ผู้ที่ออกบวชได้เปรียบกว่าผู้ไม่ออกบวชหรือไม่
การจะใช้ชีวิตแบบไหน ฆราวาส หรือ บรรพชิตขึ้นอยู่ที่การสะสม จริงอยู่การบวช เป็นบรรพชิตเป็นสิ่งที่ดีมีชีวิตที่สงบ เพราะไม่ต้องวุ่นวายกับเรื่องญาติพี่น้อง เพื่อน ธุรกิจ การค้า เป็นต้น บรรพชิตเป็นเพศที่สูง ประเสริฐกว่าเพศฆราวาส ฆราวาสจึง สักการะบูชาด้วยจตุปัจจัยทั้งหลายแต่ทุกคนบวชเป็นบรรพชิตไม่ได้ เพราะบรรพชิตมี ชีวิตอย่างมักน้อยสันโดษ บริโภคปัจจัยตามมีตามได้ มีชีวิตที่ขัดเกลาทวนกระแส กิเลส แต่ถ้าไม่ปฏิบัติตามพระธรรมวินัยชีวิตของบรรพชิตนั้นย่อมไม่สงบ บรรลุธรรม ไม่ได้ หรือเมื่อสะสมบุญบารมีมาไม่เพียงพอ จะพยายามอย่างไรก็บรรลุเป็นพระอริยบุคคลไม่ได้ ฉะนั้นการบรรลุธรรมเป็นพระอริยบุคคล ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่เพศบรรพชิตหรือฆราวาส แต่ขึ้นอยู่ที่การสะสมปัญญาที่สมควรแก่การบรรลุธรรม
การบรรลุมรรคผลนั้น ที่สำคัญ ก็คือ ต้องด้วยปัญญา แม้จะบวชแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่า กิเลสจะหายไปเมื่อบวช แต่ปัญญาเป็นสภาพธัมมะที่ดับกิเลสได้ ดังนั้นเมื่อ เหตุปัจจัยพร้อม ไม่ว่าจะเพศใดก็สามารถบรรลุได้ครับ ดังเช่นตัวอย่าง เรื่องอุบาสิกา คนหนึ่ง ฟังอาการ ๓๒ ที่พระภิกษุ กล่าวให้ฟัง ได้เป็น พระอนาคามี ทั้งๆ ที่ ภิกษุผู้ กล่าวก็ยังเป็นปุถุชนอยู่เลยครับ นี่แสดงถึงความที่เหตุปัจจัยพร้อม ตัวอย่างในพระ ไตรปิฎกเชิญคลิกอ่านที่นี่...
คฤหัสถ์ก็บรลุธรรมได้ [เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง]
ส่วนอีกประเด็น ถ้าเป็น มรรคเบื้องสูง เช่น อรหัตตมรรค เมื่อบรรพชิต และฆราวาสเป็นพระโสดาบัน ทั้งคู่ บรรพชิต ย่อมมีโอกาส บรรลุเร็วกว่า ฆราวาส เพราะไม่มีความ กังวล ญาณจึงย่อมแล่นไปเร็วครับ ดังแสดงในพระไตรปิฎกครับ ลองอ่านดูนะ
เชิญคลิกอ่านที่นี่...
สำหรับมรรคเบื้องสูง บวชเป็นบรรพชิตก็ได้เปรียบกว่าฆราวาส เพราะไม่มีเครื่อง กังวล สามารถประพฤติธรรมบรรลุได้ถึงเป็นพระอรหันต์ ส่วนชีวิตฆราวาสคับแคบ ต้องทำมาหากิน มีเครื่องกังวลเยอะ บรรลุได้ช้ากว่า (การบรรลุธรรมะ ไม่ว่าเป็น เพศฆราวาสหรือเพศบรรชิตก็สามารถบรรลุได้เหมือนกันสำหรับมรรคเบื้องต้น)
ถ้าผู้ที่ออกบวช ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกและสามารถประพฤติปฎิบัติตามได้ ก็ขออนุโมทนาด้วย เพราะจะทําให้มีเวลาในการศึกษาและปฎิบัติได้ถูกต้อง ส่วนในเพศ ของฆราวาสก็สามารถที่จะศึกษาและปฎิบัติตามได้ ขึ้นอยู่กับการสะสมว่าจะอยู่ในเพศใด พุทธบริษัทมี ๔ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา
ขอถามเป็นความรู้ทั้วไป ว่าผู้ออกบวชแล้วสำเร็จเป็นพระอรหันต์ กับผู้ที่ไม่ออกบวช ฝ่ายใดสำเร็จเป็นพระอรหันต์หรือบรรลุธรรมะมากกว่า
ในสมัยครั้งพุทธกาลผู้ที่ได้สะสมบุญมา แล้วภายหลังบวชสำเร็จเป็นพระอรหันต์มีจำนวนมากกว่าฆราวาสสำเร็จเป็นพระอรหันต์
แล้วแต่อุปนิสัยที่แต่ละคนได้สั่งสมมาในอดีต เพราะบางคนก็มีอุปนิสัยที่จะบรรลุใน เพศคฤหัสถ์ บางคนก็สั่งสมอุปนิสัยที่จะเจริญสติพร้อมๆ ไปกับการศึกษาพระวินัยไป ด้วย เพราะเล็งเห็นว่าเพศคฤหัสถ์ขัดเกลากิเลสได้โดยยาก แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้ หมายความว่า ผู้ที่อยู่ในเพศของบรรพชิตจะบรรลุได้เร็วกว่าคฤหัสถ์ การที่จะบรรลุ ได้เร็วหรือช้า อยู่ที่บารมีของแต่ละคน ไม่ได้อยู่ที่ว่าจะเป็นอะไร
ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่า ความจริงแล้ว "พระพุทธเจ้า" บันทึกลงพระไตรปิฎกเกี่ยวกับการบวชว่าอย่างไร (ที่กล่าวเกี่ยวกับเรื่องบวชทั้งหมด) เพราะฉะนั้น "การบวชตามหลักของพุทธศาสนา" จึงถูกต้องและชอบธรรมมากกว่าการบวช "ตามประเพณีหรือความเชื่อ" ในความคิดของผมนะครับ