ภัยแล้งน่าเป็นห่วง ภัยจากมิจฉาทิฏฐิ น่ากลัวที่สุด

 
chatchai.k
วันที่  13 ก.ค. 2558
หมายเลข  26776
อ่าน  1,374

ภัยแล้งกำลังเป็นปัญหาหนักที่สุดของประเทศในขณะนี้ หลีกเลี่ยงไม่ได้ คงต้องบริหารจัดการเท่าที่จะทำได้ เมตตาช่วยเหลือซึ่งกันและกันเท่าที่จะทำได้ ภัยแล้งเป็นภัยในสังสาร เกิดขึ้นไม่มีวันจบสิ้น หากยังมีมิจฉาทิฏฐิ ดังนั้น ภัยที่น่ากลัวที่สุด คือ มิจฉาทิฏฐิ

ท่านวิทยากรและท่านทั้งหลายมีความเห็นอย่างไรในเรื่องนี้ ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 13 ก.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ภัย หรือ ภย คือ สิ่งที่น่ากลัว และ สภาพธรรมที่นำมาซึ่งสิ่งที่น่ากลัว และไม่ปลอดภัย ซึ่งก็สามารถกล่าวโดยนัยสมมติและปรมัตถ์ ได้ดังนี้ที่มีหลากหลายนัย ครับ

ภัย ความเกิดก็เป็นภัย ความแก่ ความเจ็บ และความตาย เป็นภัย เพราะนำมาซึ่งทุกข์ หากไม่มีการเกิดแล้ว ก็ไม่ต้องรับทุกข์อะไรเลย ดังนั้น แม้การเกิดก็เป็นภัยแล้ว เพราะนำมาซึ่งสิ่งที่น่ากลัว มีการได้รับทุกข์ประการต่างๆ ความแก่ก็เป็นทุกข์ เป็นภัยเป็นที่น่ากลัว ความเจ็บ และความตาย ก็โดยนัยเดียวกัน ครับ

และเมื่อกล่าวโดยปรมัตถ์ให้ลึกลงไปอีกครับว่า ภัย คืออะไร ภัยที่เป็นสิ่งที่น่ากลัว และนำมาซึ่งความน่ากลัว หากไม่มีกิเลส แล้ว จะมีการกระทำอกุศลกรรม หรือ ทำความชั่วได้หรือไม่ ไม่ได้เลยครับ เพราะฉะนั้น กิเลสเป็นภัยที่น่ากลัวอย่างยิ่ง เพราะเป็นเหตุที่แท้จริง ที่จะต้องได้รับทุกข์ประการต่างๆ เพราะเมื่อมีกิเลสก็มีการกระทำกรรมชั่ว ทำให้ต้องตกนรกได้ เพราะมีกิเลสนั่นเองที่เป็นภัยครับ

ที่ลึกซึ้งไปกว่านั้น ภัยที่น่ากลัว ไม่รู้เลยในขณะนี้ คือ ภัย คือ ความไม่รู้ ที่เป็นอวิชชา ที่ไม่รู้ตามความเป็นจริงว่า เป็นแต่เพียงธรรมไม่ใช่เรา ขณะนี้มีความไม่รู้อยู่ ก็ไม่รู้ว่าเป็นภัย เพราะมีอวิชชา จึงมีการทำบาป อกุศลประการต่างๆ และเมื่อไม่รู้ตามความเป็นจริงก็ทำให้เกิดตาย อยู่ร่ำไป นำมาซึ่ง ความเกิด แก่ เจ็บ ตายที่เป็นภัย ครับ

ความเห็นผิด และ อกุศลประการต่างๆ ก็เป็นภัย เพราะ ทำให้เข้าใจธรรมผิด และ ทำให้ไม่สามารถออกจากวัฏฏะ ได้เลย นำมาซึ่งทุกข์ประการทั้งปวง ครับ

สภาพธรรมที่เกิดดับก็เป็นภัย เพราะเป็นสิ่งที่ไม่เที่ยง ขณะนี้ก็มีภัย คือ สภาพธรรมที่เกิดดับ ขณะที่เกิดขึ้น เป็นภัยแล้ว เพราะจะนำมาซึ่่งสภาพธรรมต่างๆ เพราะยังจะต้องมีสภาพธรรมที่เกิดดับ วนเวียนไปไม่มีที่สิ้นสุด ทำให้วนเวียนไปที่จะต้องได้รับทุกข์ประการต่างๆ เพราะมีการสืบต่อของสภาพธรรมที่เกิดดับ ดังนั้น แม้สภาพธรรมที่มีในขณะนี้ แม้ยังไม่ได้ทำชั่วอะไรเลย ก็เป็นภัยที่น่ากลัวแล้ว ซึ่งจะเห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้ได้ ก็ต้องด้วยปัญญาระดับสูง ครับ

ที่สำคัญ ไม่ใช่เพียงการทำความชั่วเป็นภัย พระพุทธองค์ยังแสดงแม้แต่การกระทำกุศลกรรม ก็เป็นภัย อีกเช่นกัน เพราะนำมาซึ่งการเกิด นำมาซึ่งการจะต้องได้รับทุกข์ประการต่างๆ เพราะมีการเกิด อันมีการกระทำกุศลกรรม เป็นปัจจัย ครับ ซึ่งการจะพ้นภัยที่น่ากลัวประการต่างๆ ก็ต้องละเหตุให้เกิดภัย คือ กิเลสและอวิชชาที่สะสม เมื่อไม่มีกิเลส ไม่มีอวิชชา ก็ไม่มีการกระทำกุศลกรรม อกุศลกรรม จึงไม่มีการเกิด ไม่ต้องรับทุกข์ประการต่างๆ ที่เป็นภัย เลย ครับ ซึ่งก็ต้องด้วยการฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม ก็จะค่อยๆ ละภัยประการต่างๆ ที่เป็นกิเลสไปทีละน้อย จนดับภัยที่แท้จริงคือกิเลสได้ทั้งหมด ก็หมดภัย ไม่มีภัยอีกเลย ครับ

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

ภัยเวรที่แท้จริงคืออะไร [ภัยภายใน...ตอนที่ ๑]

ภัยเวรที่แท้จริงคืออะไร [เห็นเป็นภัยหรือเปล่า...ตอนที่ ๒]

ภัยเวรที่แท้จริงคืออะไร [ผู้ไม่เห็นภัยจึงก่อเวร...ตอนที่ ๓ จบ]

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 13 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
j.jim
วันที่ 13 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Phutporn
วันที่ 13 ก.ค. 2558

ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 13 ก.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ตราบใดที่ยังมีการเกิดในสังสารวัฏฏ์ การประสบภัยต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภัยแล้ง น้ำท่วม ไฟไหม้ เป็นต้น เป็นธรรมดาจริงๆ เป็นภัยที่เห็นๆ กันอยู่ แต่ภัยที่น่ากลัวที่สุดไม่ใช่ภัยภายนอก แต่เป็นภัยภายในคือกิเลสอกุศลธรรมทั้งหลาย มีโลภะ โทสะ ตลอดจนถึงมิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิด โดยมีอวิชชา ความไม่รู้เป็นหัวหน้า
ความเห็นผิด หรือ มิจฉาทิฏฐิ นั้น มีโทษมากอย่างยิ่ง เพราะเมื่อมีความเห็นผิดแล้ว ย่อมทำให้การกระทำทางกาย การกระทำทางวาจา และการกระทำทางใจ ก็ผิดไปทั้งหมด และถ้าเป็นความเห็นผิดที่มีกำลังเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ (ความเห็นผิดที่ดิ่ง) แล้ว ไม่สามารถจะแก้ไขได้เลย มีอบายเป็นที่ไปในเบื้องหน้าแน่นอน ยากที่จะพ้นไปจากสังสารวัฏฏ์ได้ ความเห็นผิด ตรงกันข้ามกับความเห็นถูกอย่างสิ้นเชิง ความเห็นถูก จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ถ้ามีความเห็นถูก กาย วาจา ใจ ย่อมเป็นไปในทางที่ถูกด้วย ก็จะเป็นหนทางนำไปสู่สุคติ คือ มนุษย์ภูมิและสวรรค์ และสามารถทำให้รู้แจ้งอริยสัจจธรรมดับกิเลสได้ตามลำดับขั้นได้

แต่ถ้ามีความเห็นผิด กาย วาจา และ ใจ ย่อมเป็นไปในทางที่ผิด ผลที่จะเกิดขึ้น คือ เป็นเหตุให้เข้าถึง อบาย ทุคติ วินิบาต นรก ซึ่งน่ากลัวเป็นอย่างยิ่ง, ความเห็นถูก จะค่อยๆ เจริญขึ้นได้ ก็เพราะอาศัยการศึกษา การฟังพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดง บ่อยๆ เนืองๆ เป็นปกติในชีวิตประจำวัน การฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง ด้วยความละเอียดรอบคอบ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกเท่านั้น ที่จะเป็นไปเพื่อละคลายความเห็นที่ผิด ที่ไม่ตรง ได้ในที่สุด เราไม่สามารถที่จะทราบได้เลยว่าโอกาสที่เราจะเข้าใจธรรมในภพนี้ชาตินี้ จะเหลืออีกเท่าใด เพราะฉะนั้นแล้วเวลาที่เหลืออยู่นี้จึงเป็นเวลาที่มีค่าที่สุดในการที่จะให้ตนเองมีความเข้าใจธรรมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหนทางเดียวที่จะเป็นไปเพื่อการดับกิเลส มีความเห็นผิด เป็นต้นได้ในที่สุด ครับ.

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 13 ก.ค. 2558

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
thilda
วันที่ 14 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ประสาน
วันที่ 14 ก.ค. 2558

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
wannee.s
วันที่ 14 ก.ค. 2558

ภัย คือ ความไม่รู้ ที่เป็นอวิชชา

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
jirat wen
วันที่ 14 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
tanrat
วันที่ 15 ก.ค. 2558

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
orawan.c
วันที่ 23 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
athisamai
วันที่ 24 ก.ค. 2558

มิจฉาทิฏฐิ คือความเห็นผิดในขันธ์ 5 เป็นประตูไปสู่ภัยในวัฏฏะทั้งหมด พระบรมศาสดาจึงสอนวิธีให้มีความเห็นถูกรู้ถูก ผู้ศึกษาเรียนรู้จนปัญญาผ่านโสดาปัติมรรคและเสวยผล เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่าไม่มีตัวตนในขันธ์ 5 ชื่อว่าละสังโยชน์ ๓ ได้ มีสักกายทิฏฐิเป็นต้น พ้นจากมิจฉาทิฏฐิขั้นแรกเปิดประตูไปสู่ความพ้นภัย เริ่มพึ่งตนได้อย่างแท้จริงและเที่ยงที่จะพ้นในที่สุด

ยินดีในบุญกับทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
peem
วันที่ 25 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
pichet
วันที่ 6 ส.ค. 2558

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
namarupa
วันที่ 7 ส.ค. 2558

ภัยที่น่ากลัวที่สุด คือ มิจฉาทิฏฐิ....อันนี้เห็นด้วยเลยจริงๆ ค่ะ..และสิ่งที่น่ากลัวที่พ่วงไปด้วยคือ...การสะสมที่จะเห็นผิดเพิ่มมากขึ้นไปอีกไม่รู้เท่าไหร่ โดยที่ไม่รู้ตัวเลย...ดังนั้นความเมตตาของพระพุทธองค์ที่ทรงชี้แนะให้พวกเราได้เห็น และท่านอาจารย์สุจินต์ที่นำมาพร่ำสอน โดยไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยและย่อท้อ จึงเป็นบุญเก่าของพวกเราอย่างหาประมาณมิได้ กราบแทบเท้าอนุโมทนาท่านมา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
kullawat
วันที่ 13 ส.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
Jarunee.A
วันที่ 17 ต.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ