การสังเกตตัวเอง

 
cheun
วันที่  25 ม.ค. 2550
หมายเลข  2715
อ่าน  1,133

สวัสดีค่ะ

อยากทราบว่ามีวิธีใดที่จะสามารถสังเกตตัวเองได้ว่ามีความเข้าใจในพระ ธรรมเพิ่มขึ้น และไม่ผิดเพี้ยนค่ะ เพราะเท่าที่ได้มีโอกาสฟังธรรมบรรยายโดยท่าน อาจารย์สุจินต์ทุกครั้ง ก็รู้สึกว่ามีความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ โดยไม่มีข้อสงสัย แต่ก็ยัง ไม่สามารถวัดผลให้กับตัวเองได้ว่ามีความเข้าใจเพิ่มขึ้นหรือไม่

ขอบคุณค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 26 ม.ค. 2550

ผู้ที่ศึกษาพระธรรมคำสอนของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทำให้เข้าใจความ จริงมากขึ้น ย่อมเป็นผู้มั่นคงในกรรมและผลของกรรม มั่นคงในพระรัตนตรัยมากขึ้น หวั่นไหวต่อโลกธรรมน้อยลง แต่เนื่องจากปัญญาขั้นสุตมยปัญญายังทำอะไร กิเลสไม่ได้ ก็ดูเหมือนว่าจะไม่มีอะไรก้าวหน้าหรือมีผลที่ปรากฏชัดเจน แต่เราไม่ ควรคาดหวังกับการศึกษาพระธรรมเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับพระอริยสาวกในชาติสุด ท้ายของท่าน เพราะก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ท่านได้สะสมอบรมปัญญามานับเป็นแสนกัป เมื่อฟังพระธรรมเพียงเล็กน้อยก็บรรลุเป็นพระอริยบุคคล

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
cheun
วันที่ 27 ม.ค. 2550

ขอบคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 27 ม.ค. 2550

แม้ปัญญาขั้นฟังธรรมก็ไม่สูญหายไปไหน อย่างน้อยก็ละความไม่รู้ จากเมื่อก่อน ที่ไม่รู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างเป็นธรรมะไม่ใช่ตัวตน เปรียบปัญญาที่เราอบรมอยู่เหมือนจับ ด้ามมีด เราไม่สามารถรู้ว่าวันนี้ด้ามมีดสึกไปเท่าไหร่ จะรู้ต่อเมื่อด้ามมีดสึกไปแล้ว (ขณะที่สติระลึกสภาพธรรมะ ปัญญาก็รู้ว่าเป็นธรรมะอย่างหนึ่ง เป็นต้น)

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
แล้วเจอกัน
วันที่ 27 ม.ค. 2550

ต้องย้ำคำว่า ฟังธัมมะเพื่อเข้าใจในสิ่งที่กำลังฟังเท่านั้น

ทุกอย่างเป็นธัมมะ แม้ความเข้าใจก็เป็นธัมมะ ต้องเกิดไปตามเหตุปัจจัย มีเหตุ ปัจจัยจึงจะเกิด ความหวังหรือความต้องการผล จะคอยแทรกเข้ามาตลอด เพราะเรา ยังเป็นปุถุชน ขณะที่เข้าใจสิ่งที่ฟัง ขณะนั้นก็รู้ในสิ่งที่ยังไม่รู้ หรือ เข้าใจในสิ่งที่รู้แล้วมากขึ้น นี่ก็เป็นผลแล้ว แต่เราต้องไม่ลืมว่า ปัญญาขั้นการฟัง ไม่สามารถ ทำอะไร กิเลสที่เป็นอนุสัยได้เลย เมื่อมีเหตุปัจจัยพร้อม กิเลส ก็เกิดขึ้น ล่วงออกมาทาง กาย วาจา ได้ ดังนั้น เราจะให้เปลี่ยนแปลงตัวเองทันที หรือเห็นผลทันที ไม่ได้ เพราะเป็นปัญญาขั้นการฟัง และเราสะสม กิเลสมามากเท่าไหร่แล้วที่ผ่านมาครับแต่ไม่ต้องกลัวความเข้าใจทีละนิด ไม่หายไปไหน เพราะจิตเป็นสภาพที่สะสมอยู่แล้วเพียงแต่กำลังปัญญายังน้อยนั่นเอง ดังนั้น ขอให้ฟังธัมมะเพื่อเข้าใจเท่านั้นแหละเพราะก็จะเป็นการละคลาย ความต้องการผล เพราะความต้องการผลเร็วอาจนำไปหา ทางผิดได้ เพราะเห็นว่าทางนี้ช้าครับ ความเข้าใจทีถูกต้องทีละน้อยนี้แหละดับ กิเลสได้

[เล่มที่ 43] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๔ - หน้าที่ 14

พระศาสดาทรงแสดงธรรม

พระศาสดาทรงสดับคำของเขาแล้ว ตรัสว่า "พราหมณ์ ธรรมดา บัณฑิตทั้งหลายทำกุศลอยู่คราวละน้อยๆ ทุกๆ ขณะ ย่อมนำมลทินคืออกุศลของตนออกโดยลำดับทีเดียว" ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-

"ผู้มีปัญญา (ทำกุศลอยู่) คราวละน้อยๆ ทุกๆ ขณะ โดยลำดับ พึงกำจัดมลทินของตนได้ เหมือน ช่างทองปัดเป่าสนิมทองฉะนั้น"

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
pornpaon
วันที่ 27 ม.ค. 2550

สาธุ ขออนุโมทนาค่ะ ขอบพระคุณ คุณ แล้วเจอกัน ที่นำข้อความในพระไตรปิฎกมาให้อ่านเสมอ เนื่อง จากลำโพงในเครื่องคอมพ์ของดิฉันเสีย จึงทำให้ฟังธรรมจากไฟล์ไม่ได้ และเครื่อง โดนไวรัสโทรจัน กับไฟล์รวนระบบชื่อแบ็คดอร์ ทำให้ไม่กล้าโหลดลง MP3 แม้ตอนนี้มี คนช่วยแก้ไขให้แล้ว ก็ยังขยาดอยู่ เลยอาศัยฟังไฟล์เก่าๆ ซ้ำแล้วซ้ำอีกไปก่อน ไม่เบื่อหรอกค่ะ เพราะทุกครั้งที่ฟังไฟล์เดิม ความรู้สึกไม่เคยเหมือนเดิมเลย มีแต่ดีขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
narong.p
วันที่ 28 ม.ค. 2550

ขออนุโมทนาครับ

คุณ cheun ครับ เป็นปกติธรรมดาของสภาพธรรมที่ชื่อว่า โลภะ คือความอยาก ความต้องการ เป็นอกุศลเป็นธรรมฝ่ายไม่ดีที่ทำให้ใจร้อน อยากที่จะรู้เข้าใจธรรม เร็วๆ มากๆ เป็นอกุศลที่เกิดสลับเสมอ ขอให้เข้าใจตรงนี้ครับ เพราะเมื่อรับทราบข้อมูล และเข้าใจสภาพธรรมมากขึ้น ก็เป็นเหตุปัจจัยให้ความอยากลดลง และตั้งใจที่จะ ศึกษาด้วยความใจเย็น และเบาสบายหากศึกษาธรรมะแล้ว รู้สึกหนักหรือเครียด เตือน ให้รู้ว่ากำลังเป็น "เรา" ที่ศึกษา ที่อยากรู้เร็วๆ มากๆ ครับ ก็ค่อยๆ ปรับความเข้า ใจถูก เพิ่มขึ้นๆ ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
medulla
วันที่ 28 ม.ค. 2550
สาธุ ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
chatchai.k
วันที่ 10 ม.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ