พรีเซนเตอร์โฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ บาปไหม

 
chatchai.k
วันที่  31 ต.ค. 2558
หมายเลข  27165
อ่าน  1,291

การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์หรือของมึนเมา เป็นการล่วงศีล แล้วผู้ขายหรือผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจประเภทนี้ แต่ตัวเองไม่ดื่ม ก็คงไม่เป็นการล่วงศีลข้อนี้ใช่ไหมครับ

ขอเรียนถามว่า อาชีพที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอลล์ เช่น ผู้ผลิต ผู้จำหน่าย หรือพรีเซนเตอร์ที่โฆษณาเครื่องดื่มประเภทนี้ เป็นต้น จัดเป็นสัมมาอาชีพหรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 31 ต.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การดื่มของมึนเมา มี สุรา เป็นต้น ผู้ดื่มเป็นผู้ล่วงศีลโดยตรง เพราะเป็นผู้มีเจตนาดื่มของมึนเมา และ ก็สำเร็จด้วยการดื่มนั้น แต่ ผู้ที่ผลิต หรือ สนับสนุน มี พรีเซนเตอร์ เป็นต้น ไม่ใช่ผู้ดื่ม จึงไม่ล่วงศีลข้อ 5 คือ การดื่มสุราเมรัย

แต่ ผู้ที่ประกอบอาชีพขายสุรา ของมึนเมา หรือ มีเจตนาสนับสนุนในการขายสุรา ก็เป็นอาชีพ ที่ไม่ดี เป็น มิจฉาอาชีวะ และ เป็นการกระทำที่ไม่สมควรในการสนับสนุน เป็นพรีเซนเตอร์ในของมึนเมานั้น เพราะ ของมึนเมา ไม่ว่าในสมัยอดีต ปัจจุบันและอนาคต ก็เป็นของที่ไม่สมควรจะดื่ม เพราะทำให้ล่วงศีลข้ออื่นๆ ได้ เพราะการดื่มสุราเมรัย ครับ ซึ่งพระพุทธเจ้าก็ได้แสดงอาชีพที่ไม่ควรประกอบ ดังนี้

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต เล่ม ๓ - หน้าที่ ๓๗๖

๗. วณิชชสูตร

(ว่าด้วยการค้าขายที่อุบาสกไม่ควรประกอบ)

[๑๗๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำ ๕ ประการเป็นไฉน คือ

การค้าขายศัสตรา ๑

การค้าขายสัตว์ ๑

การค้าขายเนื้อสัตว์ ๑

การค้าขายน้ำเมา ๑

การค้าขายยาพิษ ๑

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย การค้าขาย ๕ ประการนี้แล อันอุบาสกไม่พึงกระทำ.

การค้าขาย สุรา น้ำเมา ก็เป็นอาชีพที่ไม่ควรประกอบ ซึ่ง อาชีพที่คฤหัสถ์ไม่ควรประกอบ นั้น เป็นอาชีพที่เป็นไปเพื่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ต่อสัตว์อื่น ก็ไม่ควรที่จะประกอบ ไม่ควรที่จะทำ

ดังนั้น ผู้ผลิตสุราและผู้ที่มีเจตนาสนับสนุน เป็นตัวอย่างให้กับสิ่งที่ทำให้เกิดความมึนเมาและทำให้เกิดการล่วงศีล เป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่ สัจจะ ความจริงย่อมไม่เปลี่ยนแปลงไปตามความคิดของแต่ละคน แต่ สัจจะ ความดี และ ไม่ดี เป็นสิ่งที่ไม่เปลี่ยนลักษณะไปตามสังคม หรือ ความคิดของใคร ครับ

การดื่มสุรา ผิดศีลข้อที่ ๕ เป็นที่ตั้งแห่งความประมาท เมื่อเสพมากขึ้นถึงขั้นมึนเมาก็อาจจะ กระทำอกุศลกรรมประการต่างๆ ได้มากทีเดียว (ซึ่งในขณะที่ไม่ดื่มสุรา ก็จะไม่กระทำอย่างนั้น) ไม่นำมาซึ่งประโยชน์ใดๆ ทั้งสิ้น เมื่อกล่าวถึงโทษของสุราแล้ว มีมากทีเดียว เป็นเหตุให้เสียทรัพย์ เป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดโรค ทำให้เกิดทุกข์ทางกายในลักษณะต่างๆ บั่นทอนกำลังปัญญา ทำให้เป็นผู้ไม่รู้จักละอาย เป็นเหตุให้กระทำอกุศลกรรมได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ที่หวังความเจริญในชีวิต ไม่ควรดื่มสุรา การงดเว้นจากการดื่มสรุา เป็นการให้ความปลอดภัยแก่ทุกสิ่งทุกอย่าง คือ ให้ความปลอดภัยทั้งชีวิต และทรัพย์สินของผู้อื่น เป็นต้น ครับ

เชิญคลิกอ่านที่นี่ครับ....

กุมภชาดก [ว่าด้วยโทษของสุรา]

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 31 ต.ค. 2558

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
khampan.a
วันที่ 31 ต.ค. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

โดยปกติชีวิตของผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ อกุศลเกิดขึ้นเป็นไปมากอยู่แล้ว มัวเมาด้วยอกุศลธรรมตามการสะสมของแต่ละบุคคล ยิ่งมีส่วนอื่นที่เกื้อหนุนให้เป็นอกุศลมากขึ้น เช่น การดื่มสุรา ตลอดจนถึงการโฆษณาเกี่ยวกับสุรา เป็นต้น ซึ่งเป็นการเติมเชื้อให้อกุศลเกิดมากขึ้น ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ อกุศลเกิดแม้เพียงเล็กน้อยก็ไม่ดีแล้ว ไม่นำมาซึ่งคุณประโยชน์ใดๆ เลยแม้แต่น้อย ซึ่งจะเห็นได้ว่า ไม่มีคำสอนแม้แต่บทเดียวที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงที่จะเกื้อกูลหรือส่งเสริมให้เกิดอกุศลแม้เพียงเล็กน้อย ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
chatchai.k
วันที่ 31 ต.ค. 2558

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
peem
วันที่ 31 ต.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
jirat wen
วันที่ 31 ต.ค. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Wisaka
วันที่ 1 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
kullawat
วันที่ 1 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
thilda
วันที่ 1 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Guest
วันที่ 2 พ.ย. 2558

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
nong
วันที่ 3 พ.ย. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
wannee.s
วันที่ 3 พ.ย. 2558

ขณะที่ไม่ได้เป็นไปในทาน ศีล ภาวนา ขณะนั้นก็เป็นอกุศล อกุศลทุกประเภทถ้าเกิดกับจิตขณะใดขณะนั้นก็เป็นบาปค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
wirat.k
วันที่ 4 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
athisamai
วันที่ 5 พ.ย. 2558

เห็นสัตว์อื่นบุคคลอื่นทำความดี เข้าไปมีส่วนร่วมด้วยกำลังกาย สติปัญญา วัตถุ หรืออย่างน้อยกล่าวสรรเสริญ หรือยินดีด้วย คำที่เราคุ้นเคยบ้างก็ว่า "อนุโมทนาบุญ" บ้างก็ว่า"สาธุ" อย่างนี้กล่าวได้ว่า มีส่วนร่วมในบุญ

ในทางตรงกันข้ามหากมีส่วนสนับสนุนให้มีการทำอกุศล ชื่นชมยกย่อง แสดงความยินดีในอกุศลกรรม กล่าวได้ว่า มีส่วนร่วมในบาป หรือ"อนุโมทนาบาป"

ยินดีในบุญครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 24 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 7 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
Jarunee.A
วันที่ 13 ส.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ