สงสัยเรื่องพระโสดาบัน เหตุใดยังมีกิเลสและอวิชชา

 
apiwit
วันที่  30 ก.ค. 2558
หมายเลข  26855
อ่าน  979

เท่าที่ผมทราบคือพระโสดาบันนั้นเป็นผู้ที่ดับความเห็นผิดได้ เป็นผู้ที่มีความเห็นถูกหมดในสภาพธรรมตามความเป็นจริง แต่เพราะเหตุใดพระโสดาบันจึงยังเป็นผู้ที่มีกิเลสและอวิชชาคือความไม่รู้อยู่ ผมรู้สึกว่าตรงนี้มันขัดแย้งกันครับ เพราะตามที่ผมเข้าใจคือ เมื่อมีความเห็นถูกหมดก็น่าจะดับอวิชชาได้หมดด้วย ผมจึงอยากให้ท่านอาจารย์ช่วยแก้ข้อสงสัยในเรื่องนี้ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 30 ก.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความไม่รู้ มีความละเอียดมากกว่าความเห็นผิดมาก พระอรหันต์เท่านั้นที่ดับได้ อวิชชา ไม่รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ไม่รู้จึงยึดถือว่ามีสัตว์ บุคคล ตัวตน พระโสดาบัน ดับความไม่รู้ว่าเป็นธรรม รู้ความจริงว่าเป็นธรรม แต่ยังมีความไม่รู้อย่างอื่นอีกมาก เพราะ ไม่รู้ว่า สภาพธรรมไม่งาม จึงติดข้องด้วยโลภะ ชอบ สวยงาม ติดข้องในสิ่งต่างๆ เพราะ ไม่รู้ จึงยังโกรธ เพราะฉะนั้น ความไม่รู้ จึงมีความละเอียด หลายระดับ พระโสดาบัน จึงดับเฉพาะความไม่รู้ว่าเป็นธรรม ดับเฉพาะความเห็นผิด แต่ยังมีความไม่รู้อื่นๆ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
khampan.a
วันที่ 30 ก.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การดับกิเลสดับเป็นขั้นๆ พระอริยบุคคลมี ๔ ระดับขั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และ พระอรหันต์ การเป็นพระโสดาบัน ไม่ใช่พระอรหันต์ ดังนั้น กิเลสทั้งหมดจะดับหมดสิ้นไม่มีเหลือเมื่อถึงความเป็นพระอรหันต์ ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
tanrat
วันที่ 30 ก.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 31 ก.ค. 2558

พระโสดาบันละ ความเห็นผิด ละข้อปฏิบัติผิด ละความลังเลสงสัยในพระพุทธ พระธรรมและพระสงฆ์ ในครั้งพุทธกาล นางวิสาขาหลานตายท่านยังร้องไห้เลย เพราะยังละกิเลสไม่หมดความทุกข์จึงเกิด ท่านก็เปรียบเหมือนมีรักหนึ่งก็ทุกข์หนึ่ง มีรักสองก็ทุกข์สอง ฯลฯ ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 3 ส.ค. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 11 พ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jarunee.A
วันที่ 19 ก.ย. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ