ขอเรียนถามว่า .. ต้องคิดอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็น มานะ

 
nongdum
วันที่  13 มิ.ย. 2558
หมายเลข  26625
อ่าน  1,758

ผมได้ฟัง รายการบ้านธัมมะ ล่าสุด ...ท่านอาจารย์สอนว่า ต้องรู้ว่าองค์พระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นใคร และเราเป็นใคร .......

ขอเรียนถามว่า .. ต้องคิดอย่างไร เพื่อไม่ให้เป็น มานะ

ขอบคุณครับ

nongdum


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 มิ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

มานะ ในภาษาไทย ตามที่เข้าใจกัน คือ ความพยายาม บากบั่น ไม่ย่อท้อ แต่ในความเป็นจริง มานะ ที่เป็นสภาพธรรมที่มีจริง ตามที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ที่เป็นภาษาบาลี มานะ ไม่ได้หมายถึง ความพยายาม บากบั่น แต่ความพยายามบากบั่นเป็นลักษณะของวิริยะ ครับ ซึ่ง มานะ ในภาษาบาลี หมายถึง

มานะ คือ ความสำคัญตน สำคัญว่าดีกว่าเขา เสมอเขา ต่ำกว่าเขา ขณะที่เปรียบเทียบมีการสำคัญตนเช่นนี้ ขณะนั้นมีมานะเจตสิกที่เกิดกับโลภมูลจิตครับ พระอรหันต์เท่านั้นที่สามารถดับมานะได้จนหมดสิ้นเป็นสมุจเฉท.

ซึ่งข้อความในพระไตรปิฎกแสดงถึง ลักษณะ ของมานะ ที่เป็นความสำคัญตน เปรียบเทียบ ดังนี้ ครับ

ที่ชื่อ "ความถือตัว" เนื่องด้วยกระทำมานะ คำว่า "กิริยาถือตัว ความถือตัว" แสดงขยายถึงอาการและภาวะ ที่ชื่อว่า "การยกตน" เกี่ยวกับ การเชิดชูตน การยกตนเกิดขึ้นแก่บุคคลใด ย่อมยังบุคคลนั้นให้เทิดขึ้น คือ สถาปนาตนยกขึ้นไว้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า "ความเทิดตน" ที่ชื่อว่า "การเชิดชูตนดุจธง" โดยความหมายว่า ทำตัวให้เด่นขึ้น (ทำให้เด่นหรือสำคัญขึ้น) ที่ชื่อว่า "การยกจิตขึ้น" ด้วยอรรถว่า ประคองจิตไว้โดยความหมายว่ายกขึ้นไว้ บรรดาธงหลายคัน ธงที่ยกขึ้นสูงกว่าเขา ชื่อว่า "เกตุ" หมายความว่า ธงเด่น แม้มานะเกิดขึ้นบ่อยๆ ก็เปรียบได้กับธงเด่น โดยเทียบกับมานะต่อๆ มา เหตุฉะนั้นจึงชื่อว่า "เกตุ" แปลว่าดุจธงเด่น ธรรมชาติที่ชื่อว่า "เกตุกมฺย" ด้วยอรรถว่าปรารถนาเป็นดุจธง ภาวะแห่งธรรมชาติที่ต้องการ ดุจธง ชื่อว่า เกตุกมฺยตา แปลว่า ความต้องการเป็นดุจธง และความต้องการเป็นดุจธงนั้นเป็นของจิต ไม่ใช่ของตน ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า "ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง" จริงอยู่ จิตที่สัมปยุตต์ด้วยมานะ ย่อมปรารถนาเป็นดุจธงและภาวะแห่งจิตนั้นชื่อว่าความต้องการเป็นดุจธงได้แก่ "มานะ" ที่นับว่าเป็นดุจธง

มานะ ในทางโลกเข้าใจกันว่าเป็นความพยายามบากบั่นขยันหมั่นเพียร แต่ในทางธรรม มานะ เป็นความสำคัญตน เป็นความทะนงตน ถือตน เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง เป็นอกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิตเท่านั้น

มานะ เป็นความถือตนทะนงตน ซึ่งไม่มีใครชอบอย่างแน่นอน ผู้ที่ยังไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์ มานะก็ยังมี แต่ว่าความหยาบ ความเบาบางก็แตกต่างกันออกไป เมื่อศึกษาในเรื่องของมานะ ซึ่งเป็นอกุศลเจตสิกประเภทหนึ่ง ทำให้เห็นว่าอกุศลในชีวิตประจำวันมีมากจริงๆ แล้วแต่ว่าใครจะสะสมหนักมากไปในทางใด หรือว่า ใครจะสามารถขัดเกลาให้เบาบางลงได้ในแต่ละทาง ซึ่งธรรมที่ตรงกันข้ามกับมานะ ก็จะต้องเป็นกุศลธรรมเท่านั้น ที่ควรอบรมเจริญให้มีขึ้นในชีวิตประจำวัน มีความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นต้น เพราะขณะนั้น จิตใจอ่อนโยน ไม่หยาบกระด้าง และประการสำคัญ การอบรมเจริญปัญญา ซึ่งเริ่มจากการฟัง การศึกษาพระธรรมในชีวิตประจำวัน เป็นหนทางเดียวที่จะทำให้สามารถไปถึงซึ่งการดับกิเลสได้ รวมถึงกิเลสที่กำลังกล่าวถึง คือ มานะ ด้วย กิเลสทั้งหลายที่มีนั้น ต้องเป็นผู้มีปัญญา ถึงจะดับได้ ถ้าไม่มีปัญญา ก็ไม่สามารถดับกิเลสใดๆ ได้เลย

ซึ่งผู้ที่จะไม่เกิดมานะ คือ พระอรหันต์ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปกติที่เกิดมานะ แต่ต้องมีความละเอียดว่า การที่รู้ตัวเองตามความเป็นจริง ว่า เราเป็นใคร คือ เป็นผู้ไม่รู้มาก และพระพุทธเจ้าเป็นใคร คือ ผู้ที่ตรัสรู้ความจริง เพราะฉะนั้น เมื่อเข้าใจความจริง จึงไม่สำคัญว่าธรรมง่าย การเข้าใจตามความเป็นจริง ย่อมไม่ใช่มานะก็ได้ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 13 มิ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จากประโยคที่ว่า พระพุทธเจ้า เป็นใคร แล้วเรา เป็นใคร พิจารณาได้ว่า แสดงถึงความเป็นบุคคลผู้ประเสริฐที่สุด คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้สภาพธรรม ตามความเป็นจริงโดยละเอียด โดยประการทั้งปวง ทรงแสดงความจริง ประกาศสัจจธรรมให้สัตว์โลกได้รู้ตามความเป็นจริง ไม่มีใครเสมอเหมือน กับพระองค์ สำหรับเราแล้ว เป็นผู้ที่มากไปด้วยกิเลส มากไปด้วยความไม่รู้ ไม่สามารถคิดธรรมเอาเองได้ ก็จะต้องฟังพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ไม่ประมาทในพระธรรมที่พระองค์ทรงแสดง ในฐานะที่เราเป็นสาวก เป็นการเตือน ให้รู้ถึงฐานะของตนเองว่า เป็นใคร ในเมื่อไม่ใช่ผู้ตรัสรู้ธรรม เอง ก็จะขาดการฟังพระธรรมศึกษาพระธรรมเป็นปกติ ไม่ได้เลยทีเดียว

ที่จะหมดความสำคัญตนได้ ต้องมีปัญญา ถ้าไม่มีปัญญาแล้ว กิเลสใดๆ ก็ไม่สามารถขัดเกลาละคลายได้เลย แล้วปัญญาจะมาจากไหน ก็ต้องกลับมาตั้งต้นคือ เริ่มต้นที่การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรมด้วยความละเอียดรอบคอบ ไม่ประมาทในแต่ละคำที่เป็นวาจาสัจจะ (คำจริง) ที่ได้ยินได้ฟัง ครับ

...ขอนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
peem
วันที่ 13 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tanrat
วันที่ 14 มิ.ย. 2558

"เราคือใคร แล้วพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นใคร" หากเปรียบก็ยังไม่กล้า คุณความดีที่พระผู้มีพระภาคทรงบำเพ็ญมามากมายยิ่งนัก ฟังแล้วอยาก ก็เป็นอกุศลแล้วค่ะ แต่ฟังไว้ สะสมไว้ พิจารณาตาม คิดเองย่อมไม่ได้ จนวันหนึ่งเข้าใจจริงๆ ก็จะประจักษ์แจ้งในสภาพธรรมะนั้นๆ กราบอนุโมทนาสาธุค่ะท่านอาจารย์

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
nong
วันที่ 15 มิ.ย. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
j.jim
วันที่ 15 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ดวงทิพย์
วันที่ 16 มิ.ย. 2558

บังคับความคิดไม่ได้ค่ะ แต่สะสมเหตุปัจจัยใหม่ๆ ในการเจริญกุศลที่ประกอบด้วยปัญญาได้จนกว่าจะถึงวันที่มานะถูกดับเป็นสมุทเฉทด้วยปัญญาไม่ใช่เรา..สาธุขออนุโมทนาในกุศลจิตทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
dhammabuth
วันที่ 16 มิ.ย. 2558

พ. ดูกรสารีบุตร บุคคลเหล่าใด ไม่มีศรัทธา ต้องการเลี้ยงชีวิต ... มีปัญญาทราม คล้ายคนบ้าน้ำลาย จงยกไว้ (ยกเว้น) ส่วนกุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธาออกบวช ... มีปัญญา มิใช่คล้ายคนบ้าน้ำลาย ดูกรสารีบุตร เธอพึงว่ากล่าวกุลบุตรเหล่านั้น จงกล่าวสอนเพื่อนพรหมจรรย์ จงพร่ำสอนเพื่อนพรหม-
* จรรย์ ด้วยหวังว่าเราจักยกเพื่อนพรหมจรรย์จากอสัทธรรม ให้ตั้งอยู่ในสัทธรรม เธอพึงสำเหนียกไว้อย่างนี้แล สารีบุตร ฯ[โดยพิศดาร] เพื่อทำลาย มานะ ทั้งมวล เพื่อเข้าสู่{มานะธรรม}นี่เรื่องธรรม จึงเป็นเรื่องของ [ธรรม] แล้วอย่างนี้[ธรรม]ที่ว่านี้ก็ต้องมีเจ้าของ แล้วเป็นของใครกันเล่า? วานตอบมาเถิด [ธรรม]นี้เป็นของ[พระธรรมราชา]ถ้าอย่างนั้น ก็ถ้าเป็นเรื่องที่ดีที่ควร ก็ควรมีควรสร้างใน {มานะธรรม}อันอบรมสั่งสมมาดีแล้ว ใน [มานะธรรมของธรรมราชา]ข้อสังเกต
เข้าใจกันมาอย่างนี้โดยตลอดว่า มานะ ในทางโลกเข้าใจกันว่าเป็นความพยายามบากบั่นขยันหมั่นเพียร แต่ในทางธรรม ซะงั้น ไม่รู้ว่าแปล หรือเรียงลำดับกันมาอย่างไร ทำไมถึงไม่พ้นอุปกิเลส ๑๖ ประการสักที โดยไม่เอาธรรมที่ดีของพระธรรมราชาผู้บริสุทธิคุณมาใช้ เพราะพระธรรมราชากลับร้ายกลายดีได้หมดทุกสภาวธรรม ถ้าท่านจะประสงค์ในธรรมของท่าน ของดียกให้ทางโลก คือโลกียสุข ของเสียยกให้ทางธรรมแต่ฝ่ายเดียว นี่ จึงควรจำกัดความด้วยว่า มานะ มีกี่อย่างกันแน่ และอย่างไหนจึงควรเป็นของทางโลก หรือทางธรรม กับ พิจารณาว่า มี ๒ อย่าง ของดีเป็นของทางโลก๑ ของเสียเอามาโยนให้ที่ผู้ที่จะเจริญในธรรมอันพ้นโลก๒ ออ ยอดมาก นี่ขนาด ยังไม่ได้เติม ทิฏฐิ เข้าไปนะ กี่เท่าตัวกันล่ะทีนี้ แล้ว ทำไม คำว่า มานะ จึงเป็นคำที่ใช้คู่กับ ทิฏฐิไปได้ ทั้งที่คำอื่นมีตั้งมากมาย สัมมาทิฏฐิ มิจฉาทิฏฐิ ต้องหาเหตุแห่งความเข้าใจพิจารณาในเรื่องนี้มานะในทางธรรม หืม?มานะ เป็นความสำคัญตน เป็นความทะนงตน ถือตน เป็นเจตสิกประเภทหนึ่ง เป็นอกุศลเจตสิกที่เกิดร่วมกับโลภมูลจิตเท่านั้น มานะ เป็นความถือตนทะนงตน ซึ่งไม่มีใครชอบอย่างแน่นอน ผู้ที่ยังไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมถึงความเป็นพระอรหันต์ มานะก็ยังมี แต่ว่าความหยาบ ความเบาบางก็แตกต่างกันออกไป อ้าว งั้นก็หมายความว่า พระพุทธเจ้าเป็นผู้ถือตนสิ แล้วท่านถือแบบไหน {0}เหตุที่ควรยึดถือนั้นมี แต่มิใช่เพราะยึดมานะอย่างที่ท่านเข้าใจ จงพิจารณา{0}[ (๐) ] น เม อาจริโย อตฺถิ สทิโส เม น วิชฺชติ สเทวกสฺมึ โลกสฺมึ นตฺถิ เม ปฏิปุคฺคโล [ (๐) ]
卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍卍
[ (๐) ] เราไม่มีอาจารย์ ไม่มีคนเสมือนเรา คนที่จะเทียบเราไม่มีในโลก ทั้งเทวโลก [ (๐) ]โอ้ มานะของพระอรหันต์ก็ยังมีนั้นถูก แต่ว่าผิดที่ความหยาบ อัตตาธรรม มีลักษณะเดียว กับสัมมาทิฏฐิฉันใด มานะธรรมก็เช่นเดียวกันฉันนั้น จึงเป็นเรื่องของความละเอียดอ่อน ที่ให้ความเจริญเพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่เรื่อง มิจฉาทิฏฐิ จึงไม่ใช่เรื่องของ อกุศลกรรม เป็นเรื่องของกุศลกรรมล้วนๆ อุปมาพิจารณาโดยพิศดารดังนี้จงเฝ้าพึงพิจารณาให้เห็นธรรม ที่ปะปนอยู่ในธรรมต่างๆ โดยเจริญในธรรมอันที่ทำให้มีให้เกิดในสัมมาทิฏฐิเถิด เมื่อมีสัมมาทิฏฐิย่อมแยกออกว่า กุศลกรรมและอกุศลกรรมอยู่ตรงที่ใดได้ ย่อมพึงรู้และเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ว่าด้วยลักษณะอาการธรรมอย่างนั้นแล

{O}เจตสิกดวงหนึ่งพึงประภัสสร{O} มานะดวงนั้น ในอภิธรรม หาให้เจอ ซึ่ง {O}อัตตาธรรม{O}

ทรงตรัสว่า อย่าทำมานะในบุพการี ครูอาจาร์ย ฯ นั่นก็หมายถึงนอกเหนือจากนั้น ยังปฎิบัติได้

อลงฺกโต เจปิ สมํ จเรยฺย
สนฺโต ทนฺโต นิยโต พฺรหฺมจานี
สพฺเพสุ ภูเตสุ นิธาย ทณฺฑํ
โส พฺรามหฺมโณ โส สมโณ ส ภิกขุ

ถึงจะแต่งกายแบบใดๆ ก็ตาม
ถ้าใจสงบระงับ ควบคุมตัวได้
มั่นคง บริสุทธิ์ ไม่เบียดเบียนคนอื่น
เรียกว่า พราหมณ์ สมณะ หรือภิกษุ

{O} จงข่มผู้ที่ควรข่ม เพ่งโทษในธรรมที่มีโทษ โดยปราศจาก อคติ ๔ และ อุปกิเลส ๑๖ ถ้าตนนั้น บริสุทธิคุณและมีปัญญาญานสามารถเพียงพอ พอยกเหล่าเพื่อนพรหมจรรย์ ออกจากอสัทธรรม {O}

เห็น เข้า ใจ ยึด ผิด ติด สง สาร

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
papon
วันที่ 22 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
wannee.s
วันที่ 24 มิ.ย. 2558

ไม่มีวิธีการที่จะคิดอย่างไรไม่ให้มีมานะเกิด ต้องอาศัยการฟังธรรม การอบรมปัญญา จนกว่าจะถึงความเป็นพระอรหันต์จึงจะดับมานะได้ มานะความสำคัญตนว่า เราดีกว่า เก่งกว่า เสมอกัน หรือ เลวกว่านั้น พระโสดาบันก็ยังมีมานะ ยังละมานะไม่ได้ แต่ท่านไม่มีความเห็นผิด ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Sea
วันที่ 17 พ.ค. 2565

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Jarunee.A
วันที่ 2 พ.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ