บันเทิงในธรรมที่ญี่ปุ่น 1 เพราะทำเห็นและสิ่งที่ปรากฏให้เห็นไม่ได้

 
kanchana.c
วันที่  9 เม.ย. 2558
หมายเลข  26428
อ่าน  1,958

เพราะทำเห็นและสิ่งที่ปรากฏให้เห็นไม่ได้

หายเหนื่อยแล้วค่ะ หลังจากกินกับนอนมาเกือบอาทิตย์ ร่างกายที่อ่อนล้าด้วยวัย (คงไม่ใช่ วัยอย่างเดียว เพราะท่านอาจารย์อายุมากกว่า 2 รอบ ท่านยังสดชื่นแจ่มใสทุกวัน แต่คงเพราะ จิตที่ขุ่นมัวด้วยอกุศลเป็นพื้นมากกว่าที่ทำให้รูปที่เกิดจากจิตนั้นท้อถอย ห่อเหี่ยว ง่วงเหงา) ก็ ฟื้นตัว สามารถลุกขึ้นมารายงานข่าวแห้งได้แล้ว แฟนคลับที่ไปด้วยกัน คือ คุณม้อบอกว่า เขียนให้มันๆ หน่อย เราก็อยากจะเขียนให้มันๆ แต่ทุกคนมักจะลืมเสมอๆ ว่า ทุกอย่างเป็น ธรรมะซึ่งเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัย บางทีคนเขียนมันในการเขียน แต่คนอ่านอาจจะไม่มันก็ได้นะ คุณม้อ ถ้าไม่ถูกใจ

ระหว่างวันที่ 27 มี.ค. 58 – 3 เม.ย. 58 เวลา 8 วัน 7 คืน คุณเบญจวรรณ รัศมีสุวรรณกุล ได้เจริญกุศลเรียนเชิญท่านอาจารย์และพี่จี๊ดไปพักผ่อนที่ตอนกลางและใต้ของญี่ปุ่น พร้อมกับ สหายธรรมติดตามไปพักผ่อนด้วยรวมทั้งหมด 29 คน เพื่อให้ท่านอาจารย์ได้พักผ่อนจริงๆ จึง ไม่มีการสนทนาธรรมตามเวลาที่กำหนด แล้วแต่ท่านจะเมตตาสนทนาธรรมด้วยตอนไหน แต่ เมื่ออยู่ใกล้ท่านซึ่งเป็นคลังพระธรรม ท่านก็สนทนาธรรมด้วยเสมอ แต่จะเข้าใจได้แค่ไหนนั้น แล้วแต่การสะสมของแต่ละคนจริงๆ

เมื่อถึงสนามบินนาโกย่า ไกด์จากเมืองไทย คือ คุณวุฒิชัย แนะนำให้รู้จักไกด์ท้องถิ่น คุณวีกิจหรือวีคุง (เด็กชายวี) เห็นครั้งแรกจากรูปร่างหน้าตาคิดว่าเป็นคนญี่ปุ่นที่พูดไทยได้ แต่ที่ไหนได้ เธอเป็นนักศึกษาปริญญาเอกที่โตเกียว จบวิศวะ คอมพิวเตอร์จากจุฬา วีคุง ทำการบ้านสำหรับเป็นมัคคุเทศก์มาดีมาก สมกับเรียนดอกเตอร์ อธิบายแต่ละเมืองที่ผ่าน ไปอย่างละเอียด ทั้งประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์แสะลังคมศาสตร์ แล้วยังหน้าตาดีแบบญี่ปุ่น พูดเพราะ สุภาพ มีอารมณ์ขัน ทำให้ยายๆ ป้าๆ รวมทั้งมาม้าม้อติดใจ มาถึงเมืองไทย หลายวันแล้วยังพูดถึงวีคุงไม่หยุดปากเลย (ผ่านทาง Line) ถ้าวีคุงเล่นลิเก คงมีแม่ยกเยอะ เหมือนไชยา มิตรชัยแน่ แต่แม้คุณวุฒิที่แสนดีและสุภาพเช่นกันและวีคุงจะอธิบายดีอย่างไร ก็ตาม ก็ลืมหมดแล้ว มาดูภาพที่ถ่ายไว้ ก็จำได้แต่สถานที่ว่าคืออะไร แต่จะสร้างเมื่อไร โดย ใคร ใช้สำหรับทำอะไรนั้นลืมหมด

แต่คงไม่สำคัญ เพราะถ้าใครอยากรู้ก็ถามอากู๋ได้ตลอดเวลา อย่าว่าแต่สถานที่ท่องเที่ยว สำคัญของแต่ละเมืองที่จำไม่ได้เลย แม้แต่สิ่งที่คิดว่าสำคัญที่สุดในชีวิตขณะนี้ เมื่อตายเป็น บุคคลใหม่ก็ลืมเรื่องหรือคนที่คิดว่าสำคัญ ขาดไม่ได้นั้นหมดสิ้น ไม่มีอะไรเหลืออยู่ในความ ทรงจำเลย เหมือนที่เกิดมาเป็นคนนี้ในชาตินี้ที่จำเรื่องราวของชาติก่อนไม่ได้แม้แต่นิดเดียว จดจำแต่เรื่องราวในชาตินี้เท่านั้น และอีกไม่นานก็จะลืมหมดเช่นกัน

ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความเข้าใจธรรมะ ซึ่งจะเก็บไว้ในจิต เมื่อมีเหตุปัจจัยที่เหมาะ สมทำให้ได้ฟังธรรมอีกก็จะเข้าใจได้ง่ายขึ้นและมากขึ้น ระหว่างเดินทางท่านอาจารย์เมตตา ให้ผู้ไม่รับประทานอาหารเย็น 7 คน มาสนทนาธรรมอย่างเป็นกันเองที่ห้องของท่าน หรือใน ห้องอาหาร และมีครั้งหนึ่งที่ท่านเกื้อกูลแก่คนใหม่ เช่น น้องหมูอ่อง ลูกสาวคุณอ้วน คุณอ้อย น้องสาวคุณลูกตุ้ม และไกด์ทั้ง 2 คน ด้วยการบรรยายตั้งแต่เริ่มต้นว่า “ธรรมะคืออะไร” และ ซักถามให้ตอบเพื่อให้คิดจะได้เข้าใจด้วยตนเอง

โดยวีคุงเป็นตัวแทนตอบคำถาม พวกเราเอาใจช่วยแทบแย่ เมื่อท่านอาจารย์จับโต๊ะแล้ว ให้วีคุงจับเสื่อ ท่านถามว่าสัมผัสอะไร วีคุงตอบว่า เสื่อ พื้น และในที่สุดก็ตอบว่าสัมผัสแข็ง ได้รับเสียงปรบมือจากพวกเรา เพราะวีคุงเก่งกว่าพวกเราตอนฟังใหม่ๆ มาก ซึ่งคุณแก้วตา อเนกพุฒิ ได้กรุณาบันทึกเสียงเผื่อแผ่คนอื่นๆ ที่สนใจ และส่งมาให้คุณวันชัย ภู่งาม ถอดคำ บรรยายมาเล่าแล้วใน “กาลครั้งหนึ่งที่ญี่ปุ่น” ซึ่งหลายท่านคงได้อ่านแล้ว ขออนุโมทนาใน กุศลวิริยะของทั้ง ๒ ท่านค่ะ

เมืองแรกที่ไปเที่ยวชม คือ เกียวโต เมืองหลวงเก่า แวะชมศาลาทองคำ ซึ่งเป็นจุดท่องเที่ยว สำคัญของเกียวโต เป็นศาลาทำด้วยไม้ปิดทอง หรือทาสีทอง ก็จำไม่ได้ อยู่กลางสระที่มีน้ำใส จนมองเห็นเงาของศาลา ต้นสน และซากุระ ที่เพิ่งออกดอกตูมในน้ำ ต้องมโนเอาเองว่า ถ้า ซากุระบานทั้งหมด แล้วจะสวยงามอย่างไร หลายคนไปญี่ปุ่นหลายครั้ง ก็ไม่ได้ดูดอกซากุระ บานพร้อมกันทั้งต้น ทำให้เห็นความเป็นอนัตตาของทุกสิ่งจริงๆ จะเห็นอะไร ได้ยินอะไร ก็ เลือกไม่ได้ แม้จะมีเงินเดินทางไปถึงที่แล้ว แต่ยังไม่ถึงเวลาบาน เขาก็ไม่บาน จะทำอย่างไร ได้ เขาบอกว่า ถ้าอากาศอุ่นขึ้นดอกซากุระก็จะบาน คิดเล่นๆ ว่า ถ้าสุมไฟไว้ห่างๆ ต้นอาจจะ บานก็ได้นะ แต่คนญี่ปุ่นคงไม่ทำเหมือนคนไทยทางภาคเหนือ ที่อยากรับประทานเห็ดเผาะ หรือผักหวาน ก็เผาป่า เพื่อให้ได้รับประทานหรือเก็บไปขายได้ราคา

หลังจากถ่ายภาพกับศาลาทองคำ สถานที่โชกุนเสด็จมาชมซากุระแล้ว ก็เดินทางต่อไปยัง เกาะอาวาจิ เกาะที่เล็กที่สุดของญี่ปุ่น เพื่อลงเรือเฟอร์รี่ ชมความสวยงามของน่านน้ำทะเล ญี่ปุ่น ระหว่างเกาะอาวาจิกับเกาะนารุโตะ จะได้เห็นปรากฏการณ์นารุโตะ หรือปรากฏการณ์ น้ำวนที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่ง บริเวณใต้สะพานโอนารุโตะ แต่เมื่อไปถึงก็ไม่เห็นน้ำวนอย่างที่ รู้มาว่า มีเส้นผ่าศูนย์กลางถึง 20 เมตร ไกด์บอกว่า ขึ้นกับพระจันทร์ในวันข้างขึ้นข้างแรม ด้วย เพราะน้ำวนเกิดจากระดับน้ำในทะเลในเซโตะและมหาสมุทรปาซิฟิคไม่เท่ากัน ต้อง เลือกวันมาให้เหมาะสมถึงจะเห็นได้ ต้องถ่ายภาพกับภาพถ่ายน้ำวน เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึกถึง ความจริงว่า เห็นเป็นเห็น สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นสิ่งที่เพียงปรากฏ ไม่ใช่เรา จึงทำไม่ได้ เลือก ให้เกิดตามต้องการไม่ได้

ถึงโรงแรมตอนเย็น มาคราวนี้ใจกล้าลงไปอาบน้ำแร่ญี่ปุ่น (ออนเซ็น) เพราะเมื่อยล้า จาก การนั่งรถและอยากสาวขึ้น การอาบน้ำแร่เป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ประจำชาติญี่ปุ่น ด้วยความเชื่อ ว่าน้ำแร่และและความร้อน ทำให้โลหิตหมุนเวียนดี คลายความปวดเมื่อยตามข้อ และบำรุง ผิวพรรณให้เปล่งปลั่งมีน้ำมีนวล อาจจะจริงถ้าอยู่ในน้ำแร่ตลอดเวลา แต่พอขึ้นมาแล้วก็ เหมือนเดิม พี่เดือนฉายบอกว่า เหมือนทดลองว่า ตกนรกจะร้อนขนาดไหน อยู่ดีๆ ก็ไปแช่ใน น้ำร้อน ความจริงขณะนั้นน่าจะเป็นอกุศลวิบากนะ ทำให้อยากลงไปแช่ ด้วยความหวังว่า พอ ขึ้นมาจากบ่อน้ำแร่แล้วจะเปล่งปลั่งสาวขึ้นกว่าเดิม เขาไม่ได้บอกอย่างนั้นสักหน่อย เขาบอก ว่าอยู่ในน้ำแร่จะเปล่งปลั่งต่างหาก ซึ่งก็จริงเพราะร้อนขนาดนั้นเลือดก็สูบฉีดทำให้หน้าแดง เปล่งปลั่ง แต่รอยย่นตีนกาก็ยังอยู่เหมือนเดิม ไม่ได้หนีไปไหน น่าจะกลัวร้อนบินออกไปจากหน้าด้วยนะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
peem
วันที่ 9 เม.ย. 2558

รู้สึกดีมากๆ น่าอ่านน่าฟังมากๆ เหมือนได้ไปสัมผัสเอง

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pamali
วันที่ 9 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 9 เม.ย. 2558

ตั้งตารออ่านเรื่องเล่าจากญี่ปุ่นมาหลายวันแล้วครับ ความจริง เรื่องและภาพของสถานที่ที่ไปเที่ยว เป็นแต่เพียงส่วนประกอบ ถ้าใครอยากรู้อยากเห็นจริงๆ ก็ถามอากู๋ (Google) ได้ อย่างที่พี่แดงบอกนั่นแหละนะครับ แต่สิ่งที่ชอบ คือ เกร็ดและข้อความธรรมะ จากพี่แดง ซึ่งหาอ่านจากที่อื่นไม่ได้ กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาในกุศลวิริยะของพี่แดงเป็นอย่างยิ่ง และจะรออ่าน "บันเทิงในธรรมที่ญี่ปุ่น" ตอนต่อๆ ไป ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 9 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 9 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ms.pimpaka
วันที่ 9 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wirat.k
วันที่ 10 เม.ย. 2558

ได้ไปท่องเที่ยวญี่ปุ่นพร้อมกับการมอบหัวข้อ "ความจริง" ประกอบในแต่ละสถานการณ์ไปพร้อมๆ กันด้วย

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Boonyavee
วันที่ 10 เม.ย. 2558

หลังจากได้อ่านกระทู้ของคุณวันชัย ภู่งาม เรื่อง "กาลครั้งหนึ่งที่ญี่ปุ่น" แล้ว ก็รอว่าเมื่อไหร่คุณแม่จะมาเล่าเรื่องไปญี่ปุ่น พอได้อ่านแล้วก็พลอยอมยิ้มไปด้วยเลยคะ ทุกๆ ท่านดูสดชื่นมาก โดยเฉพาะพี่ม้อนะคะที่ได้ลูกชายกลับมาด้วย และขอกราบ อนุโมทนาในกุศลจิตของพี่เบญจวรรณ รัศมีสุวรรณกุล ที่ได้เจริญกุศลให้ทุกๆ ท่านที่ ร่วมทริปครั้งนี้ด้วยคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ธุลีพุทธบาท
วันที่ 10 เม.ย. 2558

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนา ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pulit
วันที่ 11 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
thilda
วันที่ 11 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
napachant
วันที่ 15 เม.ย. 2558

ขอขอบพระคุณและขออนุโมทนาพี่แดงกาญจนาด้วยค่ะ สำหรับเรื่องราวธรรมดีๆ ในประเทศญี่ปุ่นครั้งนี้ สำหรับหนู ... ขออ่านที่เดียวจนจบค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ผู้มีความประมาท
วันที่ 16 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ