พุทธวจน และพุทธพจน์
พุทธวจน และพุทธพจน์ มีความหมายเหมือนกันไหม หรือ ต่างกันอย่างไรครับ กรุณายกตัวอย่าง พุทธวจน และ พุทธพจน์ ที่เกี่ยวกับการน้อมนำธรรมสู่ชีวิต ครับ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระพุทธพจน์ กับ พุทธวจน มีความหมายเหมือนกัน หมายถึง พระดำรัส (คำพูด) ของพระพุทธเจ้า ซึ่งก็คือ พระธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงทั้งหมด 3 ปิฎก
ดังนั้น พระพุทธพจน์ พระพุทธวจน ที่เป็นพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ก็รวมทั้งพระอภิธรรมด้วย พระสุตตันตปิฎกด้วยและพระวินัยด้วยครับ
ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า การจะตัดสินว่า ธรรมใดเป็นพระธรรมคำสั่งสอนของเราหรือไม่ ให้พิจารณาในคำสอนนั้นว่า คำสอนใดเป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัดจากกิเลส ละกิเลส เป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา และเจริญขึ้นของกุศลและปัญญา คำสอนนั้นเป็น คำสอนของเรา แต่ธรรมใดไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อละกิเลส แต่เป็นไปเพื่อได้ เพื่อติดข้องไม่รู้และไม่ทำให้เจริญขึ้นในกุศลและปัญญา คำสอนนั้นไม่ใช่ คำสอนของเราที่เป็นพุทธพจน์ พุทธว
จน ครับ
ซึ่ง พระสุตตันตปิฎก เป็นคำสอนที่แสดงถึงเรื่องราวที่แสดงกับบุคคล แต่เป็นเรื่องราวที่ตรงตามความเป็นจริง ทำให้ผู้ฟังเกิดกุศลและเกิดปัญญา และละคลายกิเลส ดังนั้น พระสุตตันตปิฎก จึงเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าที่เป็นพุทธวจนพุทธพจน์ครับ
ส่วนพระอภิธรรม ก็แสดงเพื่อให้ผู้ฟังได้เข้าใจตามความเป็นจริงว่ามีแต่ธรรมไม่ใช่เรา อันเป็นไปเพื่อละกิเลส คือ ความไม่รู้ และเจริญขึ้นของปัญญา เพราะฉะนั้น เมื่อเป็นดังนี้ พระอภิธรรมก็เป็นพระพุทธพจน์ เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเช่นกัน ดังเช่นที่พระพุทธองค์ทรงแสดงว่า คำสอนใดเป็นไปเพื่อละคลายกิเลส มีความไม่รู้และเจริญขึ้นของกุศลและปัญญา เป็นคำสอนของเรา ดังนั้น การศึกษาธรรมจึงต้องเป็นผู้ละเอียดรอบคอบในการศึกษาพระธรรม จึงจะได้สาระจากพระธรรม คือ ความเห็นถูกและละคลายกิเลส ครับ
พระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง เป็นไปเพื่อความเข้าใจ เห็นถูก เป็นไปเพื่อสร่างจากความเมา คือ กิเลสประการต่างๆ มี โลภะ โทสะ โมหะ เป็นต้น ที่สำคัญที่สุดจึงต้องเริ่มสะสมปัญญา จากการฟังการศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวันตั้งแต่ในขณะนี้ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่มีค่าที่สุดสำหรับชีวิต เพราะเมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นได้ตามความเป็นจริงว่าในชีวิตนี้ ไม่มีอะไรที่จะมีค่าเท่ากับการได้เข้าใจพระธรรมจริงๆ ครับ ขอเชิญคลิกอ่านข้อความเพิ่มเติมได้ที่นี่ครับ
พระพุทธพจน์ [พระวินัยปิฎก มหาวิภังค์]
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง เป็นคำจริง เป็นคำอนุเคราะห์เกื้อกูลให้เข้าใจถูกเห็นถูกตามความเป็นจริง เกิดจากการตรัสรู้ของพระองค์ ที่กว่าจะได้ตรัสรู้นั้น พระองค์ต้องบำเพ็ญพระบารมีสะสมคุณความดีประการต่างๆ ตลอดระยะเวลาที่ยาวนานถึงสี่อสงไขยแสนกัปป์ พระบารมีที่พระองค์ทรงบำเพ็ญมาทั้งหมดก็เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่สัตว์โลกอย่างแท้จริง ให้มีความเข้าใจถูกเห็นถูกในลักษณะของสภาพธรรมตามความเป็นจริง พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติตามจนกระทั่งถึงความเป็นผู้หมดจดจากกิเลสในที่สุด จะเห็นได้ว่าเมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้แล้ว พระองค์ทรงแสดงพระธรรมตลอด ๔๕ พรรษา ทรงพร่ำสอนพุทธบริษัท บ่อยๆ เนืองๆ ตั้งแต่เริ่มประกาศพระศาสนาจนกระทั่งถึงเวลาที่พระองค์จวนจะเสด็จดับขันธปรินิพพาน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า พระธรรม มีประโยชน์มาก ทำให้ผู้ได้ฟังได้ศึกษามีความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นไปเพื่อขัดเกลาละคลายกิเลส จนกว่ากิเลสจะดับหมดสิ้นไป คำจริง ทั้งหมด ที่เป็นไปเพื่อความเข้าใจถูกเห็นถูก เป็นคำของพระองค์
พระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ซึ่งเป็นพระพุทธพจน์หรือพุทธวจนหรือพุทธวัจน์ นั้น มีค่ามาก มีค่ายิ่งกว่าทรัพย์สมบัติใดๆ ในโลกทั้งปวง เพราะเหตุว่า ถ้าสามารถจะเข้าใจทุกพยัญชนะได้จริง จะเกื้อกูลให้แต่ละบุคคลอบรมเจริญปัญญาได้โดยถูกต้อง ไม่ผิดพลาด จึงต้องฟังด้วยความเคารพอย่างยิ่ง ด้วยความละเอียดรอบคอบ ไม่ควรให้ผ่านไปโดยฟังอย่างไม่ตั้งใจ เพราะเหตุว่า บุคคลผู้ฟังด้วยดี ย่อมได้ปัญญา ปัญญาย่อมเจริญขึ้น เพิ่มขึ้นจากการฟังในแต่ละครั้งครับ
... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...
พระพุทธเจ้าได้ตรัสกับพระนางมหาปชาบดีโคตมีว่า การจะตัดสินว่า ธรรมใดเป็นพระธรรมคำสั่งสอนของเราหรือไม่ ให้พิจารณาในคำสอนนั้นว่า คำสอนใดเป็นไปเพื่อเบื่อหน่าย คลายกำหนัดจากกิเลส ละกิเลส เป็นไปเพื่อความมักน้อย สันโดษ ขัดเกลา และเจริญขึ้นของกุศลและปัญญา คำสอนนั้นเป็น คำสอนของเรา แต่ธรรมใดไม่เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย คลายกำหนัด ไม่เป็นไปเพื่อละกิเลส แต่เป็นไปเพื่อได้ เพื่อติดข้องไม่รู้และไม่ทำให้เจริญขึ้นในกุศลและปัญญา คำสอนนั้นไม่ใช่ คำสอนของเราที่เป็นพุทธพจน์ พุทธวจน ครับ
ทุกวันนี้ ไปไหนก็เจอแต่คำว่า พุทธวจน พอเปิดเข้า เว็ปไซต์ หรือ เฟชบุ๊ก ก็จะมีคำสอนสำเร็จรูป quote เป็นข้อความ แล้วพากันส่งต่อ
ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ
โดยทั่วไปถ้าไม่เคยได้ศึกษาพระธรรมอย่างลึกซึ้ง ก็จะเป็นผู้ที่ถูกชักจูงได้ง่ายจากการใช้คำพูดและสื่อต่างๆ ซึ่งมีมาก การหยิบยกเฉพาะบางส่วนว่าเป็นพระพุทธพจน์ เหมือนเป็นภาพจิ๊กซอว์ที่ต่อไม่ครบ ไม่สามารถอธิบายธรรมได้ทั้งหมด
ความหมายเหมือนกันเลยครับ เรื่องนี้ "ครูลิลลี่ กิจมาโนชญ์ โรจนทรัพย์" เป็นผู้ยืนยันด้วย เรื่อง "พ. กับ ว ใช้แทนกันได้" (ดูจาก Youtubeก็ได้) ไม่ว่าจะเป็น พรรณ-วรรณ, เทพ-เทว, วนา-พนา, เวลา-เพลา, วิเศษ-พิเศษ เป็นต้นครับ