สัมมาอาชีวะ

 
papon
วันที่  26 เม.ย. 2558
หมายเลข  26491
อ่าน  19,706

เรียนอาจารย์ทั้งสองท่าน

"สัมมาอาชีวะ" ขอความอนุเคราะห์อาจารย์ช่วยกรุณาให้อรรถาธิบายเกี่ยวกับคำนี้ด้วยครับ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 26 เม.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

สัมมาอาชีวะก็คือการเลี้ยงชีพชอบ หมายถึง วิรตีเจตสิกดวงหนึ่งที่ทำกิจให้เกิดการงดเว้นจากมิจฉาชีพซึ่งเป็นไปทางกาย หรือ วาจาที่ทุจริต เช่น ขณะที่งดเว้นในการประกอบอาชีพที่ไม่ดี ซึ่งอาชีพที่ไม่ดี ก็ต้องเนื่องด้วยกาย และวาจา ขณะที่ไม่ฆ่าสัตว์ อันเนื่องด้วยอาชีพก็เป็นผู้งดเว้นจาก กายทุจริต มีการฆ่าสัตว์ในขณะนั้น และมาประกอบอาชีพที่สุจริต งดเว้นจากวาจาที่โกหก เช่น เป็นแม่ค้า แต่งดเว้นที่จะโกหก อันเป็นไปเพื่อประกอบอาชีพสุจริต ก็งดเว้นวาจาที่ไม่ดีและดำรงอยู่ในสัมมาอาชีวะ ครับ ส่วนสัมมาอาชีวะในอริยมรรคมีองค์ 8 ที่เกิดพร้อมกัน ก็ในขณะนั้นเกิดพร้อมกันกับองค์อื่นๆ ที่มีปัญญาเกิดร่วมด้วย ที่เป็นปัญญาระดับโลกุตตระที่ทำหน้าที่ดับกิเลสได้หมดสิ้นจริงๆ ต่างจากสัมมาอาชีวะในชีวิตประจำวันที่ไม่มีปัญญา ไม่สามารถละกิเลสได้จริงๆ ในขณะนั้น ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
tanrat
วันที่ 27 เม.ย. 2558

การประกอบอาชีพหรือทำมาหากินอะไรย่อมขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยหลายอย่าง บางท่านต้องเกิดมาในครอบครัวที่มีการฆ่าหมูเป็นการดำรงชีพ ขณะนั้นไม่ได้เลือกหรืออยู่ในบังคับบัญชาของใคร หากมีการอบรมหรือฟังธรรมที่เป็นสัมมาทิฏฐิ เห็นโทษ เห็นภัย และดำเนินชีวิตตามการอบรมมา ถึงจะฆ่าหมูเป็นอาชีพ ก็เจริญกุศลได้โดยการเห็นว่าเป็นผู้เลี้ยงผู้บริโภค ซื่อสัตย์ต่อผู้บริโภค หากเห็นโทษเห็นภัย ก็หันหาอาชีพอื่น ไม่ใช่เขาบอกว่า ต้องทำบุญให้หมูที่เราฆ่ามา ไร้เหตุผลมาก

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 27 เม.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

อาชีพที่สุจริตจริงๆ จะต้องไม่เบียดเบียนสัตว์อื่น หรือ ผู้อื่น ให้ได้รับความเดือดร้อนลำบากเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งแล้ว ผู้ที่ประกอบอาชีพจะต้องเป็นผู้งดเว้นจากกายทุจริต (งดเว้นจากการฆ่าสัตว์ งดเว้นจากการลักทรัพย์ งดเว้นจากการประพฤติผิดในกาม) และงดเว้นจากวจีทุจริต (งดเว้นจากการพูดเท็จ งดเว้นจากการพูดคำหยาบ งดเว้นจากการพูดส่อเสียด และงดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ) ที่เกี่ยวเนื่องกับอาชีพด้วย จึงเป็นเรื่องที่ละเอียด สำหรับการประกอบอาชีพของแต่ละบุคคลนั้น ก็แตกต่างกันออกไป ถ้าหากว่าได้ศึกษาพระธรรม ได้ฟังพระธรรม ก็จะทำให้มีความเข้าใจว่าอะไรควรทำ อะไรไม่ควรทำ จิตใจก็จะน้อมไปในกุศลธรรมมากยิ่งขึ้นและจะทำให้ค่อยๆ ละอาชีพที่ไม่ถูกต้องได้ในที่สุด ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 27 เม.ย. 2558

สัมมาอาชีวะ อาชีพที่สุจริต 5 ประการ คือ

1. ไม่ค้าขายอาวุธ

2. ไม่ค้ามนุษย์

3. ไม่ค้าขายสัตว์เพื่อฆ่า

4. ไม่ค้าขายน้ำเมา

5. ไม่ค้าขายยาพิษ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 27 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
papon
วันที่ 27 เม.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tanrat
วันที่ 28 เม.ย. 2558

อาชีพทหารก็ต้องมีการทำร้ายฝ่ายตรงกันข้าม หากสะสมมาที่จะเป็นทหารก็ต้องปกป้องคนในชาติ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ สภาพธรรมะขณะนั้นหากมิได้อบรมเจริญความเห็นถูกก็จะระลึกไม่ได้ กุศลก็คือกุศล อกุศลก็เป็นอกุศล นี่คือธรรมะ ไม่ใช่การให้กลัวบาป กลัวกรรม ปัญญาต้องถึงพร้อมจริงๆ เช่นท่านอาจารย์สุจินต์เคยบรรยายว่า กลัวมีโทสะกันจริง แต่โลภะอยู่ต่อหน้าต่อตาก็ไม่รู้ โลภะคือไม่อยากมีอาชีพฆ่าหมู เพราะเป็นการฆ่าสัตว์ กลัวผิดศีลข้อหนึ่ง แต่หารู้ไม่ว่าขณะนั้นใครกลัว มีตัวตน จึงต้องอบรมต่อไป ขาดการฟัง พิจารณา ไตร่ตรองธรรมะไม่ได้เลย

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ทิศเบื้องขวา
วันที่ 30 เม.ย. 2558

เป็นลูกจ้างขายเนื้อหมูที่ปรุงสำเร็จจะอยู่ในขบวนการฆ่าด้วยหรือไม่ ผิดศีลข้อที่1ไหม และเป็นสัมมาอาชีวะหรือไม่คะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
nong
วันที่ 1 พ.ค. 2558
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
peem
วันที่ 2 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ธุลีพุทธบาท
วันที่ 5 พ.ค. 2558

กราบขอบพระคุณและอนุโมทนา ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
ประสาน
วันที่ 6 มิ.ย. 2558

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
รันย์วีรุตม์
วันที่ 11 พ.ย. 2564

ผมอยากถามต่อถ้า

สัมมาอาชีวะ อาชีพที่สุจริต 5 ประการ คือ

1. ไม่ค้าขายอาวุธ

2. ไม่ค้ามนุษย์

3. ไม่ค้าขายสัตว์เพื่อฆ่า

4. ไม่ค้าขายน้ำเมา

5. ไม่ค้าขายยาพิษ

แล้วอาชีพพวกคนเล่นหุ้น และนักโป๊กเกอร์ อาชีพพวกนี้ มีผลหรือคำอธิบายไหมครับ

ไม่ผิดทั้ง 5 ข้อ มีผิดส่วนไหนทางคำสั่งสอนไหมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
Jarunee.A
วันที่ 21 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ