธรรม มุ่งหมายถึง ความไม่แน่นอน ความไม่ตรง ทั้งทางกาย วาจา และใจ เป็นผู้โลเล คือ กลับกลอกด้วยอกุศล กายก็ไม่ตรง วาจาก็ไม่ตรง เพราะใจที่เป็นอกุศลไม่ตรง จึงเป็นผู้ที่โลเล เชื่อถือไม่ได้ ชื่อว่าเป็นผู้โลเล ครับ
ซึ่งผล ความเดือดร้อนที่เกิดจากความโลเล ก็คือ อกุศลธรรม ย่อมนำมาซึ่งความเดือดร้อน คือ สะสมอกุศล ให้เป็นผู้มีอุปนิสัยโลเล ไม่ตรงทาง กาย วาจา และใจ จึงประกอบการทุจริตทางกาย วาจา และใจ อันเป็นเหตุให้ทำอกุศลกรรม ย่อมนำมาซึ่งความเดือดร้อนในโลกนี้ มีการถูกจองจำ หรือถูกฆ่า เป็นต้น ดั่งเช่นเรื่องใน กโปตกชาดก และทำให้เป็นเหตุให้อบายภูมิ เพราะการทำอกุศลกรรม อันเป็นเหตุจากการสะสมอุปนิสัยเป็นผู้โลเลนั่นเองครับ
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๒- หน้าที่ 87
บทว่า จปโล ความว่า ชื่อว่าเป็นผู้โลเล เพราะความเป็นผู้มีจิตไม่มั่นคง เหมือนลิงป่า และกลับกลอก
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
โลเล ส่วนใหญ่ที่ได้แสดงไว้นั้น แสดงถึงความเป็นจริงของธรรมทางฝ่ายที่เป็นอกุศล โดยเฉพาะโลภะ ความติดข้องต้องการ ติดข้องในทรัพย์บ้าง ในอาหารบ้าง ในสตรีบ้าง ในบุรุษบ้าง ในเครื่องประดับบ้าง เป็นต้น เมื่อสะสมมากขึ้น มีกำลังมากขึ้นก็ล่วงเป็นทุจริตกรรมประการต่างๆ เป็นเหตุให้ตัวเองเดือดร้อน ขึ้นชื่อว่า โลภะ ความติดข้องต้องการ จะเป็นสิ่งที่ดีไม่ได้เลย เมื่อเป็นสิ่งที่่ไม่ดีแล้ว จะนำมาซึ่งผลที่ดีไม่ได้เลย ครับ
ขอเชิญคลิกอ่านชาดกที่กล่าวถึงภิกษุผู้โลเล ดังนี้
กโปตกชาดก ... ว่าด้วยคนที่ต้องพินาศ [ขุททกนิกาย ชาดก]
...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...