ตั้งตนไว้ชอบ

 
ใหญ่ราชบุรี
วันที่  3 พ.ย. 2558
หมายเลข  27175
อ่าน  2,482

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอเรียนถามค่ะ "ตั้ง-ตน-ไว้-ชอบ" ประกอบด้วยองค์ธรรมอะไรบ้าง แยกออกแต่ละคำ หมายความอย่างไร อะไรบ้างเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้อยู่ในสภาวะ "ตั้ง-ตน-ไว้-ชอบ" มีคำกล่าวคำอธิบายในพระไตรปิฏกส่วนใดบ้าง ประการใด ท่านอาจารย์สุจินต์อธิบายไว้อย่างไร ต่างกับ "ตั้ง-จิต-ไว้-ชอบ" อย่างไร ช่วยอธิบายตามนัยที่ถามถึงใน "ตั้ง-ตน-ไว้-ชอบ" ด้วยค่ะ

ขอบพระคุณที่อนุเคราะห์ให้ความรู้ความเข้าใจค่ะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 3 พ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

- ความเห็นจากคุณเมตตา ตั้งจิตไว้ชอบ

"...พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติตามความเป็นจริงในชีวิตประจำวัน การฟังพระธรรมก็เพื่อเข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ ดังนั้น ขณะที่ตั้งใจฟังสิ่งที่กำลังฟังด้วยดี แล้วเข้าใจ ขณะนั้นตั้งจิตไว้ชอบ ฟังอะไรก็เข้าใจในสิ่งที่ฟัง การฟังพระธรรมไม่มีเราที่จะไปทำหรือไปตั้งจิตไว้ชอบได้ เพราะนั่นเป็นความต้องการ เป็นความหวัง เป็นกิเลส เป็นอกุศลจิต การตั้งจิตไว้ชอบเป็นไปในกุศลเท่านั้น และเพื่อขัดเกลากิเลส ท่านอาจารย์เคยกล่าวไว้ว่า ฟังแล้วคิดเรื่องอื่น ก็ไม่มีทางเข้าใจสิ่งที่มีจริงที่กำลังปรากฏ เพราะขณะนั้นเฉไปจากสิ่งที่มีจริงไปคิดเรื่องอื่น จะตั้งจิตไว้ชอบได้อย่างไร จุดประสงค์ของการฟังก็เพื่อเข้าใจ บางขณะฟังแล้วเข้าใจ ก็ตั้งจิตไว้ชอบแล้ว บางขณะฟังแล้วไม่เข้าใจก็ไม่ใช่ตั้งจิตไว้ชอบ การฟังพระธรรมอยู่เสมอๆ ค่อยๆ พิจารณาตามสิ่งที่ได้ฟังจนเข้าใจ ขณะที่เข้าใจเป็นปัญญา มีสติเกิดร่วมด้วย สติและปัญญาเป็นโสภณเจตสิก เป็นสังขารขันธ์ค่อยๆ ปรุงแต่งให้สติเกิดระลึกตรงลักษณะสภาพธรรมที่กำลังปรากฏตามปกติ ไม่มีเราที่จะใช้สติใช้ปัญญาได้เลย

ท่านอาจารย์ เคยกล่าวไว้ว่า กว่าจะหมดกิเลส ต้องเป็นผู้ที่ตั้งจิตไว้ชอบ ไม่ได้ปรารถนาสิ่งอื่น แม้ในขณะที่เจริญกุศลก็เพื่อขัดเกลากิเลส"

[เล่มที่ 32] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 97

ข้อความตอนหนึ่งจาก

อรรถกถา ปณิหิตอัจฉวรรค สูตรที่ ๒

กุศลมีจำนวนน้อย ไม่ว่าจะเป็นการให้ใบไม้ประมาณกำมือหนึ่ง หรือ กุศลใหญ่ๆ เช่นการให้ของเวลามพราหมณ์เป็นต้น ก็ตามเถิด ถ้าปรารถนาวัฏฏสมบัติ จิต ชื่อว่าตั้งไว้ผิดด้วยอำนาจอิงวัฏฏะ สามารถนำวัฏฏะเท่านั้นมาให้ หาสามารถนำวิวัฏฏะมาให้ไม่.

แต่เมื่อบุคคลปรารถนาวิวัฏฏะอย่างนี้ว่า "ขอทานของเรานี้ จงนำมาซึ่งความสิ้นอาสวะ" จิตชื่อว่าตั้งไว้ชอบด้วยอำนาจวิวัฏฏะ ย่อมสามารถให้ทั้งพระอรหัตต์ ย่อมสามารถให้ทั้งปัจเจกโพธิญาณทีเดียว

การตั้งตนไว้ชอบ คือ เริ่มจากจุดประสงค์ที่ถูก คือ ศึกษาพระธรรม เพื่อต้องการขัดเกลากิเลส ไม่ใช่เพื่ออย่างอื่น การตั้งจิตไว้ชอบ เมื่อได้ศึกษาพระธรรมไม่ว่าเรื่องอะไร ก็จะเป็นไปเพื่อละคลายความไม่รู้ และกิเลสประการต่างๆ ครับ

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
nong
วันที่ 3 พ.ย. 2558

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
wannee.s
วันที่ 3 พ.ย. 2558

ตั้งตนไว้ชอบ คือตั้งอยู่ในคุณธรรมความดี เช่น ทาน ศีล และที่สำคัญที่สุดคือตั้งใจฟังธรรมให้เข้าใจค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pulit
วันที่ 3 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Guest
วันที่ 3 พ.ย. 2558

กราบขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในพระสัทธรรมด้วยความเคารพยิ่งครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
khampan.a
วันที่ 3 พ.ย. 2558

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

[เล่มที่ 39] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๑๘๓

"คนบางคนในโลกนี้ ย่อมทำตนที่ทุศีลให้ตั้งอยู่ในศีลสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศีล) ทำตนที่ไม่มีศรัทธาให้ตั้งอยู่ในสัทธาสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยศรัทธา) ทำตนที่ตระหนี่ให้ตั้งอยู่ในจาคสัมปทา (ความถึงพร้อมด้วยการให้,ด้วยการสละ) การตั้งตนดังกล่าว ชื่อว่า ตั้งตนไว้ชอบ. การตั้งตนไว้ชอบนี้ เรียกว่า อัตตสัมมาปณิธิ. อัตตสัมมาปณิธินี้แล เป็นมงคล.

(ปรมัตถโชติกา อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ มงคลสูตร)

เมื่อได้ศึกษาพระธรรมไปตามลำดับ ก็จะเข้าใจว่า มีแต่ธรรมเท่านั้น ที่เกิดขึ้นทำกิจหน้าที่ ไม่มีเรา ไม่มีสัตว์ ไม่มีบุคคล ไม่มีตัวตน แม้แต่การสะสมสิ่งที่ดี หรือ ไม่ดี ก็เป็นธรรมที่มีจริง ที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใครทั้งสิ้น ความเข้าใจถูกเห็นถูกอันเกิดจากการฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแสดง ย่อมสามารถเกื้อกูลให้จากที่เคยเป็นผู้มีความเห็นผิด มีความไม่รู้ มีความติดข้อง ตลอดจนถึงกิเลสประการต่างๆ ที่เคยสะสมมาอย่างเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ให้เป็นผู้มีความเข้าใจที่ถูกต้อง มีกุศลธรรมประการต่างๆ เกิดขึ้นเป็นไป ได้ ดังนั้น การได้ฟังพระธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดง น้อมรับฟังด้วยความเคารพ ค่อยๆ สะสมความเข้าใจถูกเห็นถูกไปตามลำดับ ทีละเล็กทีละน้อย จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่เกื้อกูลให้เป็นกุศลยิ่งขึ้นได้ ซึ่งเป็นการตั้งตนไว้ชอบ โดยที่ไม่ใช่ตัวตนที่ไปตั้ง แต่เป็นความเกิดขึ้นเป็นไปของสภาพธรรม คือ จิต และ เจตสิก (สภาพธรรมที่เกิดร่วมกับจิต) น้อมไปในทางฝ่ายกุศลมากยิ่งขึ้น ตามระดับของความเข้าใจถูกเห็นถูก ครับ

... ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
tanrat
วันที่ 4 พ.ย. 2558

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
nopwong
วันที่ 8 พ.ย. 2558

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Guest
วันที่ 12 พ.ย. 2558

น้อมกราบ และขออนุโมทนาอย่างสูงครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ประสาน
วันที่ 15 พ.ย. 2558

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 23 ก.พ. 2559

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
มกร
วันที่ 5 พ.ย. 2561

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 9 มิ.ย. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Jarunee.A
วันที่ 3 ส.ค. 2566

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ