ธรรมที่ควรกำหนดรู้

 
unknown
วันที่  18 ม.ค. 2550
หมายเลข  2661
อ่าน  1,781
สารัตถปกาสินี อรรถกถาสังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค ปริญญาสูตรที่ 2 มีใจความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้และความกำหนดรู้
เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลายก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย รูปเป็นธรรมที่ควรกำหนดรู้ เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ เป็นธรรมที่
ควรกำหนดรู้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหล่านี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความกำหนดรู้เป็นไฉน คือ ความสิ้นไปแห่ง
ราคะ ความสิ้นไปแห่งโทสะ ความสิ้นไปแห่งโมหะ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
ความกำหนดรู้
จากพระสูตรนี้แสดงให้เห็นว่า การเจริญสติปัฏฐานนั้นเป็นลักษณะที่เป็น
ปรกติไม่ใช่ผิดปรกติ คือ แม้แต่คฤหัสถ์ก็สามารถเจริญได้ถ้ามีความเข้าใจในเรื่องของ
รูปนามแต่ละลักษณะเพียงแต่ว่าการศึกษาที่แท้จริงมิใช่เพียงการอ่านจากหนังสือ หรือ
พระไตรปิฎกให้มากๆ แล้วบอกว่ารู้แล้ว แต่การศึกษาที่แท้จริงคือ ในขณะนี้ คือ จาก
ชีวิตประจำวันแต่ละขณะ ค่อยๆ มีความเข้าใจในลักษณะของรูปนามแต่ละอย่าง
เพราะไม่ว่าจะเป็นขันธ์ ธาตุอายตนะ ปฎิจจสมุปปาท ก็รวมลงความเป็นรูปนาม
เท่านั้น และการกำหนดรู้ของรูปนามแต่ล่ะอย่างนั้น ไม่ใช่การนึกถึงคำ ความหมาย
หรือคำกล่าวของใครๆ แต่มีลักษณะอย่างนั้นจริงๆ ให้กำหนดรู้ เช่น ลักษณะของปฐวี
คือ ธาตุดิน ก็มีลักษณะที่แข็ง อ่อน คำว่าแข็งหรืออ่อน ก็เป็นเพียงแค่คำเท่านั้น
แต่ลักษณะที่แข็งอ่อนจริงๆ สติสามารถเกิดขึ้นเพื่อกำหนดรู้ได้ และขณะที่รู้นั้นก็ มี
เพียงลักษณะของปฐวีเท่านั้นที่ปรากฎ ขณะนั้นไม่มีเรา ไม่ได้มีใคร และผู้ที่เข้าไป
ระลึกคือ สติ ที่เป็นนามธรรม ส่วนปัญญาเป็นผู้รู้ ไม่ใช่เรารู้ นามก็เช่นเดียวกัน ไม่จำ
เป็นต้องใจร้อนว่า จะอยากบรรลุอะไรตอนไหน เพราะเป็นเรื่องไกลตัว และคนในยุค
นี้ถ้าจะบรรลุก็เป็นเนยยบุคคลแน่นอน จึงเป็นจิรกาลภาวนา คือ ต้องใช้เวลาศึกษา
และเจริญสติกันอย่างยาวนานมาก ค่อยๆ เพียรไป และความเพียรก็ไม่ใช่เราเพียร แต่เป็นนามธรรมที่เพียร และเป็นความเพียรในขณะนี้ที่สติจะเกิดขึ้นประกอบ
ด้วยจึงจะเป็นสัมมาวายามะคือเพียรชอบแสดงความเห็นตามสบายน่ะคับ

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
wannee.s
วันที่ 18 ม.ค. 2550

สิ่งที่ยากแสนยากที่จะรู้ก็คือ ความจริงในขณะนี้คืออะไร

ยากแสนยากที่จะรู้ความจริง ของการเห็น ของการได้ยิน แต่ละขณะ

ถ้าเรามีโอกาสที่จะอบรมเจริญความรู้จริง เราใช้คำว่าจริง เพราะว่า

เราไม่ต้องการสิ่งที่หลอกลวงหรือชั่วคราว เพราะไม่มีประโยชน์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 18 ม.ค. 2550

ขออนุญาต ตอบตามสบายนะครับ

อนุโมทนาด้วยครับที่ทำให้เข้าใจมากขึ้น จากพระสูตรที่ยกมา และการแสดงความ

คิดเห็นของคุณ อวิชชา ซึ่งในเรื่องของคำที่ว่า กำหนดรู้ ต้องพิจาณาให้ละเอียด

1. กำหนดรู้อะไร = สภาพธัมมะที่มีในขณะนี้

2. อะไรกำหนดรู้ = สติ และ ปัญญา

3. ปัญญา ระดับไหนที่กำหนดรู้ ตรงนี้แหละที่จะเข้าใจหนทางพลาดไป กำหนดรู้

หรือที่ใช้คำว่า ปริญญา ต้องเขาใจเสียก่อนว่า ไม่มีตัวตนที่จะทำการกำหนดรู้ เป็น

ธัมมะที่กำหนดรู้ (สติ ปัญญา) ดังนั้น จึงไม่มีตัวตนที่จะทำปริญญา และ กำหนดรู้

(ปริญญา) เราเข้าใจว่าเป็นปัญญาระดับไหนหละ อย่างที่พระสูตรยกมา เป็นปัญญา

ขั้น สติปัฏฐานหรือเปล่า ตอบว่าไม่ใช่ เป็นปัญญาระดับที่แทงตลอดสภาพธัมมะนะ

(วิปัสสนาญาณ) ตรงนี้ต้องเข้าใจ ไม่เช่นนั้นก็จะเข้าใจเรื่อง กำหนดรู้ว่าเป็นการคิด

เรื่องราวของสภาพธัมมะบ้าง เป็นแค่ปัญญาระดับสติฏฐานบ้าง แต่ไม่ใช่ครับ

กำหนดรู้ เป็นปัญญาขั้น วิปัสสนาญาณครับ

ที่สำคัญที่สุด สิ่งที่ควรกำหนดรู้ นั้นเป็นลักษณะของปรมัตถธรรม ดังนั้น จึงไม่

ใช่การคิดนึกถึงสภาพธัมมะ เพราะขณะที่คิดนึก ขณะนั้นก็ล่วงเลยการรู้ลักษณะธัมมะ

นั้นแล้วครับขอยกข้อความที่อธิบาย เรื่องการกำหนดรู้ (ปริญญา) ว่าเป็นปัญญาระดับ

วิปัสสนาญาณครับ

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๑ - หน้าที่ 90

อรรถกถาญาตัฏฐญาณุทเทส

บัดนี้ ปริญญา ๓ คือ การกำหนดรู้นามรูปโดยประเภทนั้นแล

เป็นญาตปริญญา, ต่อจากนั้นก็เป็นตีรณปริญญา, ในลำดับต่อไปก็เป็น

ปหานปริญญา, และภาวนาการเจริญและสัจฉิกิริยาการทำให้แจ้ง ก็

ย่อมมีเพราะเนื่องด้วยปริญญา ๓ นั้น,

ก็ปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา, ตีรณปริญญาและปหานปริญญา.

ในปริญญาทั้ง ๓ นั้น ดังนี้

ปัญญาอันเป็นไปในการกำหนดลักษณะโดยเฉพาะๆ แห่งสภาว-

ธรรมเหล่านั้นๆ อย่างนี้ว่า รูปมีการแตกดับไปเป็นลักษณะ, เวทนามี

การเสวยอารมณ์เป็นลักษณะ ชื่อว่า ญาตปริญญา.

วิปัสสนาปัญญาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ ยกสามัญลักษณะ

แห่งสภาวธรรมเหล่านั้นๆ ขึ้นเป็นไปโดยนัยเป็นต้นว่า รูป อนิจฺจ

ทุกฺข อนตฺตา รูปไม่เที่ยงเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา, เวทนา อนิจฺจา

ทุกฺขา อนตฺตา เวทนาไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาดังนี้ ชื่อว่า

ตีรณปริญญา.

ก็วิปัสสนาอันมีลักษณะเป็นอารมณ์ เป็นไปด้วยสามารถแห่ง

การละวิปลาสทั้งหลาย มีนิจสัญญาวิปลาสเป็นต้น ในธรรมทั้งหลายเหล่านั้นเสียได้นั่นแล ชื่อว่า ปหานปริญญา.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 19 ม.ค. 2550
อนุโมทนาคะ
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ