การรับรู้สภาวธรรม
เรียนถาม ถ้าหากพิจารณาในส่วนของการรับรู้สภาวธรรม การรับรู้สภาวธรรมที่ เกิดขึ้น ตั้งอยู่ดับไปว่าเป็นอย่างนั้นเอง เป็นไปเพราะมีเหตุปัจจัยนั้น อะไรที่เป็นตัวรู้ ตัวอย่างเช่นการมองเห็น เมื่อมีสภาวธรรมหนึ่งมากระทบตา แต่ไม่มีตัวตนมา รับรู้ว่า มีสภาวธรรมมากระทบ แล้วจะรับรู้การกระทบกันของสภาวธรรมกับตาได้ อย่างไร ถ้าไม่มีตัวตนคิดว่า เป็นเพียงสภาวธรรมมากระทบ แล้วอะไรคิด
ขอขอบพระคุณล่วงหน้าครับ
นามธรรม คือ จิตและเจตสิกเป็นสภาพรู้ เมื่อมีอารมณ์มากระทบทั้ง ๖ ทวาร จิตและ เจตสิกรับรู้อารมณ์เดียวกัน จิตเจตสิกเป็นอนัตตา ไม่มีตัวตน เกิดเพราะปัจจัย การรู้อารมณ์ที่มากระทบของจิตและเจตสิกรู้ต่างกัน ซึ่งนั้นจิตรู้โดยความเป็นใหญ่เป็นประธาน เจตสิกรู้อารมณ์โดยกระทบ จำ จงใจ โกรธ โลภ หลง รู้แจ้งรู้ทั่ว เป็นต้น ดังนั้น ปัญญาเจตสิก เป็นสภาพรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง รู้ตลอดไตรลักษณะของสภาวธรรมด้วย รู้พระนิพพานด้วย ฯ
ถ้าไม่มีตัวตน คิดว่าเป็นเพียงสภาวธรรมมากระทบ แล้วอะไรคิด
การที่ไม่มีตัวตน มิได้หมายถึง ว่าไม่มีอะไรเลย แต่มีธัมมะ ทุกอย่างเป็นธัมมะ แต่ ธัมมะนั้นไม่ใช่เรา จึงไม่มีตัวตน แต่ธัมมะก็มีหลากหลาย คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ขณะที่คิดว่า เป็นเพียงสภาพธัมมะ ต้องเข้าใจคำพูดนี้โดยละเอียด เพราะเป็นเรื่องวิปัสสนา ไม่ได้หมายถึงว่า จะต้องคิดในใจว่าเป็นเพียงธัมมะ จะเป็น สติปัฏฐาน หรือการเจริญวิปัสสนา เช่น ขณะที่เห็นเกิด ก็คิดว่า ขณะนี้เป็นสภาพเห็น เป็นนามธรรม การคิดอย่างนี้ไม่ใช่การเจริญสติปัฏฐาน เพราะอะไร เพราะไม่ได้รู้ ลักษณะของสภาพธัมมะจริงๆ ว่า เป็นเพียงธัมมะ แต่คิดนึกถึงสภาพธัมมะที่ดับไปแล้ว ส่วนขณะที่สติ เกิดพร้อมกับปัญญา รู้ลักษณะของสภาพธัมมะ สติก็มีจริง ปัญญาก็มีจริง แต่ไม่ใช่เรา ไม่มีตัวตน แต่ สติ กับ ปัญญาเป็นธัมมะ ครับ
การรับรู้อารมณ์มี ๖ ทาง คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ซึ่งการคิดนึก ก็คือ การรับรู้อารมณ์ทางใจนั่นเอง ดังนั้น สภาพธรรมที่คิดก็คือจิต แต่เนื่องจากความรวดเร็ว ในการเกิดขึ้นและดับไปของสภาพธรรมรวดเร็วมาก จึงเสมือนว่าไม่ดับ เป็นแท่งเป็น ก้อน แต่ตามความเป็นจริง การรู้อารมณ์จะเกิดขึ้นทีละทวารเพราะจิตเกิดขึ้นทีละหนึ่ง ดวง เช่น เห็นกับได้ยิน เกิดขึ้นห่างกันกว่า๑๗ขณะของจิต แต่เสมือนเห็นกับได้ยินเกิด พร้อมกัน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่า มีตัวตน มีเราที่ เห็น มีเราที่ได้ยิน มีเราที่คิดนึก มานานแสนนาน แสนโกฏิกัปป์สะสม อวิชชาและความเห็นผิดมานานและมากมาย ยากที่จะไถ่ถอนได้ทันที ดังนั้น จึงต้องสะสมความรู้และความเห็นถูกด้วยการฟังธรรม (ซึ่งก็ไม่ใช่เราที่ฟัง) เพื่อสะสมเหตุปัจจัยใหม่ที่ถูกต้อง เป็นสังขารขันธ์ปรุง แต่ง กุศลจิต สติ ปัญญา เกิดขึ้นได้ โดยไม่มีตัวตน ไม่มีเรา ที่จะพยายามเร่งให้ สติ เกิดเร็วๆ เพราะธัมมะเป็นอตัตตา เกิดขึ้นด้วยเหตุปัจจัย ต้องมั่นคงจริงๆ ว่าไม่มีเรา ความรู้สึกว่ามีเรา เป็นเราที่คิด เพราะความรวดเร็วของสภาพธรรมและความไม่ ประจักษ์ในการเกิดดับของสภาพธรรม จึงต้องศึกษาและค่อยๆ จัดความเข้าใจผิดนี้ ออกไป ครับ
จิตเป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ เช่น จิตเห็นเป็นใหญ่ในขณะเห็นเท่านั้น เจตสิกปรุงแต่งให้ชอบหรือไม่ชอบในขณะที่เห็นเท่านั้น ในโลกนี้ย่อแล้วเหลือ 2 อย่าง คือ นามธรรม หมายถึง สภาพรู้ รู้ทุกอย่าง เช่น คิดก็เป็นนามธรรม รูปธรรม หมายถึง ทุกอย่างที่ไม่ใช่สภาพรู้ เช่น โต๊ะ เก้าอี้
จากความคิดเห็นที่ 2 เช่น เวลาที่เห็นก็ระลึก (นึกคิด) ว่าเป็นเพียงสิ่งที่ปรากฎทางตา ถือว่าเป็นการเจริญสติปัฏฐานหรือไม่ ไม่เข้าใจข้อความว่า รู้ลักษณะของสภาพธัมมะจริงๆ ว่า เป็นเพียงธัมมะ รู้ลักษณะคือรู้อะไรและอย่างไร
ขณะที่นึกคิดยังไม่ใชสติปัฏฐาน แต่ถ้าค่อยๆ รู้และเข้าใจตามการศึกษา ชื่อว่าเป็น การอบรมเพื่อสติปัฏฐาน ที่ว่ารู้ลักษณะ หมายถึง วิเสสะลักษณะ คือ เป็นลักษณะที่ไม่ เหมือนสภาพธรรมอย่างอื่น เป็นเพียงลักษณะของสภาพธรรมนั้นเท่านั้น ขณะที่รู้เฉพาะ ลักษณะของสภาพธรรมนั้น ไม่มีการยึดถือสิ่งที่กำลังปรากฏ จึงชื่อว่ารู้สภาพธรรมว่า เป็นเพียงสภาพธรรมอย่างหนึ่ง
ถ้ารู้ว่าสภาพธรรมนั้นเป็นเพียงรูปกับนามแล้วไม่ยึดถือสิ่งนั้น เป็นสติปัฏฐานหรือไม่