อะไรที่เป็นของเรา? มีใครหาได้บ้างไหม?
จะขอกล่าวถึง
นตุมหากสูตรที่ ๑
ว่าด้วยขันธ์ ๕ ไม่ใช่ของใคร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลายสิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อะไรไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนชนพึงนำไป พึงเผาหรือกระทำตามปัจจัย ซึ่งหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และ ใบไม้ในวิหารเชตวันนี้ ก็เธอทั้งหลายพึงคิดอย่างนี้หรือว่า ชนย่อมนำไป ย่อมเผา หรือย่อมกระทำตามปัจจัยซึ่งเราทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ไม่ใช่อย่างนั้นพระเจ้าข้า
พ. ข้อนั้นเพราะเหตุไร?
ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะสิ่งนั้นไม่ใช่ตนหรือสิ่งที่นับเนื่องในตนของ ข้าพระองค์ทั้งหลาย
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกัน รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้ง หลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ไม่ใช่ของเธอ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้นอันเธอทั้งหลาย ละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข.
จบนตุมหากสูตรที่ ๑
อรรถกถานตุมหากสูตรที่ ๑
บทว่า ปชหถ ได้แก่ จงละด้วยการละฉันทราคะ
ส่วนชื่ออื่นเป็นชื่อของต้นไม้ ผมไม่ขอกล่าว
จะเห็นได้ว่า พระสูตรนี้พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนให้ทุกคนเล็งเห็นประโยชน์ของการละความยึดมั่นในขันธ์ ๕ เพราะในชีวิตประจำวันในแต่ละวัน คงไม่มีใครปฏิเสธว่าสามารถละความยึดมั่นในสิ่งทั้งปวงได้แล้วใช่ไหมครับ ดังนั้น ความเข้าใจในการอบรมเจริญสติปัฏฐานจึงเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด เพราะมีความละเอียดลึกซึ้งมาก และเนื่องมาจากปัญญาก็มีหลายขั้น ถึงแม้ว่าปัญญาที่ทำหน้าที่ละกิเลสได้นั้นจะมีความสำคัญมาก แต่ถ้าปราศจากปัญญาขั้นฟังหรือศึกษาเสียแล้ว ก็จะไม่มีความเข้าใจเบื้องต้น จนทำให้มีความเข้าใจผิดและนำไปสู่ความเห็นผิดได้ เพราะแม้แต่พระภิกษุและคฤหัสถ์ในสมัยพุทธกาลก็ยังต้องอาศัยการฟังพระสัทธรรมจากพระพุทธองค์ จึงจะมีความเข้าใจในเรื่องของการเจริญสติปัฏฐาน แต่โดยมากแล้ว ในปัจจุบันความเข้าใจผิดนั้นก็เป็นไปในลักษณะที่ "ไปทำ" หรือ "เราไปปฏิบัติ" หรืออาจเป็นการจงใจไปนั่ง ไปนอนยืน เดิน แล้วหวังที่จะให้ปัญญาเกิด ด้วยโลภะ ซึ่งนั่นไม่ใช่การเจริญสติเลยเพระถ้าเป็นการไปจงใจทำด้วยความเป็นตัวตนเสียแล้ว จะละความเป็นตัวตนได้อย่างไร และการเจริญสติ ก็มิใช่การไปห้ามไม่ให้อกุศลเกิด เพราะอย่าลืมว่า "สพเพ ธมมา อนตตา" สภาพธรรมทั้งหลายมิใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน และ ไม่สามารถบังคับบัญชาได้ การเจริญสติคือในขณะนี้ที่เป็นปรกติจริงๆ ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย และ ทางใจ = ขันธ์ ๕ นั่นเอง เช่น ถ้าเสียงเกิดในขณะนี้ เสียงมีจริง ถ้าสติเกิดระลึกรู้ทางหูก็จะรู้ถึงลักษณะของเสียงจริงๆ และถึงแม้ว่าเด็กทารกก็ได้ยินเสียง แต่สำหรับผู้ที่ไม่ได้มีความเข้าใจแล้วก็จะเป็น"เราที่ได้ยินเสียง" และนามที่ได้ยินเสียงก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าสติสามารถเกิดขึ้นระลึกได้เพียงทีละลักษณะเท่านั้น ทีละทวารเท่านั้น ถ้าอกุศลเกิดก็ไม่มีประโยชน์ที่จะไปเดือดร้อนใจ ก็ระลึกในอกุศลที่เกิดในขณะนั้น เพราะแม้แต่สติก็เป็นอนัตตา เป็นนามธรรมเหมือนกับนามอื่นๆ มีการเกิดดับเหมือนกัน เพียงแต่ในเบื้องต้นจะยังไม่เห็นความดับเท่านั้นเอง และถ้าใครเจริญสติจนมีกำลังมากแล้วก็จะยิ่งรู้ว่าธรรมทั้งหลายลึกซึ้งมาก และ ไม่บอกว่าง่ายแน่ๆ เพราะถ้าง่ายก็จะไม่มี ๔ อสงไขยแสนกัป ถ้าง่ายพระองค์คงไม่ท้อพระทัยที่จะแสดงธรรมในเบื้องต้น แต่ไม่ว่า สภาพธรรมจะลึกซึ้งสักเพียงใด ก็ไม่ควรที่จะย่อท้อ หรือล้มเลิกเพราะ "เอกายนมรรค" เป็นทางเดียวเท่านั้น แสดงความเห็นตามสบาย นะครับ
แม้สติฏฐานจะเป็นทางสายเดียวที่สามารถดับกิเลสได้ แต่กิเลสมีมากเหลือเกินที่สำคัญ สติปัฏฐาน เกิดง่ายหรือเปล่าในชีวิตประจำวัน เกิดไม่บ่อย หรือไม่เกิดเลยสำหรับคนที่เพิ่งเริ่มอบรมขั้นการฟังหรือแม้ฟังมานานแล้วก็ตาม ดังนั้น เราต้องรู้อาหารของสติปัฏฐานหรือเหตุให้สติปัฏฐานเกิด ประการแรก คือ สัญญาที่มั่นคง หรือความจำที่มั่นคง จำอะไรหละ จำชื่อเรื่องราวของสภาพธัมมะหรือ หรือว่าจำด้วยความเข้าใจจนมั่นคงในขั้นการฟังว่า สภาพธัมมะมีอยู่ในขณะนี้ ต้องรู้สภาพธัมมะที่มีในขณะนี้ เป็นปัจจุบัน ขณะที่กำลังปรากฏ เมื่อไม่ปรากฏ จะไปรู้สิ่งที่ไม่ปรากฏได้อย่างไร นี่คือความจำ (สัญญาเจตสิก) ที่มั่นคง ซึ่งเกิดร่วมด้วยกับปัญญาเจตสิกด้วย ประการที่สองอาหารของสติปัฏฐานอีกประการหนึ่ง คือ สุจริต ๓ อย่าง ที่กล่าวไว้ข้างต้น สติปัฏฐานไม่ได้เกิดบ่อย แล้วขณะที่ไม่เกิดจิตส่วนใหญ่เป็นอะไร ก็อกุศล (สำหรับปุถุชน) ดังนั้น ถ้าในชีวิตประจำวันเต็มไปด้วยอกุศล จะกล่าวไปใยถึงกุศลขั้นสูงที่จะเกิดได้ (นอกจากบุคคลที่อบรมสติจนมีกำลังเกิดเป็นปกติในชีวิตประจำวัน แม้อกุศลเกิดบ่อยก็ระลึกได้) ซึ่ง อาหารหรือเหตุให้สติปัฏฐานเกิด คือ สุจริต ๓
สุจริต ๓ คืออะไร ๑. กายสุจริต ๒. วจีสุจริต ๓. มโนสุจริต หมายถึง กาย วาจาใจ ที่เป็นไปในทางกุศลนั่นเอง เมื่อกาย วาจา ใจ ในชีวิตประจำวันเป็นไปในทางกุศลมาก รวมทั้งการฟังเรื่องสติปัฏฐาน สุจริต ๓ ก็จะเป็นปัจจัยหนึ่ง ซึ่งทำให้สติปัฐานเกิดได้ แต่ที่สำคัญสภาพธัมมะทุกอย่างไม่ได้เกิดจากเหตุปัจจัยเดียวเท่านั้น ดังนั้น สติปัฏฐานต้องประกอบด้วยปัญญาและความจำที่มั่นคงในเรื่องสภาพธัมมะด้วย จึงจะเกิดได้ เพราะเหตุนี้ ถึงแม้สติปัฏฐานจะเป็นทางสายเดียวที่ดับกิเลส แต่ก็ต้องอบรมกุศลทุกประการ เพราะเป็นเหตุปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สติปัฏฐานเกิด จะได้เป็นคนที่อยู่ในสังคมได้เป็นอย่างดีด้วยนะ เพราะเจริญกุศลทุกประการ อย่าลืมเด็ดขาด อบรมบารมี ๑๐ ในชีวิตประจำวัน ขอยกข้อความพระไตรปิฎกเรื่อง สุจริต ๓ เป็นอาหารของสติปัฏฐาน ครับ
เชิญคลิกอ่านที่นี่......