ขณะที่ฟังธรรมเข้าใจในขั้นการฟังและมีเราที่เข้าใจ

 
thilda
วันที่  8 พ.ค. 2558
หมายเลข  26521
อ่าน  1,115

เรียนถามอาจารย์ดังนี้ค่ะ

1. ขณะที่ฟังธรรมเข้าใจในขั้นการฟัง ขณะนั้นมีจิตเกิดขึ้นคิดนึกว่าเราเข้าใจ ขณะนั้นมีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยใช่ไหมคะ ถ้ามี เป็นปัญญาระดับไหน มีชื่อเรียกในภาษาบาลีด้วยไหมคะ

2. ขณะที่คิดว่าเป็นเรา มีเรา ของของเรา เป็นอกุศลจิตเพราะไม่ได้เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นเป็นโมหมูลจิตหรือเปล่าคะ คืออ่านรายละเอียดของโมหมูลจิตแล้วดูเหมือนจะไม่ใช่ รบกวนท่านอาจารย์อธิบายในรายละเอียดด้วยค่ะ

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาอย่างยิ่งค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 8 พ.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

1. ขณะที่ฟังธรรมเข้าใจในขั้นการฟัง ขณะนั้นมีจิตเกิดขึ้นคิดนึกว่าเราเข้าใจ ขณะนั้นมีปัญญาเจตสิกเกิดร่วมด้วยใช่ไหมคะ ถ้ามี เป็นปัญญาระดับไหน มีชื่อเรียกในภาษาบาลีด้วยไหมคะ

- ขณะที่ฟังเข้าใจมีปัญญา หรือ อโมหเจตสิกเกิดร่วมด้วย ซึ่งขณะที่เข้าใจขั้นการฟัง เรียกว่า สุตมยปัญญา

2. ขณะที่คิดว่าเป็นเรา มีเรา ของของเรา เป็นอกุศลจิตเพราะไม่ได้เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นเป็นโมหมูลจิตหรือเปล่าคะ คืออ่านรายละเอียดของโมหมูลจิตแล้วดูเหมือนจะไม่ใช่ รบกวนท่านอาจารย์อธิบายในรายละเอียดด้วยค่ะ

- ขณะที่ไม่รู้ ขณะนั้นเป็นโมหมูลจิต ขณะเป็นเรามี 3 อย่างดังนี้

ซึ่งเมื่อกล่าวถึงการมีเรานั้น ก็มีด้วย อำนาจสภาพธรรม 3 อย่าง คือ ตัณหา ที่เป็นโลภเจตสิก มานะ และ ทิฏฐิ ที่เป็นความเห็นผิด

ตัณหา เป็นความติดข้องต้องการ (โลภเจตสิก) เป็นสภาพธรรมที่มีจริงเกิดขึ้นเป็นไปในชีวิตประจำวัน เป็นสภาพธรรมติดข้องในสิ่งหนึ่งสิ่งใด

มานะ เป็นความสำคัญตน เป็นความทะนงตน ถือตน มีการเปรียบเทียบกับผู้อื่นว่าดีกว่าเขา เสมอเขา หรือ เลวกว่าเขา

ทิฏฐิ (ความเห็นผิด) เป็นสภาพธรรมที่มีจริงที่เห็นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ความเป็นไปของปุถุชนผู้ที่หนาแน่นไปด้วยกิเลสนั้น ย่อมยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นเราด้วยอำนาจตัณหา คือ โลภะบ้าง มานะความถือตัวบ้าง ทิฏฐิ ความเห็นผิดบ้าง เพราะยังไม่ได้เข้าใจสภาพธรรมที่กำลังมีกำลังปรากฏว่า เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดเพราะเหตุปัจจัยแล้วก็ดับไป ไม่เที่ยงไม่ยั่งยืน

ซึ่งขออธิบายความเป็นเรา 3 อย่าง ดังนี้ ครับ

-ความเป็นเราด้วยตัณหา หรือ โลภะ ยกตัวอย่างเช่น ขณะนี้เห็น เห็นบุคคลอื่นแล้วเกิดความติดข้อง ขณะนั้น เป็นเรา หรือ เป็นเขาด้วยความติดข้องหรือ ขณะเห็นตนเองในกระจก เกิดความยินดีพอใจ ในรูปร่างกายของตนเอง ขณะนั้นมีเราแล้ว แต่มีเราด้วยความติดข้องในความเป็นเราในขณะนั้น และแม้อยากเกิดเป็นเทวดา เกิดในภพภูมิที่ดี ก็เป็นเราด้วยตัณหาแต่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด เพราะเพียงยินดีพอใจในภพภูมิ แต่ไม่ได้มีความเห็นผิดเกิดขึ้นมา

-ความเป็นเราด้วยมานะ คือ ขณะใดที่เปรียบเทียบ ว่าเราสูงกว่าเขา เสมอคนอื่น หรือด้อยกว่าคนอื่น จะเห็นนะครับว่า มานะ เป็นการเปรียบเทียบ แล้วอะไรจะเปรียบเทียบนอกจากว่า จะต้องมีเราที่ไปเปรียบเทียบ มีเขา มีคนอื่นดังนั้น เพราะเป็นอกุศลที่คิดว่าเราสูงกว่า มีเราแล้ว แต่เป็นเราด้วยมานะที่เป็นการเปรียบเทียบ ครับ

-ความเป็นเราด้วยทิฏฐิ คือเป็นเราด้วยความสำคัญผิดที่เป็นความเห็นผิดคือ ขณะนั้นเป็นอกุศลที่เป็นโลภะที่ประกอบด้วยความเห็นผิด เช่น ยึดถือว่า ดอกไม้มีจริง เที่ยง ยั่งยืนและยึดถือว่ามีเราจริงๆ มีสัตว์ บุคคลจริงๆ ขณะนั้นมีเรา มีเขา มีสิ่งต่างๆ ด้วยความเห็นผิด เพราะยึดถือด้วยความเห็นผิดว่าเที่ยง เป็นสุขและเป็นตัวตนจริงๆ ครับ

เพราะฉะนั้น การละความเป็นเรา ด้วย ทิฏฐิ ความเห็นผิด พระอริยบุคคล ขั้นต่ำสุด คือ พระโสดาบัน ละได้แล้ว ปุถุชนยังละไม่ได้

ความเป็นเรา ด้วย โลภะ พระอรหันต์เท่านั้นที่ละได้

ความเป็นเราด้วยมานะ พระอรหันต์เท่านั้นที่ละได้

แต่อาศัยการฟัง การศึกษาพระธรรม ก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น ปัญญาเจริญขึ้น ก็ค่อยๆ ละความเป็นเราไปทีละน้อย จนละได้หมดสิ้นไปตามลำดับที่กล่าวมา ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
tanrat
วันที่ 8 พ.ค. 2558
กราบอนุโมทนาสาธุค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 8 พ.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

-ประโยชน์ของการฟังพระธรรม คือ เข้าใจ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปทีละเล็กทีละน้อย ปัญญาในขั้นต้น นั้น จะไม่เปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น ปัญญา เป็นปัญญา ภาษาก็คือ เข้าใจถูกเห็นถูก เมื่อฟังต่อไป ไม่ขาดการฟัง ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น

-ธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก เพราะขณะที่ยึดถือว่าเป็นเรา มีเรา นั้น เป็นอกุศลจิต ทุกขณะที่อกุศลจิตเกิดจะไม่ปราศจากโมหะเลย เพราะโมหะเป็นอกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมกับอกุศลจิตทุกขณะ ขณะที่ยึดถือว่าเป็นของของเรา นั้นเป็นไปด้วยความยึดถือด้วยอำนาจของตัณหาความติดข้องยินดีพอใจ ขณะนั้นเป็นโลภมูลจิตที่ไม่ประกอบด้วยความเห็นผิด แต่ถ้ามีการยึดถือว่า มีเราที่เที่ยงยั่งยืน นั้น เป็นไปกับด้วยความเห็นผิดและก็มีโลภะเกิดร่วมด้วย และถ้าขณะนั้นเป็นไปกับด้วยความสำคัญตน มีการเปรียบเทียบ ก็เป็นโลภมูลจิตที่เป็นไปพร้อมกับมานะความสำคัญตน แต่ในขณะที่มานะเกิด จะไม่มีความเห็นผิดเกิดร่วมด้วย เป็นคนละขณะนั้น

พระธรรมเป็นเรื่องที่ละเอียด และยากอย่างยิ่ง ก็ต้องอาศัยการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมให้เข้าใจยิ่งขึ้นต่อไป เพราะธรรมไม่ได้พ้นไปจากชีวิตประจำวันเลยครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
wannee.s
วันที่ 8 พ.ค. 2558

1. ฟังแล้วเข้าใจอะไร ต้องเป็นปัญญาของตัวเองระดับไหน ขั้นฟัง ไม่ใช่ขั้นปฏิบัติ ค่ะ

2. ขณะที่ไม่รู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ขณะนั้นเป็นโมหะ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
thilda
วันที่ 8 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาอาจารย์ทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
peem
วันที่ 9 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ธนฤทธิ์
วันที่ 9 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
thilda
วันที่ 10 พ.ค. 2558

ขออภัยค่ะอาจารย์ พอสรุปได้อย่างนี้ถูกไหมคะ

-เมื่อฟังธรรมแล้วเข้าใจ ขณะที่เข้าใจ ขณะนั้นมีปัญญา/อโมหเจตสิกเกิดขึ้น เป็นกุศลจิต (เป็นไปในการภาวนา/อบรมเจริญปัญญา ไม่มีความคิดว่าเป็นเรา)

-เมื่อคิดว่าเป็นเราที่เข้าใจ เป็นคนละขณะกับขณะที่เข้าใจ ขณะนั้นเป็นอกุศลจิต คือ เป็นโลภมูลจิต ที่อาจประกอบด้วยมานะเจตสิก (ถ้ามีมานะ/ความสำคัญตนเกิดร่วมด้วย) หรือทิฏฐิเจตสิก (ถ้ามีความเห็นผิด) เกิดร่วมด้วย มานะเจตสิกจะไม่เกิดร่วมกับทิฏฐิเจตสิก

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
j.jim
วันที่ 11 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
nong
วันที่ 12 พ.ค. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
nvrath
วันที่ 14 พ.ค. 2558

กราบขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
orawan.c
วันที่ 22 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Jarunee.A
วันที่ 12 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ