หัวใจของพระพุทธศาสนา

 
tanrat
วันที่  13 พ.ค. 2558
หมายเลข  26533
อ่าน  1,711

พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาของปัญญา ทรงแสดงแนวทางในการตรึก พิจารณา ไม่ใช่บอกให้ทำตามเพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าคือศาสดา แม้พระองค์เองก็มีความเคารพในพระธรรม กราบเรียนท่านอาจารย์ให้ความกระจ่างในความหมายของหัวใจของพระพุทธศาสนา พร้อมยกตัวอย่างประกอบด้วยค่ะ ขอบพระคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 พ.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พุทธศาสนา หมายถึง คำสอนหรือพระธรรม ของ พุทธ คือ ผู้รู้ ดังนั้นจึงหมายถึงคำสอนของผู้รู้ จึงเป็นเรื่องของปัญญาอย่างแท้จริง เพราะฉะนั้น คำใดที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ใน 3 ปิฎก อันแสดงถึงความจริงของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ว่ามีแต่ธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ปัญญาที่รู้ความจริง ย่อมเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เพราะหัวใจของพระพุทธศาสนา คือ ปัญญา เพราะเป็นพุทธ ดังนั้นปัญญาที่รู้ความจริงในสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ คือ อริยมรรค มีองค์ 8 อันเป็นปัญญาที่เป็นหนทางดับกิเลส พระพุทธเจ้าเท่านั้นทรงตรัสรู้ความจริง อันเป็นหนทางดับกิเลสได้อย่างแท้จริง ย่อมเป็นหัวใจ ของพระพุทธศาสนา ซึ่งเมื่อเราเข้าใจดังนี้ คำสอนที่พระองค์ทรงแสดงจึงเป็นไปเพื่อละกิเลส ดังนั้นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ก็ถือว่าเป็นหลักเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาด้วยครับ เพราะธรรมที่พระองค์ทรงแสดงเกี่ยวเนื่องกันทั้งหมด เพียงแต่ว่าจะกล่าวโดยนัยอะไร ตามอัธยาศัยของสัตว์โลกครับ จะกล่าวว่าสติปัฏฐาน กล่าวว่าอริยมรรค เป็นต้น ก็อรรถ ความหมายเดียวกัน คือหนทางดับกิเลส อันเป็นหนทางเพื่อละ ทั้งสิ้น ซึ่งละดัวยปัญญาครับ พระพุทธศาสนาจึงเป็นเรื่องของการละกิเลสตั้งแต่ต้น จนถึงที่สุดด้วยปัญญานี่คือหัวใจของพระพุทธศาสนา เป็นเรื่องละ และละด้วยปัญญาครับ

ที่สำคัญที่สุดครับ การแค่เพียงสรุปหัวข้อ หัวใจพระพุทธศาสนา เพียงบางเรื่องบางคำแล้วไปบอกกับคนอื่นให้ผู้อื่นเข้าใจว่า หลักคำสอนที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างนี้และจะทำให้ผู้นั้นเข้าใจทันทีคงไม่ได้ครับ เพราะพระธรรมละเอียดลึกซึ้ง เพราะเพียงศึกษาแค่เพียงคร่าวๆ แค่หัวข้อที่รับฟังไม่มาก ไม่สามารถที่จะเข้าใจพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดงได้เลย ดังนั้นการศึกษาพระธรรม ด้วยการฟังมากศึกษามากในส่วนต่างๆ ของพระไตรปิฎก เพื่อความเจริญขึ้นของปัญญาและเห็นถูกในพระธรรม อย่างละเอียดรอบคอบในส่วนต่างๆ และใช้เวลานาน ย่อมทำให้เกื้อกูลการเข้าใจพระธรรมได้ถูกต้องครับ เพราะหากเป็นผู้เผิน ศึกษา ฟังเพียงหัวข้อเท่านั้น ว่าหลักคืออะไร แต่ยังไม่เข้าใจ อรรถ คำนั้นและความละเอียดในพระธรรมส่วนต่างๆ ก็ย่อมคิดเองจากสิ่งที่ได้ฟังเพียงหัวข้อนั้น การคิดเองจากการฟังน้อย อธิบายน้อยก็ทำให้เข้าใจผิดได้ครับ ดังนั้นที่สำคัญการศึกษาพระธรรม ด้วยความเคารพเพื่อความเห็น

ถูก ต้องอาศัยระยะเวลายาวนานและศึกษาอย่างกว้างขวาง เพื่อความไม่เข้าใจผิดในพระธรรมครับ เพราะฉะนั้น หัวใจพระพุทธศาสนา จึงเป็นเรื่องของปัญญา ซึ่งเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหมดที่ทรงแสดงนั่นเองครับ ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ.....หัวใจพุทธ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
j.jim
วันที่ 13 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
tanrat
วันที่ 13 พ.ค. 2558
กราบอนุโมทนาสาธุค่ะท่านอาจารย์ ความเป็นอนัตตาคืออย่างไรคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ปัณฑฬะ
วันที่ 13 พ.ค. 2558
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 13 พ.ค. 2558

ซึ่ง ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ด้วย อรรถว่าดังนี้ครับ

พระอภิธรรมปิฎก วิภังค์ เล่ม ๒ ภาค ๑- หน้าที่ 172

ชื่อว่า เป็น อนัตตา เพราะเหตุ ๔ เหล่านั้น คือ โดยความเป็นของสูญ ๑ โดยความไม่มีเจ้าของ ๑ โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ ๑ โดยปฏิเสธต่ออัตตา ๑.

------------------------------------------------------------------------

โดยความเป็นของสูญ คือ ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เพราะไม่ใช่ว่าไม่มีอะไรเลย สูญไปเลย แต่มีสภาพธรรม เพียงแต่สูญ คือ ไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตนในสภาพธรรมนั้นเลย เพราะเป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา สัตว์ บุคคล ครับ โดยความไม่มีเจ้าของ คือไม่มีใครเป็นเจ้าของสภาพธรรม ที่คิดว่าเป็นเจ้าของ ทรัพย์สมบัติ ทรัพย์สมบัตินั้นก็ไม่รู้ว่ามีคนเป็นเจ้าของเพราะเป็นแต่เพียงรูป และ ทรัพย์สมบัติก็เสื่อมสลายไป ไม่ใมีใครที่เป็นเจ้าของได้จริงๆ ผู้ที่เป็นเจ้าของก็ต้องจากไป ไม่มีใครเป็นเจ้าของจริงๆ เพราะเป็นแต่เพียงธรรมที่เป็นอนัตตา ครับ โดยเป็นสิ่งที่ควรทำตามชอบใจไม่ได้ คือ ไม่สามารถให้ จิต เจตสิก รูปและสภาพธรรมเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้น ตามใจชอบไม่ได้เลย และไม่ให้ดับไปก็ไม่ได้ จะให้ยั่งยืน อยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ โดยปฏิเสธต่ออัตตา คือ คือ ปฏิเสธว่าไม่มีสัตว์ บุคคล ตัวตน อยู่ในสภาพธรรม ครับ นี่คือ อรรถ 4 อย่างที่แสดงถึงความเป็นอนัตตาของสภาพธรรม ซึงการจะถึงความเป็นอนัตตา ก็ด้วยการประจักษ์ด้วยปัญญาเท่านั้น โดยเริ่มจากการฟังพระธรรมที่ถูกต้อง ปัญญาก็จะค่อยๆ เจริญจนถึงการประจักษ์สภาพธรรมว่าไม่ใช่เรา เป็นแต่เพียงธรรม ครับ

ขออนุโมทนาที่ร่วมสนทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 13 พ.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระมหากรุณาต่อสัตว์โลกทั้งปวง เมื่อพระองค์ทรงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ทรงแสดงพระธรรมที่พระองค์ทรงตรัสรู้ โปรดเวไนยสัตว์ ตลอดระยะเวลา ๔๕ พรรษา ทรงพร่ำสอนอยู่บ่อยๆ เนืองๆ ก็เพื่อให้ผู้ฟังมีความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง พร้อมทั้งน้อมประพฤติปฏิบัติตาม จนกระทั่งถึงความเป็นผู้หมดจดจากกิเลสได้ในที่สุด จึงเห็นได้ว่าสิ่งที่เป็นที่พึ่งที่แท้จริงในชีวิตคือพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง ซึ่งจะทำให้ผู้ที่ได้ฟังได้ศึกษามีความเข้าใจตามความเป็นจริง เป็นไปเพื่อการเจริญขึ้นของปัญญา เพื่อขัดเกลากิเลสจนหมดสิ้น ถ้าไม่ได้อาศัยพระธรรม ไม่มีการอบรมเจริญปัญญาแล้ว สังสารวัฏฏ์ก็จะดำเนินไปอย่างไม่มีวันจบสิ้น ดังนั้น จึงต้องเริ่มสะสม อบรมเจริญปัญญา ด้วยตนเอง เห็นประโยชน์สูงสุดของปัญญา เพิ่มพูนความเข้าใจถูก เห็นถูกขึ้น ไปตามลำดับ หัวใจของพระพุทธศาสนา อยู่ที่ความเข้าใจธรรมตามความเป็นจริง เพราะเหตุว่า ไม่ว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงแสดงธรรมโดยนัยใด ก็ไม่พ้นไปจากให้พุทธบริษัทได้เข้าใจธรรมตามความเป็นจริง เป็นปัญญาของตนเอง ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
thilda
วันที่ 14 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
tanrat
วันที่ 14 พ.ค. 2558
กราบอนุโมทนาสาธุค่ะท่านอาจารย์
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
peem
วันที่ 14 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 16 พ.ค. 2558

หัวใจของพระพุทธศาสนา คือ ทำดี ละชั่ว อบรมจิตให้ผ่องใส คือ การอบรมเจริญอริยมรรคมีองค์แปด ทุกขณะหนีไม่พ้นธรรมะที่มีอยู่ขณะนี้ อนิจัง ทุกขัง อนัตตา ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
tanrat
วันที่ 17 พ.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
orn_uma4
วันที่ 13 ก.พ. 2563

ขอบพระคุณและอนุโมทนาบุญค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Jarunee.A
วันที่ 12 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ