มีเพียงหลับกับตื่นที่บางส่วนของเยอรมัน ออสเตรีย สโลวีเนีย (4) ปราสาทนอยชวานชไตน์
ปราสาทนอยชวานชไตน์
วันนี้ที่ 21 เม.ย. 58 พวกเราออกจากบ้านพักสายหน่อยประมาณ 9.30 น. เพราะจะไปเที่ยว ปราสาทนอยชวานชไตน์ที่เดินทางเพียงไม่ถึง 10 นาที คุณหนูและคุณสาธิตไปจองตั๋วเข้าชม ตั้งแต่เช้ามืด เพราะสายๆ คนจะแน่น แค่เข้าคิวรอซื้อตั๋วก็ขาแข็งแล้ว และไปส่งคุณวีระยุทธ์ที่ จะชมพิพิธภัณฑ์ที่มิวนิคด้วยรถไฟ เพราะเธอเคยชมปราสาทนอยชวานชไตน์หลายครั้งแล้ว ต้องขอบคุณคุณหนูและคุณสาธิตที่เสียสละเวลานอนค่ะ เป็นหัวหน้าทัวร์ต้องรับผิดชอบตั้งแต่ เมืองไทยจนกลับกรุงเทพ ฯ เป็นกุศลที่ทำได้ยากอย่างยิ่งสำหรับเรา คุณสาธิตต้องขับรถทุกวัน คุณหนูเป็นเนวิเกเตอร์ และจัดการทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อความสะดวกสบายของทุกคนในกลุ่ม ขอ ให้กุศลนี้เป็นเหตุทำให้เข้าใจพระธรรมมากขึ้นๆ เพื่อกุศลทุกอย่างจะได้เจริญขึ้นด้วยค่ะ (จัดไป คราวหน้าอย่าลืมชวนอีกนะคะ)
เมื่อถึงปราสาท พวกเราเลือกนั่งรถม้าขึ้นไปบนเขาแทนการเดินขึ้น หรือนั่งรถบัส เวลา เข้าชมของพวกเรา คือ 11:45 จึงไม่ต้องรีบร้อนนัก ถ่ายภาพปราสาทในมุมต่างๆ จนถึงเวลา เข้าชม ปราสาทชื่อภาษาเยอรมันที่แปลกสำหรับคนไทยนี้ มีความหมายว่า หินหงส์ใหม่ (นอย แปลว่า ใหม่ ชวาน แปลว่า หงส์ ชไตน์ แปลว่า หิน) เป็นปราสาทที่ตั้งอยู่ในเทือกเขาแอลป์ แถบแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี สร้างในสมัยพระเจ้าลุดวิกที่ 2 แห่งบาวาเรีย มีอายุ ประมาณ140 ปี ผู้ออกแบบไม่ใช่สถาปนิก แต่เป็นผู้ออกแบบฉากละคร จึงสร้างออกมาเหมือน ปราสาทในเทพนิยาย ภายนอกดูเหมือนปราสาทในยุคกลาง แต่ภายในนั้นทันสมัยในยุคนั้น มีระบบไฟฟ้า น้ำประปาทั้งน้ำร้อน น้ำเย็นและโทรศัพท์ ปราสาทนอยชวานชไตน์เป็นปราสาท ที่ยังสร้างไม่เสร็จ เมื่อพระเจ้าลุกวิกที่ 2 สิ้นพระชนม์ ปราสาทนี้ได้ถูกสร้างไปเพียง 1 ใน 3 ของแผนที่วางไว้ แล้วพระเจ้าลุดวิกที่ 2 เองก็เสด็จมาประทับที่ปราสาทแห่งนี้เพียง 170 วัน เท่านั้น หลังจากสิ้นพระชนม์เชื้อสายของพระองค์ได้เปิดให้ประชาชนได้ชื่นชมภายในบางส่วน โดยเก็บค่าเข้าชมเป็นค่าทะนุบำรุงซ่อมแซม และทำรายได้มหาศาลให้กับรัฐในภายหลัง
ถ้าเป็นช่วงหน้าร้อนของยุโรปนักท่องเที่ยวจะแน่นขนัด มีทั้งคนเยอรมันเองและนักท่องเที่ยวจาก ทั่วโลกที่ต้องการมาชมปราสาทในเทพนิยายแห่งนี้สักครั้งเป็นบุญตา ภายในปราสาทได้ชม ห้อง Throne Hall หรือห้องราชบังลังก์ ดูยิ่งใหญ่อลังการ สีเหลืองทองอร่ามในศิลปะแบบไบ แซนไทน์ แต่ห้องนี้ยังไม่เสร็จสมบูรณ์เพราะขาดสิ่งสำคัญที่สุดของห้อง ก็คือบัลลังก์นั่นเอง โคมระย้าที่ตั้งอยู่กลางห้องมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม สามารถชักรอกลงมาได้เพื่อทำความ สะอาดหรือเปลี่ยนเทียนเล่มใหม่ได้ ที่พื้นห้องประดับเซรามิกเป็นรูป 12 ราศี ไกด์อธิบายว่า พระเจ้าลุกวิกสนใจพระพุทธศาสนาด้วย แต่ในสมัยนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม จึงประดับไว้ที่พื้นห้อง (คงเป็นพระพุทธศาสนามหายาน) จากนั้นชมห้องบรรทมของพระเจ้าลุดวิกซึ่งสร้างขึ้นในศิลปะ แบบโกธิก มีงานแกะสลักไม้อย่างวิจิตรบรรจง ภาพวาดในห้องนี้มาจากอุปรากรเรื่อง Tristan and Isolde ของวากเนอร์ ข้างๆ พระเก้าอี้สีน้ำเงินเป็นโต๊ะสำหรับล้างพระพักตร์ ใช้เทคโนโลยี น้ำประปายุคปัจจุบันให้น้ำไหลผ่านคอหงส์เงิน ห้องชั้นบนสุดของปราสาท เรียกว่า Singers Hall เป็นห้องที่ใช้สำหรับจัดแสดงอุปรากรของวากเนอร์โดยเฉพาะ มีการออกแบบระบบอคูส ติกของห้องเป็นอย่างดี และแน่นอนภาพวาดที่ประดับห้องนี้มาจากอุปรากรเรื่อง Parsifal ของ วากเนอร์ แต่กษัตริย์ลุดวิกไม่มีโอกาสได้ทอดพระเนตรการแสดงในห้องนี้ เพราะสิ้นพระชนม์ เสียก่อน ทั้งหมดนี้ห้ามถ่ายภาพ ข้อมูลบางส่วนมาจาก เว็บไซต์ WonderfulPackage ขอขอบคุณค่ะ
ชมปราสาทเสร็จก็กลับที่พัก ความจริงมีปราสาทใกล้ๆ ที่เป็นของพระราชบิดาของกษัตริย์ ลุกวิกที่ 2 สามารถเข้าชมได้ในวันเดียวกัน และเมืองฟุซเซ่นยังมีปราสาทให้ดูชมอีกหลายแห่ง แต่เมื่อกลับไปรับประทานอาหารแบบปิกนิกริมทะเลสาบ (ฝีมือคุณแอ้นเจ้าเก่า) หน้าบ้านพัก แล้ว ท่านอาจารย์และอีกหลายท่านไม่ออกไปชมเมืองต่อ ท่านสนทนาธรรมที่ริมทะเลสาบ
ส่วนเราต้องรับใช้นายใหญ่อย่างเคย จึงออกไปชมเมืองมรดกโลกอีกแห่งที่อยู่ใกล้ๆ กัน คือ เมืองอูเบอร์รัมเบอเกา (Oberamagau) ที่ผนัง กรอบหน้าต่าง ประตูของอาคารแต่ละหลัง วาดภาพด้วยสี fresco สวยงามมาก ขากลับแวะรับคุณวีระยุทธ์ที่สถานีรถไฟฟุซเซ่น เวลา 18:00 น. ซึ่งยังไม่มืด สองทุ่มก็ยังไม่มืด แต่ต้องรีบกลับไปบ้านพัก ทั้งๆ ที่อยากไปเที่ยวเมือง ฟุซเซ่นที่ผ่านไปมาหลายรอบ แต่ยังไม่ได้แวะเยี่ยมชม เพราะคุณนายแอ้นต้องไปทำอาหารเย็น เมื่อถึงที่พักคณะสนทนาธรรมยังไม่จบ แต่ย้ายไปสนทนาธรรมริมทะเลสาบ เราตามไปสมทบ
ท่านอาจารย์พูดถึงความติดข้อง ความรักลูกในชาตินี้ว่ามากมายขนาดไหน แต่ถ้าลูก ตายไปแล้วเกิดเป็นปลา ตุ๊กแก จิ้งจก จะตามไปรัก ไปห่วงใยไหม และถ้าอาจารย์สงบเคยเป็น ลูกของท่านสพรั่งในชาติก่อน จะสามารถรักอาจารย์สงบเหมือนลูกของตนในชาตินี้หรือไม่ ซึ่งแค่นึก ท่านก็ขำว่า จะรักอาจารย์สงบอย่างลูกชายของท่านได้อย่างไร ท่านอาจารย์สรุปว่า ไม่ใช่คน หรือวัตถุที่ทำให้ติดข้อง แต่เพราะโลภะต่างหากที่ติดข้อง รักใคร่ ห่วงใยสิ่งที่คิดว่า เป็นตน เป็นของตน ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปทุกชาติ ไม่ใช่คนเดิม สิ่งเดิม แม้ขณะเดี๋ยวนี้สิ่งที่ติด ข้องก็เปลี่ยนแปลงไปทุกขณะ ไม่คงเดิมอยู่ได้ ตัวเราและลูกเราก็ต้องแก่ไปทุกขณะ มีทั้งแก่ ทั้งเจ็บ ทั้งตายด้วยกันทุกคน แล้วต่างก็เกิดเป็นคนใหม่ซึ่งไม่รู้จักกันในฐานะเดิมอีกต่อไป