พระ-เณร ดูหนังออนไลน์ ผิด-ไม่ผิด

 
ความสุขอยู่ที่ใจ
วันที่  26 มิ.ย. 2558
หมายเลข  26695
อ่าน  13,933

คือ สงสัยมากครับ ว่าดูหนังจากเว็บแต่ไม่โหลดและอยากรู้ว่า พระจะถึงขั้น-ปาราชิก-เลยไหมครับเพราะดูจากเว็บหรือ youtubeซึ่งไม่แน่ใจเหมือนกันว่าผิดหรือถูกกฎหมาย เจตนาคือดู

โหลดบทสวดมนต์ จาก youtube จะผิดไหม เจตนาคือฝึกสวด เสร็จแล้วลบเลย

สงสัยมากเลยครับ ถ้าปาราชิก คงจะต้องหาเวลาสึกเลย...


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
khampan.a
วันที่ 26 มิ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

เพศบรรพชิต เป็นเพศที่จะต้องขัดเกลาเป็นอย่างยิ่ง การกระทำดังกล่าว ไม่ได้เกื้อกูลต่อความเจริญขึ้นของกุศลธรรมเลยแม้แต่น้อย มีแต่จะพอกพูนกิเลสทั้งหลาย มีโลภะ เป็นต้นให้เกิดมากขึ้น และขัดต่อความประพฤติเป็นไปของเพศบรรพชิต อันเป็นเพศที่สูงยิ่งอย่างสิ้นเชิง เป็นอาบัติมีโทษสำหรับพระภิกษุที่กระทำอย่างนั้น แต่ยังไม่ถึงขั้นปาราชิก เพราะปกติยูทูปก็เปิดเป็นสาธารณะอยู่แล้ว และที่สำคัญ ปกติจิตใจเป็นเรื่องที่ระวังรักษายาก ไม่ใช่เพียงแค่ดูบทสวดมนต์ แต่อาจจะดูอย่างอื่นต่อไปอีกก็ได้ เพราะฉะนั้น บรรพชิต ไม่ควรดู ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ความสุขอยู่ที่ใจ
วันที่ 26 มิ.ย. 2558

แล้วการดูหนังออนไลละครับที่ไม่ใช่youtubeละครับ ผมเองมิได้อยากจะดูสักเท่าไหร่พระเพื่อนอยากดูท่านว่าดูได้นะแต่ห้ามโหลด และก็จำใจเปิดแบบกังวล ถ้าวันนี้มาผมปิดตัวwifiเลยผม จึงร้อนใจเลยสอบถามมานะครับ

ขอบคุณคำแนะนำมากเลยครับ ตอนนี้พยายามท่องบทสวดมนต์นะครับ แต่อาตมาค่อนข้างหัวช้ามากเลยต้องฟังมากๆ บางทีเน็ตที่เขาเปิดให้มันหลุด เลยต้องโหลดไว้บ้าง ไม่งั้นอดฟัง

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
peem
วันที่ 27 มิ.ย. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
tanrat
วันที่ 27 มิ.ย. 2558

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
kullawat
วันที่ 29 มิ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
BudCoP
วันที่ 29 มิ.ย. 2558

วินยสฺส นมตฺถุ

ขอนอบน้อมพระวินัย

ข้อความในพระวินัยปิฎก:

๑๐. อนึ่ง ภิกษุณีใด ไปดูการฟ้อนรำก็ดี การขับร้องก็ดี การประโคมดนตรีก็ดี เป็นปาจิตตีย์.

ข้อความในอรรถกถา:

ท่านกล่าวไว้ในทุกๆ อรรถกถาว่า เป็นปาจิตตีย์ (แก่ภิกขุนี) ในฐานะทั้งปวง. เป็นทุกกฏแก่ภิกษุ.

ตอนท้ายอรรถกถาสรุปว่า:

สิกขาบทนี้มีสมุฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญาวิโมกข์ อจิตตกะ โลกวัชชะ กายกรรม อกุศลจิต มีเวทนา ๓ ฉะนี้แล....

บทสวดมนต์โหลดมาไม่ใช่ปัญหา ตราบเท่าที่ไม่มีวัตถุเคลื่อน ก็ไม่มีอาบัติ, แต่ก็ยังอาจเป็นภัณฑะไทยโดยเรียกสินไหมทดแทนได้ ถ้ากฎหมายบ้านเมืองจะเอาโทษเรื่องลิขสิทธิ์, และไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม คอมพิวเตอร์ไม่ใช่ของควรแก่พระภิกษุ ครับ.

//www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=03&i=182

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
WS202398
วันที่ 3 ก.ค. 2558

พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม 9 หน้า 60

"๑๐. เธอเว้นจากการฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรีและดูการเล่น อันเป็นข้าศึกแก่กุศล"

พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม 4 หน้า 138

สิกขาบทของสามเณร
[๑๒๐] ครั้งนั้น สามเณรทั้งหลาย ได้มีความดำริว่า สิกขาบทของพวกเรามีเท่าไร
หนอแล และพวกเราจะต้องศึกษาในอะไร. ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค.
พระผู้มีพระภาครับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐
แก่สามเณรทั้งหลาย และให้สามเณรทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นั้น คือ
๑. เว้นจากการทำสัตว์ที่มีชีวิตให้ตกล่วงไป
๒. เว้นจากถือเอาพัสดุอันเจ้าของมิได้ให้
๓. เว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์
๔. เว้นจากการกล่าวเท็จ

๕. เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือ สุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. เว้นจากบริโภคอาหารในเวลาวิกาล
๗. เว้นจากฟ้อนรำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นที่เป็นข้าศึก
๘. เว้นจากการทัดทรงตกแต่งด้วยดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้อันเป็นฐานแห่ง
การแต่งตัว
๙. เว้นจากที่นั่งและที่นอนอันสูงและใหญ่
๑๐. เว้นจากการรับทองและเงิน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตสิกขาบท ๑๐ นี้ แก่สามเณรทั้งหลาย และให้สามเณร
ทั้งหลายศึกษาในสิกขาบท ๑๐ นี้.

พระไตรปิฏกฉบับหลวง เล่ม 7 หน้า 6

[๑๙] สมัยต่อมา ที่พระนครราชคฤห์ มีงานมหรสพบนยอดเขา พระฉัพพัคคีย์ได้ไป
เที่ยวดูงานมหรสพ ชาวบ้านเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
จึงได้ไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง และการ ประโคมดนตรี เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกาม
ภิกษุทั้งหลาย ... กราบทูลเรื่อง นั้นแด่พระผู้มีพระภาค
พระผู้มีพระภาค ... ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงไปดูการฟ้อนรำ การขับร้อง
หรือการประโคมดนตรี รูปใดไป ต้องอาบัติทุกกฏ ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
gogojojoj
วันที่ 4 ก.ค. 2558

ทรัพย์สินทางปัญญา หรือ ลิขสิทธิ์ คือ สิ่งซึ่ง ปัญญาชน คนทั่วโลก หรือ บุคคลทั่วไป ทำข้อตกลงร่วมกันว่า บุคคลหนึ่ง หรือ กลุ่มบุคคลหนึ่ง จะสามารถกระทำ ต่อ ทรัพย์สินที่ที่ทำการเผยแพร่ หรือ ไม่ได้เผยแพร่ ต่อสาธารณชน หากบุคคลหนึ่ง หรือ กลุ่มบุคคล กระทำการละเมิด ข้อตกลงที่ระบุไว้ หรือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ เช่น ไม่อนุญาตให้ดาวน์โหลด แต่ฝ่าฝืนไปดาวน์โหลด หรือ กำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเป็นบุคคลที่มีอายุมากกว่า 18 ปี หรือเป็นผู้ใหญ่เท่านั้นจึงจะรับชมได้ หากฝ่าฝืนให้ข้อมูลที่เป็นเท็จ ก็ถือว่าเป็นความผิดอย่างหนึ่ง ในเรื่องของ ลิขสิทธิ์ แต่ตอนที่ไปดาวน์โหลดบทสวดมนต์ จาก ยูทูบ นั้น ต้องดูเงื่อนไขของ ยูทูบสำหรับไฟล์นั้นๆ หากปรากฏว่า บทสวดมนต์ ที่คุณดาวน์โหลดมา ติดเรื่องลิขสิทธิ์ และคุณไปฝ่าฝืนลิขสิทธิ์ คือไป ขโมย ทรัพย์สินทางปัญญาของเขามา ทั้งๆ ที่รู้อยู่แก่ใจ หรือ แค่สงสัย ไม่แน่ใจ ไม่แน่นอน หรือ ลังเล อันนี้ เข้าข่าย ปาราชิกแน่นอนครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 7 ก.ค. 2558

ในพระไตรปิฏกท่านแสดงไว้ว่า พระภิกษุดูมหรสพต้องอาบัติทุกกฏค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
lovedhamma
วันที่ 31 ส.ค. 2560

สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Jarunee.A
วันที่ 23 ต.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ