วิปัสสนากรรมฐาน ในพระไตรปิฎก

 
Niranya
วันที่  22 ม.ค. 2550
หมายเลข  2687
อ่าน  13,771

ขอความกรุณา ให้ความรู้เรื่อง วิปัสสนากรรมฐาน ในพระไตรปิฎก ด้วยค่ะ กรรมฐาน มีกี่แบบ อะไรบ้างค่ะ พระพุทธเจ้าทรงเน้น กรรมฐานแบบไหนมากที่สุดค่ะ

กราบขอบพระคุณ ค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 23 ม.ค. 2550

คำว่า กรรมฐาน คือที่ตั้งการกระทำกรรมทางใจ เป็นกุศลขั้นภาวนา ตามหลักคำสอนแบ่งเป็น ๒ ประเภทคือ สมถกรรมฐาน ๑ วิปัสสนากรรมฐาน ๑ สมถกรรมฐานคือ การอบรมความสงบของจิตเพื่อระงับนิวรณ์ ผลคือบรรลุฌานขั้นต่างๆ เมื่อฌานไม่เสื่อมตายแล้วย่อมบังเกิดในพรหมภูมิ แต่ละกิเลสไม่ได้ ส่วนวิปัสสนากรรมฐาน คือ การอบรมเจริญปัญญาเพื่อการละกิเลสเป็นลำดับขั้นจนเป็นพระอรหันต์ ไม่ต้องเกิดอีกเลย พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเน้นการเจริญวิปัสสนากรรมฐานคือ การเจริญสติปัฏฐานหรืออริยมรรคมีองค์แปด เพราะเป็นหนทางเพื่อการดับกิเลส อันเป็นสาเหตุของทุกข์ในวัฏฏะที่สุดเพื่อการบรรลุพระนิพพาน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 23 ม.ค. 2550

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 489

สติสูตร

[๘๒๕] สาวัตถีนิทาน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุจึงจะชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ... ในเวทนาอยู่ ... ในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
study
วันที่ 23 ม.ค. 2550

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

การเจริญสติปัฏฐาน๔ [โกสลสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
study
วันที่ 23 ม.ค. 2550

[เล่มที่ 30] พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค เล่ม ๕ ภาค ๑ - หน้าที่ 480

๕. สติสูตร

ผู้เจริญสติปัฏฐานชื่อว่าผู้มีสติ

[๘๐๓] สาวัตถีนิทาน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะอยู่เถิด นี้เป็นอนุศาสนีของเราสำหรับเธอทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่าภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรนวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อม พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียรมีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่าเป็นผู้มีสติ.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
Niranya
วันที่ 23 ม.ค. 2550

ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่ายิ่งค่ะ

ดิฉันคิดว่าผู้ที่ช่วยชีวิตคนให้พ้นจากการรอดตาย คนเรานับว่าเป็นผู้ที่เก่งกล้า หาญ นั่นก็ถูกต้องระดับหนึ่งแต่ผู้ที่สามารถช่วยชีวิตคนให้เป็นมนุษย์และชุปชีวิตมนุษย์ให้เป็นพระอรหันต์ ผู้ทำได้เช่นนั้นประเสริฐสุด เพราะเป็นการช่วยดับทุกข์ สิ้นกาลนาน.

ดิฉันได้อาศัยบ้านธรรม ศึกษาธรรม เท่าที่ผ่านมาได้ทราบธรรมะ ตรงตามรอยของพระพุทธเจ้า ดิฉันเป็นผู้มีบุญ เห็นอยู่ คือทุกครั้งที่ระลึกถึงพระรัตนตรัย ดิฉันรู้สึกว่า ทางพ้นทุกข์มีอยู่ ไม่ใช่ไม่มี เพียงแต่ใจต้องตั้งมั่น เพียรไม่ท้อถอย และต้องมีปัญญาประกอบในการศึกษา

ดิฉันเคยคิดว่า ธรรมะนั้น ลึกซึ้งยากยิ่งนัก ความคิดนั้นก็ยังมีอยู่ แต่ไม่ได้หยุดแค่นั้น เพราะธรรมะนี้ ลึกซึ้งและยากยิ่ง สำหรับปุถุชนที่หนาด้วยกิเลส ตัณหาและอุปทาน ส่วนผู้ที่ได้ศึกษาธรรมะอย่างถูกต้อง และปฎิบัติธรรมะสมควรแก่ธรรมะ ผู้นั้นก็จะลดละคลายความกำหนัด ในสิ่งทั้งปวงได้ ด้วยเหตุที่เห็น ไตรลักษณ์ในสิ่งทั้งปวง ได้รู้แจ้งในอริยสัจจ์สี่.

ดิฉันเห็นว่า ทิฏฐิ นี่เป็นกำแพงอย่างหนา ที่กั้นไม่ให้ผู้คนทั้งหลายเห็น วิมมุติ (ความไม่มีอะไรเลย) การที่จะให้กำแพงนี้ลดความหนาลงก็คงเฉพาะผู้เห็นจริง และ ยอมรับความจริงจริง. ดิฉันจำได้ประโยคหนึ่งว่า พระพุทธเจ้าทรงสอนภิกษุรูปหนึ่งว่า " เธอจงมองโลกเป็นของว่าง " ดิฉันสงสัยมาก ทำไมพระพุทธเจ้าตรัสเช่นนั้น ทรงใช้วิธีอะไร และก็เชื่อว่าสิ่งที่พระองค์ตรัส ไม่ใช่ความจริงนั้นไม่มี. แสดงว่า โลกนี้เป็นของว่าง พระองค์จึงตรัสเช่นนั้น.

ดิฉันก็มองต่อไป มองดูรูปธรรมก่อน ดูทุกอย่าง มีไตรลักษณ์ มันเกิดขึ้นด้วยเหตุให้เกิด และดับด้วยเหตุให้ดับ แล้วรูปธรรมทั้งหลายมันก็หมดไป พอรูปธรรม หมดก็ไม่เหลืออะไรที่เป็นรูปธรรม มันว่าง. ถ้าถามว่ารูปธรรม มีไหม ก็มีนะแต่มันก็เสื่อมและดับ มันจึงไม่มี. อย่างดิฉันเคยมีปู่ เพราะปู่เคยมีชีวิตอยู่ แต่ดิฉันก็ไม่มีแล้ว เพราะปู่ดับไปแล้ว ตอนนี้ดิฉันมีลูกและลูกก็ดับได้เหมือนกับปู่ ลูกก็ขึ้นกับกฎไตรลักษณ์ ตัวดิฉันก็มีกฎไตรลักษณ์มันมีเหตุให้เกิดจึงเกิด เมื่อมีเหตุให้ดับ มันก็ ดับเท่านั้นเอง. นามธรรม ดิฉันก็อาศัยดูที่จิต เห็นจิตตัวเอง (เคยโง่คิดว่าจิตเป็นตัวเองค่ะ) มันเปลี่ยนเร็วมาก ตามเหตุที่มากระทบ มันไปตามอำนาจของความเคยชิน อำนาจของอวิชชา ดิฉันจึงเห็นว่า จิต นี่ก็ไม่ใช่ดิฉันและไม่ใช่ของดิฉัน (เพราะถ้าจิตนี้ เป็นของดิฉัน ดิฉันจะไม่มีทุกข์กับชาวบ้านเขาเลย คือ ดิฉันจะบอกจิตของดิฉันว่า เธอจงคิดอย่างนี้นะ อย่างนั้นเธอจงอย่าไปคิด นี่ดิฉันบอกมันไม่ได้ และถ้าทำได้อีก ดิฉันก็จะสั่งอีกว่า ตอนนี้เธอคิดนะ จิต และตอนนั้นเธอจงหยุดคิดนะ เพราะฉันจะนอนแล้ว ฉันเหนื่อยเหลือเกิน แต่ดิฉันก็บอกมันไม่ได้เราสั่งจิตไม่ได้ สิ่งที่เราทำได้คือ ฝึกจิต และจิตที่ฝึกดีแล้วนั่นแหละจึงนำสุขมาให้เท่านั้นเอง.)

บางครั้ง จิตเดิม (ที่คิดว่าเป็นตัวเอง) มันใหญ่กว่า จิตที่เพิ่งตื่น (จากหลับ) แต่บางครั้งจิตที่เพิ่งตื่นใหญ่กว่า จิตเดิมคือ มันไม่ได้ทำอะไร มันดู มันเห็น แล้วจิตเดิม มันก็อ่อนกำลังลงจนหายไปในที่สุด.

ดิฉันก็เพียรฝึกสติ ดูจิต ไปเรื่อยๆ ไม่สุข ไม่ทุกข์ เป็นกลาง เมื่อไรที่ ตื่นก็รู้ว่าตื่นเมื่อไรเผลอหลับพอตื่นก็รู้ว่าเผลอหลับไปก็เท่านั้นเอง. ตื่นบ่อยๆ การเผลอหลับก็ น้อยลง ความรู้ตัวก็เกิดมีมากขึ้น.

ดิฉันขอกราบขอบพระคุณ บ้านธรรมะ เป็นอย่างยิ่งค่ะ ท่านทำคนตาบอดให้ได้ดวงตา เห็นทางและไม่หลงทางต่อไปค่ะ การหลงทางเป็นความทุกข์อย่างยิ่งค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Guest
วันที่ 23 ม.ค. 2550

พระธรรมเป็นเรื่องละเอียดลึกซึ้งมาก แม้แต่พระพุทธพจน์ ที่ทรงแสดงว่าโลกเป็นของว่าง อ่านแล้วก็เข้าใจได้ยาก ลองอ่านพระสูตรนี้นะครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

สิ่งที่เรียกว่าโลกว่างเปล่า [สุญญสูตร]

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 23 ม.ค. 2550

อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
kchat
วันที่ 23 ม.ค. 2550

สืบเนื่องจากความคิดเห็นที่ 6 ของคุณ Niranya ลองอ่านคำถาม-ตอบ เรื่อง การดูจิต (ตามดูจิตหมายความว่าอย่างไร) คิดว่าเป็นประโยชน์มากครับสำหรับทุกท่าน

ถาม ตามดูจิตอย่างไร

อ่านหนังสือธรรมะ หรือข้อความที่ post มาในกระดานสนทนา มีหลายท่านใช้คำว่า ดูจิต หรือตามดูจิตอยากให้ช่วยทำความเข้าใจด้วยครับ ว่าหมายความว่าอย่างไร เหมือนกับว่าจะทำกันได้ จะดูอย่างไร หรือตามดูจิตอย่างไร

ตอบ โดย : มูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในพระไตรปิฎกมีแสดงว่า พิจารณาเห็นจิตคือ การรู้จิตตามความเป็นจริงด้วยปัญญา ไม่ใช่การดูจิตด้วยตา หรือการรู้จิตด้วยอกุศล เพราะธรรมดาทั่วไปแม้ผู้ไม่ศึกษา ธรรมะก็รู้ว่า จิตโกรธ จิตโลภ แต่เป็นเราทั้งหมด เมื่อศึกษาพระธรรมย่อมค่อยๆ รู้ ความจริงว่า ไม่มีเรา จิตไม่ใช่เรา เป็นแต่ธรรมะอย่างหนึ่งเท่านั้น

ตอบ โดยสมาชิก : แล้วเจอกัน

ก็ไม่พ้นไปจากความต้องการอย่างละเอียดคือ การจดจ้อง ซึ่งเราต้องมีความ เข้าใจพื้นฐาน แม้ขั้นฟังเสียก่อนว่า ธัมมะทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับบัญชาไม่ได้ แล้วแต่เหตุปัจจัยที่เขาจะเกิด ที่พูดกันว่า ดูจิต เขาย่อมหมายถึง สติเจตสิก แต่เราไม่ควรลืมว่าไม่มีใครบังคับบัญชาให้สติเกิดตามใจชอบได้ ถ้าตามดูจิตได้ สติก็คงจะเกิดบ่อยมาก คงบรรลุได้เร็ว สุญญสูตร ก็แสดงไว้แล้วว่า ว่างจากตน ตัวตน เป็นเพียงธัมมะ จึงไม่มีตัวตนที่จะไปบังคับตามดูจิต แล้วใครจะไปตามดูจิตได้ ทุกอย่างเกิดจากเหตุปัจจัยครับ

อีกประเด็นหนึ่งซึ่งเป็นเรื่องละเอียดในการเจริญสติปัฏฐาน สติต้องมีปรมัตถธรรม เป็นอารมณ์ของสติ มีลักษณะให้สติระลึก นั่นคือ นามธรรมและรูปธรรม แต่ขณะที่ดูจิต ที่กล่าวกันนั้น ขณะที่สภาพธัมมะเกิดก็ตามดู แต่ไม่รู้เลยว่าจริงๆ แล้วขณะนั้น คิด นึก ถึงสภาพธัมมะที่ดับไปแล้ว ซึ่งขณะที่คิดนึก ขณะนั้นไม่ได้รู้ลักษณะที่เป็นนามธรรมและรูปธรรม ยกตัวอย่าง ขณะที่เห็นก็คิดนึกว่า ขณะนี้เห็นเป็นเพียงนามธรรม ชนิดหนึ่ง ซึ่งขณะที่คิดอย่างนั้น เราก็ไม่ได้รู้ลักษณะของสภาพธ้มมะนั้นจริงๆ เป็นแต่เพียง คิดนึกถึงสภาพธัมมะที่ดับไปแล้วครับ คิดนึก จึงไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน ธรรมเป็นเรื่องละเอียด ถ้าไม่ศึกษาอภิธรรมให้สอดคล้องกับสติปัฏฐาน จะหลงทางได้ง่าย

อนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
wannee.s
วันที่ 24 ม.ค. 2550

เชิญคลิกอ่านที่นี่ ...

ว่าด้วยพละ ๒ อย่าง [อธิกรณวรรค]

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pornpaon
วันที่ 24 ม.ค. 2550

ดิฉันไม่เคยรู้เรื่องพละ ๒ อย่างนี้เลย

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาที่นำมาให้อ่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เจริญในธรรม
วันที่ 12 ก.พ. 2551

ความคิดเห็นที่ 1 โดย : ม.ศ.พ.

คำว่า กรรมฐาน คือที่ตั้งการกระทำกรรมทางใจ เป็นกุศลขั้นภาวนา ตามหลักคำสอนแบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ สมถกรรมฐาน ๑ วิปัสสนากรรมฐาน ๑ สมถกรรมฐานคือ การอบรมความสงบของจิตเพื่อระงับนิวรณ์ ผลคือบรรลุฌานขั้นต่างๆ เมื่อฌานไม่เสื่อมตายแล้ว ย่อมบังเกิดในพรหมภูมิ

ถามว่า ...

ที่ว่าฌานไม่เสื่อม ตายย่อมบังเกิดในพรหมภูมิ หมายความว่า ต้องตายขณะที่อยู่ในฌานใช่หรือไม่ครับ หากตายขณะไม่ได้อยู่ในฌาน เช่น นอนอยู่ นั่งอยู่ ก็ไม่ไปพรหมภูมิใช่หรือไม่ครับ?

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
study
วันที่ 13 ก.พ. 2551

ที่ว่าฌานไม่เสื่อมหมายความว่า ในเวลาก่อนตายสามารถเข้าฌานตามลำดับได้ ขณะที่เข้าฌานตายไม่ได้ คือจุติจิตเกิดไม่ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
เซจาน้อย
วันที่ 29 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 9 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
yu_da2554hotmail
วันที่ 11 ก.พ. 2567

ยินดีในกุศลจิตค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ